สึเนซาบูโร มากิงูจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สึเนะซะบุโระ มะกิงุชิ)
สึเนซาบูโร มากิงูจิ
นายกสมาคมสร้างคุณค่า
ดำรงตำแหน่ง
20 ตุลาคม ค.ศ. 1940 – 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944
ถัดไปโจเซอิ โทดะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กรกฎาคม ค.ศ. 1871
คาชิวาซากิ จังหวัดนีงาตะ ญี่ปุ่น
เสียชีวิต18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 (73 ปี)
เรือนจำซูงาโมะ โทชิมะ ญี่ปุ่น
ศาสนาพุทธศาสนา นิกายนิชิเรนโชชู

สึเนซาบูโร มากิงูจิ (ญี่ปุ่น: 牧ロ 常三郎โรมาจิTsunesaburō Makiguchi) เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1871 เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นนายกสมาคมสร้างคุณค่าคนแรก อุทิศชีวิตแด่สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ทำให้สมาคมสร้างคุณค่ายืดหยัดมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนที่จะถึงแก่มรณกรรมในเรือนจำซูงาโมะเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 สิริอายุ 73 ปี

ประวัติ[แก้]

อาจารย์สึเนซาบูโร มากิงูจิ เกิดเมื่อวันที่ เกรกอเรียน 23 กรกฎาคม 1871 เกิดในหมู่บ้านอาราฮามา จังหวัดนีงาตะ ตอนอายุ 14 ปีได้เดินทางไปยังฮกไกโด ได้ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย จนสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนครูสามัญฮกไกโด และสำเร็จการศึกษา และก้าวเข้าสู่เส้นทางของนักการศึกษา หลังจากไปอยู่ที่เมืองโตเกียวจนมีอายุ 32 ปี (พ.ศ. 2446) ท่านก็ได้จัดพิมพ์หนังสือ วิชาภูมิศาสตร์แห่งชีวิตมนุษย์ ที่มีชื่อเสียงออกมา หลังจากนั้นอีก 10 ปี ท่านก็ได้เป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนประถมสามัญหลายแห่ง

เข้าศรัทธาในพุทธธรรมของพระนิชิเรน[แก้]

ใน พ.ศ. 2471 ท่านเข้าศรัทธาในพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน ในขณะที่ทำงานเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนประถมสามัญชิโรงาเนะ กรุงโตเกียว อาจารย์โจเซอิ โทดะ ศิษย์รักของท่านก็เข้าศรัทธาด้วย โดยติดตามอาจารย์มากิงูจิมาโดยตลอด

ก่อตั้งสถาปนาสมาคม[แก้]

ใน พ.ศ. 2473 อ.มากิงูจิกับอาจารย์โทดะได้ก่อตั้งสมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า (โซคาเคียวอิขุงักไก) ขึ้นมา ขณะนั้นอาจารย์มากิงูจิอายุ 59 ปี อาจารย์โทดะอายุ 30 ปี ในตอนเริ่มแรก สมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า ได้เริ่มต้นจากกลุ่มนักศึกษาที่มีความคิดเห็นด้วยระบบการศึกษาสร้างคุณค่าของอาจารย์มากิงูจิเป็นหลัก หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นกลุ่มแกนนำสำคัญของการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน

ยืนหยัด แนวหน้าในการเผยแผ่ธรรมและการสนทนาธรรมด้วยตัวเอง[แก้]

อ.มากิงูจิ แม้จะสูงอายุ แต่ก็ยทนหยัดออกไปสู่แนวหน้าของการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ท่านได้ย่ำเท้าเดินทางจากทิศเหนือ จังหวัดฮกไกโด ไปสู่ทิศใต้ จังหวัดคาโงชิมา เช่น พ.ศ. 2483 ท่านเดินทางไปยังกิวชิว เมืองโกโอริยามา และนิฮอนมาจึ จังหวัดฟูกูชิมะ เมื่อตอนอายุ 71 ปี ท่านได้ทุ่มเทตัวเองเข้าไปในท่ามกลางประชาชน โดยไม่คิดถึงความลำบาก เช่น ท่านได้เปิดสนทนาธรรม เผยแผ่คำสอน และคำชี้นำตามบ้าน ที่จังหวัดอิบารากิ จังหวัดฮกไกโด จังหวัดนีงาตะ เป็นต้น เป็นที่ยอมรับกันว่า ท่านเป็นผู้ที่มีน้ำใจที่เป็นห่วงผู้คนอย่างอบอุ่น ท่านจะอยู่ร่วมกับประชาชน และเพื่อความสุขของมนุษย์ โดยยึดถือหลักพุทธธรรมเป็นหลัก และทำการเคลื่อนไหวด้วยความเมตตาอย่างจริงจัง แต่รัฐบาลทหารกลับตรวจสอบสมาคมอย่างเข้มงวด เช่น ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยพิเศษ คอยจับกุมผู้ที่มีแนวความคิดไม่ตรงกับตนเอง และสังเกตการณ์ในการประชุมสนทนา ตอนนี้องค์กรทางศาสนาต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของรัฐบาล โดยมีกฎหมายควบคุมองค์กรทางศาสนาและกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยที่เข้มงวด

ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลทหาร ยึดมั่นในการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษย์[แก้]

