สี่ยอดสิ่งประดิษฐ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สี่ยอดสิ่งประดิษฐ์
ห้าขั้นตอนหลักในการทำกระดาษ วาดโดยไช่ หลุนใน ค.ศ. 105
อักษรจีนตัวเต็ม四大發明
อักษรจีนตัวย่อ四大发明
ความหมายตามตัวอักษรสี่ยอดสิ่งประดิษฐ์

สี่ยอดสิ่งประดิษฐ์ (อังกฤษ: Four Great Inventions; จีนตัวย่อ: 四大发明; จีนตัวเต็ม: 四大發明) เป็นสิ่งประดิษฐ์สำคัญที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ แสดงถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน ได้แก่ เข็มทิศ (指南针),[1] ดินปืน (火药),[2] กระดาษ (造纸术),[3] และการพิมพ์ (活字印刷术)[4]

เข็มทิศ[แก้]

ภาพวาดเข็มทิศที่ใช้บนเรือสมัยราชวงศ์หมิง

เข็มทิศ การประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่าที่สุดและเก่าแก่ที่สุดสิ่งหนึ่งของจีน คือ เข็มแม่เหล็ก สมัยแรกคนจีนใช้เข็มแม่เหล็กไปติดไว้บนรถ สร้างรถชี้ทิศ เพื่อใช้ในการสงครามหรือใช้เป็นเครื่องมือหาทิศทางเวลาอยู่ในป่าลึกหรือภูเขา จากหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ชาวจีนรู้จักใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมเพื่อเดินเรือเมื่อศตวรรษที่ 12 นั่นคือในขณะนั้น จูยี่ เป็นชาวมณฑลเจ้อเจียง ได้เขียนบันทึกชื่อผิงโจวเข่อถาน บันทึกไว้ว่า ในคืนแรม ทหารเรือได้ใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมจำแนกทิศทาง ต่อมา เจิ้งเหอ ได้เริ่มเดินทางตั้งแต่ปีค.ศ. 1405 เดินทางไปถึงอาหรับและแอฟริกาตะวันออก ไปกลับเจ็ดครั้ง รวมเวลาได้ 28 ปี เราจะเห็นได้ว่าหากไม่มีเข็มทิศแล้ว การเดินทางในมหาสมุทรระยะไกลเช่นนี้ย่อมไม่สำเร็จแน่ ชาวอิตาเลียนใช้เข็มทิศในศตวรรษที่ 14 จีนจึงใช้เข็มทิศเร็วกว่าอิตาลีอย่างน้อยสองศตวรรษ และหากอ้างอิงถึง ทรรศะของนักประวัติศาสตร์ ชาวตะวันตกได้นำเข็มทิศหน้าปัดกลมไปจากจีนนั่นเอง แต่อย่างไรก็ดีเข็มทิศทั้งสองชนิดนี้ยังไม่ได้ถูกใช้เพื่อในการเดินทาง แต่จะใช้ในพิธีกรรมหรือการทำนาย จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 3 - 6 จึงมีการพัฒนาเข็มทิศเพื่อใช้บอกทิศทาง

ดินปืน[แก้]

ปืนใหญ่สำหรับถือด้วยมือ ถ่ายจากพิพิธภัณซ่านซี่ มลฑลซีอาน ทำจากสำริด สมัยราชวงศ์หยวน ค.ศ.1271 - ค.ศ. 1368

ดินปืนเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ของจีนอีกเช่นกัน หลักฐานของจีนมีอยู่ว่า การประดิษฐ์ดินปืนนั้นสืบเนื่องมาจาก ในป่าลึกทางตะวันตกของจีนมีผีป่าน่ากลัว ชื่อซันเซา ผู้ใดพบก็จะมีอาการจับไข้ หากนำไม้ใผ่มาตัดเป็นข้อปล้องโยนเข้าไปในกองไฟ จะเกิดเสียงดังเปรี้ยงปร้าง ซันเซาก็จะตกใจหนีไป คืนส่งท้ายปีเก่าของจีนจึงนิยมจุดประทัดเพื่อขับไล่ผีซันเซานี่เอง ภายหลังมีการนำเอาดินประสิวและกำมะถันมาห่อรวมกันในกระดาษทำให้เป็นประทัด นั่นคือการเริ่มต้นใช้ดินปืน ส่วนประกอบสำคัญของดินปืน คือ ดินประสิว กำมะถัน และผงถ่าน สมัยซ้องมีการนำดินปืนมาประดิษฐ์อาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเฉพาะสมัยซ้องใต้มีการนำมาใช้มากขึ้นไปอีก เกี่ยวกับการประดิษฐ์ดินปืน และทำกระดาษนี้ มีตำราเล่มหนึ่งบันทึกเรื่องเหล่านี้เอาไว้ เช่น ปลายสมัยราชวงศ์หมิง ซ่งอิ้งซิง ได้เขียนตำรา เทียนกงไคอู้ บรรยายการวิเคราะห์อุตสาหกรรมเคมีสมัยจีนโบราณทั้งมีภาพประกอบ นับว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก

กระดาษ[แก้]

