สึจิงิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาโนะ จิโรซาเอมง ขุนนางที่มีความมั่งคั่ง สังหารโสเภณีจำนวนมากด้วยคาตานะในโยชิวาระ ย่านโคมแดงในยุคเอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว)

สึจิงิริ (辻斬り หรือ 辻斬, แปลตรงตัว "การฆ่าที่ทางแยก") เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้อธิบายหลักปฏิบัติของซามูไรที่ทดสอบประสิทธิภาพของคาตานะเล่มใหม่ หรือการพัฒนายุทธวิธีการต่อสู้หรืออาวุธรูปแบบใหม่ โดยการโจมตีแบบสุ่มต่อบุคคลที่เดินผ่านมาซึ่งไร้การป้องกันในเวลากลางคืน[1] ผู้ปฏิบัติจะเรียกตนเองว่าสึจิงิริ เช่นกัน[1][2] นอกจากการโจมตีด้วยดาบ ยังมีการปฏิบัติสึจินาเงะ (辻投げ) ของซามูไรที่โจมตีบุคคลที่เดินผ่านมาด้วยยิวยิตสูเพื่อทดสอบเทคนิคของตน[3]

ในสมัยกลาง คำว่าสึจิงิริ ใช้อธิบายการดวลต่อสู่ระหว่างซามูไร แต่ในยุคเซ็งโงกุ (ค.ศ. 1467–1600) สภาวะไร้กฎหมายแพร่กระจายไปทั่วและทำให้การปฏิบัติดังกล่าวลดลงกลายเป็นการสังหารแบบสุ่มซึ่งได้รับอนุญาตให้กระทำโดยซามูไรทรงอำนาจที่ไม่ผ่านการรับรองหรือตรวจสอบ หลังรัฐบาลเอโดะสามารถรวบคืนความสงบเรียบร้อยได้ จึงออกคำสั่งห้ามสึจิงิริ ใน ค.ศ. 1602 ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษประหารชีวิต[1][2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 つじぎり 【辻斬り】 国語辞書 - エキサイト辞書 เก็บถาวร 2015-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Excite.co.jp. Retrieved 22009-31-12.
  2. 2.0 2.1 "つじ‐ぎり【×辻斬り】". Weblio. May 30, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2017.
  3. Rajender Singh, Fundamentals of Judo