สิทธิครอบครองและพกพาอาวุธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สิทธิครอบครองและพกพาอาวุธ หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า สิทธิพกพาอาวุธ เป็นสิทธิของบุคคลในการครอบครองอาวุธเพื่อพิทักษ์ชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สิน[1] ความมุ่งหมายของสิทธิปืนคือเพื่อป้องกันตน รวมทั้งเป็นหลักประกันต่อต้านทรราช ตลอดจนเพื่อกิจกรรมล่าสัตว์และการกีฬา[2]: 96 [3] มีประเทศที่รับรองสิทธิครอบครองและพกพาอาวุธ ได้แก่ เช็กเกีย กัวเตมาลา สวิตเซอร์แลนด์ ยูเครน สหรัฐ และเยเมน

ปรากฏการบรรจุสิทธิดังกล่าวในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรไม่บ่อยนัก ในปี ค.ศ. 1875 พบว่า ร้อยละ 17 ของรัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ มีสิทธิพกพาอาวุธ นับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สัดส่วนดังกล่าวลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 9 และลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] การศึกษาของทอม กินสเบิร์ก และคณะ พบว่า มีรัฐธรรมนูญเพียง 15 ฉบับ (ใน 9 ประเทศ) ที่ระบุสิทธิพกพาอาวุธอย่างชัดแจ้ง เกือบทั้งหมดเป็นรัฐธรรมนูญในลาตินอเมริกา และส่วนใหญ่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 19[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Halbrook, Stephen P. (1994). That Every Man Be Armed: The Evolution of a Constitutional Right (Independent Studies in Political Economy). Oakland, CA: The Independent Institute. p. 8. ISBN 0945999380. OCLC 30659789.
  2. Levan, Kristine (2013). "4 Guns and Crime: Crime Facilitation Versus Crime Prevention". ใน Mackey, David A.; Levan, Kristine (บ.ก.). Crime Prevention. Jones & Bartlett. p. 438. ISBN 978-1449615932. They [the NRA] promote the use of firearms for self-defense, hunting, and sporting activities, and also promote firearm safety.
  3. Larry Pratt. "Firearms: the People's Liberty Teeth". สืบค้นเมื่อ December 30, 2008.
  4. Ginsburg, Tom; Elkins, Zachary; Melton, James (7 March 2013). "U.S. Gun Rights Are Truly American Exceptionalism". Bloomberg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-08. สืบค้นเมื่อ 25 March 2016.
  5. Elkins, Zachary (4 April 2013). "Rewrite the Second Amendment". New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 March 2016.