สืบแสง พรหมบุญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สืบแสง พรหมบุญ (18 ธันวาคม พ.ศ. 2484 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2555) อดีตนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ นักการศึกษา และนักการเมืองชาวไทย

ประวัติ[แก้]

สืบแสง เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนพิณพลราษฎร์ จังหวัดพิษณุโลก ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยม) ปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนของมูลนิธิเอ็ดวาร์ด ดับเบิลยู เฮเซน และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 77 (วปรอ.377)

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน[1]

ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเวลา 02.00 น. วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ขณะที่โดยสารรถแท็กซี่ สิริอายุได้ 71 ปี ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลา 2 วัดมกุฎกษัตริยารามราชวรวิหาร และเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 [2] [3]

การทำงาน[แก้]

รับราชการโดยเริ่มจากการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นพระอาจารย์ถวายการสอนวิชาประวัติศาสตร์จีนแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งที่ทรงเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เป็นนายกสมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาได้ย้ายไปเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้เป็นคณบดีระหว่างปี พ.ศ. 2526-พ.ศ. 2528

ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ เป็นอาจารย์พิเศษในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ในหลายสถาบันการศึกษา และเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและยุทธศาสตร์องค์กร และอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ในปี พ.ศ. 2538

ในทางด้านการศึกษา ได้เป็นผู้วางรากฐานการศึกษา โดยเฉพาะวิชาประวัติศาสตร์ในหลายสถาบัน เป็นกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และ ประธานคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารจีน สำนักนายกรัฐมนตรี[4]

งานการเมือง[แก้]

ทางด้านการเมือง ได้ร่วมงานกับพรรคพลังใหม่ จากนั้นได้ย้ายเข้าสู่พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขต 7 กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ) เมื่อปี พ.ศ. 2553 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 62 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เคยเป็นประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2538[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สืบแสง พรหมบุญ จากเดลินิวส์
  2. กำหนดการพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ
  3. ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ[ลิงก์เสีย]
  4. ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ[ลิงก์เสีย]
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  6. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑/๒๕๓๘ เรื่องแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายสุรวรณ ไตรผล, นายสุกิจ อัถโถปกรณ์, นายสืบแสง พรหมบุญ)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