ข้ามไปเนื้อหา

สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมายกำหนดการของขบวนเรียกร้องสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิง กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1913 ขบวนเรียกร้องจัดโดยนักเรียกร้องสิทธิออกเสียง อลิซ พอล และลูซี่ เบิร์นส์

สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิง[1] (อังกฤษ: Women's suffrage) เป็นสิทธิของผู้หญิงในการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ในหลายศตวรรษที่ผ่านมา มีกรณีหลายกรณีที่ผู้หญิงได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงอย่างเลือกปฏิบัติและถูกเพิกถอนสิทธิ ในสวีเดน สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิงแบบมีเงื่อนไขมีผลบังคับใช้ในช่วงยุคแห่งเสรีภาพ (ค.ศ. 1718–1772) เช่นเดียวกับในรัฐนิวเจอร์ซีย์ในช่วงการปฏิวัติและได้รับเอกราชในช่วงแรก (ค.ศ. 1776–1807) ในสหรัฐอเมริกา[2][3]

หมู่เกาะพิตแคร์นอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสภาได้ใน ค.ศ. 1838[4] ราชอาณาจักรฮาวายซึ่งเดิมมีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 1840 ได้ยกเลิกกฎหมายนี้ใน ค.ศ. 1852 และต่อมาถูกผนวกเข้ากับสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1898 ในช่วงหลายปีหลัง ค.ศ. 1869 หลายแว่นแคว้นที่จักรวรรดิบริติชและรัสเซียยึดครองได้ให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งแก่ผู้หญิง และบางแว่นแคว้นก็กลายเป็นประเทศอธิปไตยในเวลาต่อมา เช่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และฟินแลนด์ รัฐและดินแดนหลายแห่งของสหรัฐอเมริกา เช่น ไวโอมิง (ค.ศ. 1869) และยูทาห์ (ค.ศ. 1870) ก็ให้สิทธิในการลงคะแนนเสียงแก่ผู้หญิงเช่นกัน ผู้หญิงที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงในไอล์ออฟแมนใน ค.ศ. 1881 และใน ค.ศ. 1893 ผู้หญิงในอาณานิคมนิวซีแลนด์ของอังกฤษที่ปกครองตนเองในขณะนั้นได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียง[5] ในออสเตรเลีย อาณานิคมเซาท์ออสเตรเลียให้สิทธิแก่ผู้หญิงในการลงคะแนนเสียงและลงสมัครรับเลือกตั้งในรัฐสภาใน ค.ศ. 1895[6][7] ในขณะที่รัฐสภาออสเตรเลียให้สิทธิในการลงคะแนนเสียงและลงสมัครรับการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1902 (แม้ว่าจะอนุญาตให้ยกเว้น "ชาวพื้นเมืองอะบอริจิน" ก็ตาม)[8][9] ก่อนได้รับเอกราช ในแกรนด์ดัชชีฟินแลนด์ของรัสเซีย ผู้หญิงได้รับสิทธิเลือกตั้งเท่าเทียมกัน ทั้งสิทธิในการลงคะแนนเสียงและลงสมัครรับเลือกตั้งใน ค.ศ. 1906[10][11][12] องค์กรระดับชาติและนานาชาติก่อตั้งขึ้นเพื่อประสานงานความพยายามในการลงคะแนนเสียงของผู้หญิง โดยเฉพาะพันธมิตรสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสตรีระหว่างประเทศ (ก่อตั้งใน ค.ศ. 1904 ในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี)[13]

มหาอำนาจตะวันตกส่วนใหญ่ได้ขยายสิทธิออกเสียงเลือกตั้งแก่ผู้หญิงในช่วงระหว่างสงคราม ได้แก่ แคนาดา (ค.ศ. 1917) เยอรมนี (ค.ศ. 1918) สหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1918 สำหรับผู้หญิงอายุมากกว่า 30 ปีที่ตรงตามข้อกำหนดด้านทรัพย์สินบางประการ ค.ศ. 1928 สำหรับผู้หญิงทั้งหมด) ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 1919) และสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1920)[14] ข้อยกเว้นที่น่าสังเกตในยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศส ซึ่งผู้หญิงไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้จนถึง ค.ศ. 1944 กรีซ (ไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงที่เท่าเทียมกันสำหรับผู้หญิงจนถึง ค.ศ. 1952 แม้ว่าตั้งแต่ ค.ศ. 1930 ผู้หญิงที่รู้หนังสือก็สามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่นได้) และสวิตเซอร์แลนด์ (ซึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 1971 ผู้หญิงสามารถลงคะแนนเสียงในระดับรัฐบาลกลาง และระหว่าง ค.ศ. 1959 ถึง ค.ศ. 1990 ผู้หญิงมีสิทธิลงคะแนนเสียงในระดับรัฐในท้องถิ่น) เขตอำนาจศาลยุโรปแห่งสุดท้ายที่ให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิงคือลีชเทินชไตน์ใน ค.ศ. 1984 และรัฐอัพเพินท์เซ็ลอินเนอร์โรเดินของสวิตเซอร์แลนด์ในระดับท้องถิ่นใน ค.ศ. 1990[15] โดยนครรัฐวาติกันเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยเลือกตั้ง (ผู้มีสิทธิเลือกตั้งของสันตะสำนักในการประชุมเลือกสันตะปาปา ประกอบด้วยพระคาร์ดินัลชาย แทนที่จะเป็นพลเมืองวาติกัน) ในบางกรณีของระบอบประชาธิปไตยโดยตรง เช่น รัฐของสวิตเซอร์แลนด์ที่ปกครองโดยสภารัฐ (Landsgemeinden) การคัดค้านการขยายการลงคะแนนเสียงถูกกล่าวอ้างว่าข้อจำกัดด้านลอจิสติกส์ และการไม่มีการลงคะแนนเสียงแบบลับทำให้การขยายสิทธิออกเสียงนั้นไม่สามารถทำได้จริงและไม่จำเป็น ในขณะที่บางกรณี เช่น รัฐอัพเพินท์เซ็ลเอาเซอร์โรเดินกลับยกเลิกระบบนี้ทั้งหมดสำหรับทั้งผู้หญิงและผู้ชายแทน[16][17][18]

