สำเนียง เลื่อมใส
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
รองศาสตราจารย์ ดร. สำเนียง เลื่อมใส เกิดวันที่ 6 มิถุนายน 2508 เป็นหนึ่งใน นาคหลวง ผู้สำเร็จเปรียญ 9 ประโยค ขณะเป็นสามเณร เป็นนักภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต และเชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา อดีตผู้อำนวยการศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็น รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
เนื้อหา
ประวัติทางการศึกษา[แก้]
- 1. บรรพชาเป็นสามเณร พ.ศ. 2521-2530
- 2. อุปสมบทเป็นภิกษุ พ.ศ. 2530-2536
- 3. ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2530
- 4. สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค (ขณะเป็นสามเณร) สำนักเรียนวัดดาวดึงษาราม พ.ศ. 2530
- 5. สำเร็จปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ พ.ศ. 2532
- 6. สำเร็จปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาภาษาสันสกฤต) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ พ.ศ. 2535
- 7. สำเร็จปริญญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาภาษาสันสกฤต) จากมหาวิทยาลัยบาณารัสฮินดู เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย พ.ศ. 2540
วิทยานิพนธ์และงานวิจัย[แก้]
- ระดับปริญญาโท “การศึกษาเปรียบเทียบธรรมบทและภควัทคีตา” (2535)
- ระดับปริญญาเอก “A Critical and Comparative Study of the Bhagavadgita and the Suttanta Pitaka” (1997)
- รายงานวิจัยเรื่อง "การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทพระมหาเมาทคัลยายนะกับพระมาลัยในคัมภีร์พระพุทธศาสนา" (2560)
สาขาที่เชี่ยวชาญ[แก้]
- พระพุทธศาสนา, ภาษาสันสกฤต และ บาลี
ประสบการณ์การสอน[แก้]
- 1. เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (2537-2543)
- 2. เป็นอาจารย์พิเศษสอนภาษาสันสกฤตที่คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ (2537-ปัจจุบัน)
- 3. เป็นอาจารย์พิเศษสอนภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ (2543-ปัจจุบัน)
- 4. เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ (2543-2549)
- 5. เป็นรองศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ (2549-ปัจจุบัน)
ประสบการณ์การบริหาร[แก้]
- 1. เป็นเลขานุการ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (2537-2538)
- 2. เป็นรองหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (2542-2544)
- 3. เป็นผู้อำนวยการศูนย์สันสกตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (2544-2548) สมัยที่ 1
- 4. เป็นผู้อำนวยการศูนย์สันสกตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (2549-2552) สมัยที่ 2
- 5. เป็นผู้อำนวยการศูนย์สันสกตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร (2555-2558) สมัยที่ 3
- 6. เป็นเลขาธิการ (Secretary General) การประชุมวิชาการนานาชาติสันสกฤตโลก ครั้งที่ 16 (16th World Sanskrit Conference, Bangkok 2015)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน[แก้]
- 1. ตริตราภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.) พ.ศ. 2542
- 2. ตริตราภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) พ.ศ. 2544
- 3. ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย (ท.ม.) พ.ศ. 2546
- 4. ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) พ.ศ. 2550
- 5. ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.) พ.ศ. 2553
- 6. ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) พ.ศ. 2556
รางวัลความภูมิใจ[แก้]
- 1. พ.ศ. 2538-2540 ได้รับทุนพระราชทานจากมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านภาษาสันสกฤตที่ประเทศอินเดีย
- 2. พ.ศ. 2548 ได้รับรางวัลผู้มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยดีเด่นจากมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ จากผลงานแปลมหากาพย์เสานทรนันทะ และ มหากาพย์พุทธจริต จากต้นฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย
- 3. พ.ศ. 2551 ได้รับคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2551 จากสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่ส่วนรวมและมีผลงานโดดเด่น รวมทั้งมีความเจริญก้าวหน้าในสาขาอาชีพ
- 4. พ.ศ. 2560 ได้รับโล่รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะพุทธศาสตร์ ในวาระครบรอบการสถาปนา 70 ปีคณะพุทธศาสตร์ และ 130 ปีแห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นแก่พระพุทธศาสนา
หนังสือและบทความที่พิมพ์เผยแพร่[แก้]
- กฐินผ้าป่า : มหาทานชาวพุทธ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2534.
- ภาษาบาลีพื้นฐาน 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541.
- มหากาพย์เสานทรนันทะของอัศวโฆษ. (แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต). กรุงเทพฯ : มูลนิธิแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์, 2543.
- ภาษาถิ่นอีสาน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544.
- ภควัทคีตา : สาระและแนวคิดสำคัญทางปรัชญา (พร้อมโศลกตัวอย่างสำหรับฝึกหัดอ่าน-แปล). กรุงเทพฯ : ศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.