กระดาษที่ทำจากพืชตะกูลป่าน มักใช้สำหรับห่อของไม่นิยมใช้เขียน ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณส่านซี เมืองซีอาน มณฑลส่านซี ถูกขุดค้นพบจากสุสานจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ สมัยราชวงศ์ฮั่น (140 ก่อนคริสตกาล-87 ก่อนคริสตกาล)

กระดาษ วัฒนธรรมและงานของมนุษย์เจริญขึ้น มีผลมาจากการพิมพ์ก้าวหน้า การพิมพ์ต้องใช้กระดาษ ดังนั้นการผลิตและการใช้กระดาษจึงมีประโยชน์ต่อวัฒนธรรมมนุษย์มาก ชาวจีนจึงภูมิใจมากที่ตนเป็นผู้ค้นพบวิธีทำกระดาษ แต่เดิมนั้น ชาวจีนเขียนหนังสือลงบนแผ่นไม้ไผ่ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินและฮั่น ผู้คนเริ่มพากันมีความเห็นว่าการเขียนบนแผ่นไม้นั้นไม่สะดวก ผู้คนจึงเปลี่ยนมาเขียนลงบนผ้าไหมแทน แต่ว่าผ้าไหมแพงมาก ต่อมาสมัยฮั่นตะวันออก ไช่หลุน ค้นพบวิธีนำเปลือกไม้ เศษผ้า มาทำกระดาษ จักรพรรดิฮั่นเหอตี้โปรดมาก ผู้คนทั่วโลกได้ใช้กระดาษของเขา เราจึงเรียกชื่อกระดาษนี้ว่า กระดาษไช่หลุน

การพิมพ์[แก้]

พระสุภูติกราบทูลอาราธนาพระโคตมพุทธเจ้าแสดงวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ภาพจากม้วนหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรที่พบในถ้ำตุ้นหวง ประเทศจีน

การพิมพ์ ด้านเทคนิคการพิมพ์ จีนได้รับยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้น แต่เดิมตำราของจีนต้องคัดลอกด้วยลายมือ ต่อมา มหาอุปราชเฝิงเต้าสั่งให้ราชวิทยาลัยกว่อจื่อเจี้ยนจัดพิมพ์คัมภีร์ 9 เล่ม นับเป็นการพิมพ์หนังสือจำนวนมากเป็นครั้งแรกของรัฐบาล พอเริ่มมีการพิมพ์จากรัฐบาล ทางเอกชนและบรรดาร้านหนังสือต่างก็พิมพ์หนังสือของตนเองออกมาบ้าง ตำราต่างๆ จึงเผยแพร่ออกไปได้มากและกว้างขวางกว่าเดิม และเป็นการเรียงพิมพ์ ทำให้สามารถผลิตหนังสือได้เร็วและมากกว่าเดิมหลายเท่า เครื่องพิมพ์แบบเรียงพิมพ์ที่ปี้เซิงประดิษฐ์ขึ้น ใช้แผ่นดินเหนียวเผาแกะเป็นตัวพิมพ์ ต่างจากปัจจุบันตรงที่ปัจจุบันเป็นตะกั่วเท่านั้น เครื่องพิมพ์ของ โยฮัน กูเตนเบิร์ก ที่ประดิษฐ์ได้เมื่อปี ค.ศ. 1450 นั้น ช้ากว่าของจีนถึง 400 ปีเศษทีเดียว การพิมพ์ ศตวรรษที่ 7 มีการพบข้อความเกี่ยวกับศาสนาพุทธบนแท่นพิมพ์ไม้ ประมาณศตวรรษที่10 มีการพิมพ์หนังสือประเภทวรรณคดี สมัยซ้องนี้มีการเรียงพิมพ์ตัวอักษรอยู่ทั่วไป และยังมีการเข้าเล่มหนังสืออีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Four Great Inventions of Ancient China -- Compass". ChinaCulture.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-09. สืบค้นเมื่อ 2007-11-11.
  2. "Four Great Inventions of Ancient China -- Gunpowder". ChinaCulture.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-28. สืบค้นเมื่อ 2007-11-11.
  3. "Four Great Inventions of Ancient China -- Paper". ChinaCulture.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-18. สืบค้นเมื่อ 2007-11-11.
  4. "Four Great Inventions of Ancient China -- Printing". ChinaCulture.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-11.
  • edited by Brenda J. Buchanan. (2006). Buchanan, Brenda J. (บ.ก.). Gunpowder, Explosives and the State: A Technological History. Aldershot: Ashgate. ISBN 0754652599. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Deng, Yinke. Translated by Wang Pingxing. (2005). Ancient Chinese Inventions. Beijing: China Intercontinental Press. ISBN 7-5085-0837-8.
  • Li Shu-hua (1954). "Origine de la Boussole 11. Aimant et Boussole". Isis. Oxford. 45 (2: July): 175–196.
  • Needham, Joseph (1986). Physics and Physical Technology, Part 1, Physics. Science and Civilization in China. Vol. 4. Taipei: Caves Books.
  • Needham, Joseph (1986). Chemistry and Chemical Technology, Part 1, Paper and Printing. Science and Civilization in China. Vol. 5. Taipei: Caves Books.
  • Needham, Joseph (1986). Chemistry and Chemical Technology, Part 7, Military Technology; the Gunpowder Epic. Science and Civilization in China. Vol. 5. Taipei: Caves Books.