กลุ่มต่อต้านสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เช่น สันนิบาตต่อต้านสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิงแห่งชาติ อ้างว่าผู้หญิงไม่มีประสบการณ์ในกิจการทหาร พวกเขาอ้างว่าเนื่องจากผู้หญิงเป็นคนส่วนใหญ่ของประชากร ผู้หญิงจึงควรลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่น แต่เนื่องจากขาดประสบการณ์ในกิจการทหาร พวกเขาจึงยืนยันว่าการอนุญาตให้ลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งระดับชาติอาจเป็นอันตราย[19]

การรณรงค์ทางการเมืองที่ขยายวงกว้างโดยผู้หญิงและผู้สนับสนุนเป็นสิ่งจำเป็นในการผลักดันให้มีการออกกฎหมายหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียง ในหลายประเทศ ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงจำกัดก่อนที่ผู้ชายจะมีสิทธิออกเสียงทั่วไป ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่รู้หนังสือหรือเจ้าของทรัพย์สินจะได้รับสิทธิออกเสียงก่อนที่ผู้ชายทุกคนจะได้รับ สหประชาชาติสนับสนุนสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิงในช่วงหลายปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (ค.ศ. 1979) ระบุว่า สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยปัจจุบันมี 189 ประเทศที่เป็นภาคีของอนุสัญญานี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. ศัพท์รัฐศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๔ (แก้ไขเพิ่มเติม) กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสภา, 2544
  2. Karlsson Sjögren, Åsa, Männen, kvinnorna och rösträtten: medborgarskap och representation 1723–1866 [Men, women, and suffrage: citizenship and representation 1723–1866], Carlsson, Stockholm, 2006 (in Swedish).
  3. "How Did the Vote Expand? New Jersey's Revolutionary Decade". www.amrevmuseum.org. สืบค้นเมื่อ 2024-08-16.
  4. "World suffrage timeline". nzhistory.govt.nz. สืบค้นเมื่อ 2025-03-08.
  5. "New Zealand women and the vote – Women and the vote | NZHistory, New Zealand history online".
  6. "Constitution (Female Suffrage) Act 1895 (SA)". Documenting a Democracy, Museum of Australian Democracy. สืบค้นเมื่อ 26 August 2024. Note: The South Australian Parliament passed the legislation in December 1894 but the Act did not gain royal assent and become law until February 1895.{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  7. Fenna, Alan; Robbins, Jane; Summers, John (5 September 2013). Government Politics in Australia. Pearson Higher Education AU. pp. 312–. ISBN 978-1-4860-0138-5.
  8. Documenting Democracy: Constitution (Female Suffrage) Act 1895 (SA); National Archives of Australia.
  9. Christine, Lindop (2008). Australia and New Zealand. Oxford: Oxford University Press. p. 27. ISBN 978-0-19-423390-3. OCLC 361237847.
  10. Brief history of the Finnish Parliament. eduskunta.fi.
  11. "Centenary of women's full political rights in Finland". July 20, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2011.
  12. Korpela, Salla (2018-12-31). "Finland's parliament: pioneer of gender equality". Finland.fi. สืบค้นเมื่อ 2021-10-07.
  13. Sneider, Allison (2010). "The New Suffrage History: Voting Rights in International Perspective". History Compass. 8 (7): 692–703. doi:10.1111/j.1478-0542.2010.00689.x. ISSN 1478-0542.
  14. Temkin, Moshik (2024-01-22). "Essential Elements for Turning a Cause into a Movement : Lessons from the Suffrage Struggle for Today's Activists". The Commons Social Change Library (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 2024-02-24.
  15. "Naked Swiss hikers must cover up". April 27, 2009.
  16. "Women's suffrage in Switzerland: 100 years of struggle". Federal Assembly. Federal Assembly.
  17. "Appenzell Inner Rhodes: The last Swiss canton to give women the vote". February 2, 2021.
  18. "The Landsgemeinde and Direct Democracy – the Swiss Spectator".
  19. "Women's National Anti-Suffrage League Manifesto" in Phelps, Edith M. (2013), Selected Articles on Woman Suffrage, London: Forgotten Books, pp. 257–9.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]