รัฐบาลทหารที่มุ่งก่อสงคราม โดยอาศัยแนวคิดของลัทธิชินโตแห่งชาติมาเป็นเครื่องค้ำจุนนั้น ได้มีการควบคุมด้านความคิด ออกคำสั่งให้บูชาผ้ายันต์ชินโตของศาลเจ้าแห่งจักรพรรดิ (โชติเทพ) แต่สำหรับอาจารย์มากิงูจิ นายกสมาคมท่านแรก กับอาจารย์โทดะ นายกสมาคมท่านที่2 ซึ่งปฏิบัติพุทธธรรมของพระนิชิเรนไดโชนิน โดยปรารถนาที่จะให้เกิดความสุขและสันติภาพแก่ปวงชน จึงได้ปฏิเสธการบูชาผ้ายันต์ชินโตอย่างเด็ดขาด

ออกมาสู้ด้วยตนเอง ยืดหยัดเพื่อพุทธธรรม[แก้]

ตอนนั้น สงฆ์ในนิกายไม่เพียงแต่จะไม่มีท่าทีหักล้างลัทธิชินโตแห่งชาติเท่านั้น แต่ยังแสดงความขลาดกลัวและยินยอมอยู่ภายใต้อำนาจนั้นอย่างเต็มที่[ต้องการอ้างอิง] ครั้นแล้วในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2486 ทางวัดใหญ่ไทเซขิจิได้เรียกอาจารย์มากิงูจิและอาจารย์โทดะให้ไปพบ และบอกให้ท่านทั้งสองรับผ้ายันต์[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นการหมิ่นประมาทธรรมอย่างร้ายแรง "เป็นความคิดที่ไม่สามารถรับได้ และจะรับผ้ายันต์ชินโตไม่ได้อย่างเด็ดขาด"อาจารย์มากิงูจิได้แสดงความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะก้าวไปโดยยึดถือเจตนารมณ์ของพระนิชิเรนไดโชนิน ที่ว่าหากเป็นการหมิ่นประมาทธรรมแล้ว จะต้องตักเตือนอย่างเข้มงวดจนถึงที่สุด แต่รัฐบาลทหารก็ยังคงไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของสมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า ที่ยึดมั่นอยู่กับความถูกต้องของพุทธธรรม ให้ความเคารพต่อชีวิต ให้สันติภาพบังเกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง และรักษาความเป็นอิสระในการนับถือศาสนา

เผยแผ่ธรรมอย่างไม่เกรงกลัว[แก้]

หลังจากนั้นไม่นาน ในวันที่ 2 กรกฎาคม อาจารย์มากิงูจิได้เดินทางไปเมืองชิโมดะในแหลมอิซุ ในก่อนหน้านั้นมีการจับกุมผู้นำระดับหัวหน้าของสมาคมจึงอยู่ในช่วงตึงเครียด แต่ท่านก็ยังเผยแผ่ธรรมอย่างขะมักเขม้น จากนั้นวันที่ 6 กรกฎาคม อาจารย์มากิงูจิ ถูกจับกุมในที่พักของท่าน ในข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสงบ และอาจารย์โทดะก็ถูกจับในเช้าวันเดียวกัน และวันที่ 7 กรกฎาคม อาจารย์มากิงูจิก็ถูกนำตัวจากสถานีตำรวจที่ชิโมดะ ไปควบคุมที่กรมตำรวจในกรุงโตเกียว จากการใช้อำนาจอิทธิพลกดขี่ในครั้งนี้ ทำให้ผู้นำของสมาคมถูกจับทั้งหมด 21 คน มีอาจารย์มากิงูจิ นายกสมาคมท่านแรก กับอาจารย์โทดะ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการรวมอยู่ด้วย แต่ภายใต้การสอบสวนอย่างเข้มงวด ผู้ที่กล่าวยืดหยัดอยู่ในความถูกต้องของพุทธธรรมก็มีเพียงอาจารย์มากิงูจิและอาจารย์โทดะ เท่านั้น

อุทิศชีวิตเพื่อปกป้องความถูกต้องของพุทธธรรม[แก้]

อาคารที่ระลึกมากิงูจิ กรุงโตเกียว

วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 14 ปีของการก่อตั้งสมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า หรือวันที่ระลึกการก่อตั้งสมาคมโซคา และในวันเดียวกันนี้เอง ที่อาจารย์มากิงูจิซึ่งอยู่ในวัยชราและมีร่างกายที่ขาดธาตุอาหารอย่างรุนแรง ก็ได้ลาโลกนี้ไปที่ห้องผู้ป่วยในเรือนจำ ในขณะที่มีอายุ 73 ปี

การตายของอาจารย์มากิงูจินี้ ถือว่าเป็นการอุทิศชีวิตเพื่อปกป้องความถูกต้องของพุทธธรรม โดยต่อสู้กับการใช้อำนาจกดขี่ของรัฐบาลทหาร ที่มีแนวคิดของลัทธิชินโตแห่งชาติมาเป็นหลักค้ำจุน ในขณะเดียวกัน การต่อสู้ของอาจารย์มากิงูจิขณะอยู่ในเรือนจำ ก็เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องเสรีภาพในการนับถือศาสนา และเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษย์ที่สูงส่งอีกด้วย

หนังสือ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สึเนซาบูโร มากิงูจิ ถัดไป
เริ่มตำแหน่ง นายกสมาคมสร้างคุณค่า
(พ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2487)
โจเซอิ โทดะ