สีบำบัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สีบำบัด
การแทรกแซง
MeSHD016500
Edwin Dwight Babbitt ผู้เริ่มคัดค้านสีบำบัดคนแรก ๆ

สีบำบัด (อังกฤษ: chromotherapy, color therapy, colorology, cromatherapy) เป็นการแพทย์ทางเลือกที่ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม[1] นักสีบำบัดอ้างว่าสามารถใช้แสงในรูปแบบของสีเพื่อสร้างสมดุล "พลังงาน" ซึ่งอาจขาดหายไปในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางอารมณ์ ทางจิตใจ หรือทางจิตภาพ

สีบำบัดแตกต่างจากแสงบำบัดชนิดอื่น เช่น การบำบัดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด[2] และการบำบัดเลือดด้วยการฉายรังสี ซึ่งเป็นการรักษาทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์สำหรับรักษาอาการต่าง ๆ[3] และจากชีววิทยาเชิงแสง (photobiology) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของแสงต่อสิ่งมีชีวิต Sébastien Point นักฟิสิกส์ด้านแสงผู้สงสัยเกี่ยวกับการบำบัดด้วยสีชี้ว่าโคมไฟแอลอีดีซึ่งถูกใช้ในสีบำบัดอาจมีความเสี่ยงจะสร้างความเสียหายแก่จอประสาทตา[4]

จักระสี[แก้]

ความเชื่อของลัทธินิวเอจเกี่ยวกับจักระทั่ง 7 และที่ตั้งของแต่ละจักระบนร่างกายมนุกษย์

แพทย์อายุรเวทเชื่อว่าร่างกายมนุษย์มี เจ็ด "จักระ" ซึ่งบางคนอ้างว่าเป็น 'จุดรวมจิตวิญญาณ' ที่อยู่ตามแนวกระดูกสันหลัง ความคิดของลัทธินิวเอจ (New Age) เชื่อมโยงแต่ละจักระกับสีของแสงในสเปกตรัมที่มองเห็นได้ ร่วมกับการทำงานของอวัยวะและระบบร่างกาย มุมมองนี้เชื่อว่าการไม่สมดุลของจักระก่อให้เกิดโรค ทว่าการใช้สีอย่างถูกต้องสามารถนำสมดุลของร่างกายกลับมา[5] วัตถุประสงค์ของแต่ละสีมีดังนี้:[6]

สี จักระ ที่ตั้งจักระ
หน้าที่ซึ่งอ้าง[แก้]
แดง ที่ 1 ฐานของกระดูกสันหลัง การวางรากฐานและการอยู่รอด
ส้ม ที่ 2 ใต้สะดือ อารมณ์, สภาพทางเพศ
เหลือง ที่ 3 Solar plexus พลัง, อัตตา
เขียว ที่ 4 หัวใจ ความรัก ความรับผิดชอบ
ฟ้า ที่ 5 ลำคอ การสื่อสารทางกายและจิต
น้ำเงินข้ม ที่ 6 กลางหน้าผากบริเวณเหนือคิ้ว การให้อภัย, ความเข้าใจ, ความเห็นใจ
ม่วง ที่ 7 กระหม่อม การเชื่อมต่อกับพลังงานสากล, การส่งต่อข้อมูลและความคิด

การยอมรับทางวิทยาศาสตร์[แก้]

สีบำบัดถูกผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เรียกว่าเป็นการแพทย์ทุเวชปฏิบัติ (quackery)[7][8]

หนังสือตีพิมพ์โดยสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวว่า "หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีในปัจจุบันไม่สนับสนุนว่าสีบำบัดมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งหรือความเจ็บป่วยอื่น ๆ"[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Williams, William F. (2000). Encyclopedia of Pseudoscience: From Alien Abductions to Zone Therapy. Facts on File Inc. p. 52. ISBN 1-57958-207-9
  2. Dobbs, R. H.; Cremer, R. J. (1975). "Phototherapy". Archives of Disease in Childhood. 50 (11): 833–6. doi:10.1136/adc.50.11.833. PMC 1545706. PMID 1108807.
  3. 3.0 3.1 Ades, Terri (2009). Complete Guide to Complementary & Alternative Cancer Therapies. American Cancer Society. p. 210. ISBN 9781604430530.
  4. S.Point, the danger of chromotherapy, Skeptical Inquirer, Vol.41, N°4, July/August 2017
  5. Parker, D (2001). Color Decoder. Barron's. ISBN 0-7641-1887-0.
  6. van Wagner, K. "Color Psychology: How Colors Impact Moods, Feelings, and Behaviors". About.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-09-18.
  7. Raso, Jack. (1993). Mystical Diets: Paranormal, Spiritual, and Occult Nutrition Practices. Prometheus Books. pp. 256-257. ISBN 0-87975-761-2
  8. Swan, Jonathan. (2003). Quack Magic: The Dubious History of Health Fads and Cures. Ebury Press. p. 216. ISBN 978-0091888091