- มหากาพย์พุทธจริต (ฉบับสมบูรณ์). (แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต). กรุงเทพฯ : ศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547.
- ตามรอยจาริก อินเดีย-เนปาล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.
- มหาวัสตุอวทาน เล่ม 1. (แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต). กรุงเทพฯ : มูลนิธิสันสกฤตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2553.
- มหาวัสตุอวทาน เล่ม 2. (แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต). กรุงเทพฯ : มูลนิธิสันสกฤตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2557.
- มหาวัสตุอวทาน เล่ม 3. (แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต). กรุงเทพฯ : มูลนิธิสันสกฤตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2561.
บทความภาษาไทย[แก้]
- 1. "ภควัทคีตา : คีตวรรณกรรมแห่งปรัชญา ศาสนา และภาษา". บทความในวารสารพุทธจักร ปีที่ 48 ; ฉบับที่ 4 เมษายน 2537.
- 2. "มติทรรศน์เปรียบเทียบจากธรรมบทและคีตา". บทความในวารสารพุทธจักร ปีที่ 48 ฉบับที่ 9-10 กันยายน-ตุลาคม 2537.
- 3. "พระพุทธศาสนากับมัคคุเทศก์". บทความในหนังสือมัคคุเทศก์รุ่นที่ 21 มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอกลักษณ์ดีไซด์, 2537.
- 4. "ไขความอรรถกถาธรรมบท". บทความในหนังสือดำรงวิชาการ ฉบับที่ 1/2545, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.
- 5. "ประทักษิณ : ความหมายและการปฏิบัติ". ในวารสารนิสิตวัง (มมร. วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย พระนครศรีอยุธยา) ปีที่ 10 ฉบับที่ 39 มกราคม-มีนาคม 2546.
- 6. "โรคและการเยียวยารักษาในคัมภีร์พุทธศาสนา". ในวารสารภาษา-จารึก ฉบับที่ 13 (ภูมิปัญญาอาเซียน เวชศาสตร์ในจารึกและเอกสารโบราณ) กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.
บทความภาษาอังกฤษ[แก้]
- 1. "A Comparison of the Ultimate Goal in Buddhism and the Gita", a Paper presented at the 9th International Geeta Conference, New Delhi, 1991, INDIA.
- 2. "The Metaphysics and Ethics according to the Bhagavadgita and the Suttanta Pitaka", Article published in the Manusya Journal, September, 2000.
- 3. "The Principal Teachings of Buddha in the Saundarananda Mahākāvya", in the Proceedings of Papers, Sanskrit in Southeast Asia : The Harmonizing Factor of Cultures, International Sanskrit Conference, Bangkok, May 21-23, 2001, published by Sanskrit Studies Centre, Silpakorn University, 2003.
- 4. "What Lord Krishna Taught in the Bhagavadgita", in the Geeta Sandesh, Geeta Jayani Issue, Vol. XIV, No.3 December, 2002
- 5. “Metaphysics and Ethics as seen in the Bhagavadgita and Buddhacarita”, a Paper presented at the 13th World Sanskrit Conference (13th WSC), 10th-14th July, 2006, Edinburgh, SCOTLAND.
- 6. “Bhagavadgita and Buddhacarita Philosophies Examined”, Article published in the Sanskrit Studies Centre Journal, Vol. IV, 2008.
- 7. "Aśvaghosha's World of Simile as reflected in Saundarananda and Buddhacarita", a Paper presented at the 14th World Sanskrit Conference (14th WSC), 1st-5th September, 2009, Kyoto, JAPAN.
- 8. "Hell and Heaven in the Mahavastu Avadana", a Paper presented at the 15th World Sanskrit Conference (15th WSC), 5th-10th January, 2012, New Delhi, INDIA.
- 9. "Maleyyadevatheravatthu : A Lanna Thai Text Inspired by Mahavastu", a Paper presented at the 17th World Sanskrit Conference (17th WSC), 9th-13th July, 2018, Vancouver, CANADA.
ผลงานทางวิชาการ[แก้]
- มหากาพย์เสานทรนันทะ ของ มหากวีอัศวโฆษ ซึ่งรจนาไว้เป็นภาษาสันสกฤต (ISBN 974-600-623-1)
- มหากาพย์พุทธจริต ฉบับสมบูรณ์ : พุทธประวัติฝ่ายมหายานจากกวีนิพนธ์สันสกฤต (ISBN 974-364-190-4)
- มหาวัสตุอวทาน เล่ม 1 คัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน : แปลจากต้นฉบับสันสกฤต (ISBN 978-974-401-370-5)
- มหาวัสตุอวทาน เล่ม 2 คัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน : แปลจากต้นฉบับสันสกฤต (ISBN 978-616-92118-0-8)
- มหาวัสตุอวทาน เล่ม 3 คัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน : แปลจากต้นฉบับสันสกฤต (ISBN 978-616-92118-1-5)