สำนักแพร่ภาพข่าวแห่งยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักข่าวยูโรเปี้ยน เพรสโฟโต้ เอเจนซี่ (อีพีเอ)
ประเภทDutch private limited liability company (Besloten vennootschap met beperkte aansprakelijkheid)
อุตสาหกรรมผู้จัดจำหน่ายภาพข่าว
ก่อตั้งค.ศ. 1985
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการ
(พื้นที่ที่ให้บริการ) ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
Julia R. Arévalo (ประธานกรรมการและ ผู้บริหารสูงสุด (CEO))
José Luis Paniagua (บรรณาธิการบริหาร)
ผลิตภัณฑ์บริการภาพข่าว, ห้องสมุดภาพ
เว็บไซต์www.epa.eu

สำนักข่าวยูโรเปี้ยน เพรสโฟโต้ เอเจนซี่ เป็นหน่วยงานที่ทำการเผยแพร่ภาพข่าวเหตุการณ์จากประเทศต่าง ๆ ไปทั่วโลก

รูปภาพจากทุกส่วนของโลกครอบคลุมข่าวการเมือง ข่าวกีฬา ข่าวธุรกิจการเงิน ตลอดจนข่าวศิลปวัฒนธรรมและการบันเทิง ซึ่งถ่ายภาพโดยช่างภาพข่าวมืออาชีพในเครือข่ายทั่วโลกกว่า 400 คนนำมารวมไว้ในบริการภาพของ epa

บริการภาพข่าวของ epa ผลิตรายวันโดยช่างภาพที่เป็นพนักงานจากเครือข่ายที่สร้างขึ้นทั่วโลกรวมทั้งช่างภาพขององค์กรข่าวซึ่งเป็นสมาชิกและผู้นำการตลาดด้านภาพข่าวในแต่ละประเทศ ภาพถ่ายทั้งหมดจะถูกส่งเข้ามาที่กองบรรณาธิการใหญ่ ณ เมือง แฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ก่อนจะแจกจ่ายให้กับลูกค้าทั่วโลก กองบรรณาธิการภาพนี้มีการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกค้าได้รับภาพข่าวและเหตุการณ์ที่ทันต่อสถานการณ์[1]

epa มีชื่อเสียงในการดำเนินงานด้านภาพที่เป็นอิสระ เชื่อถือได้ และลักษณะภาพมีความแตกต่างและความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร[แก้]

บริการด้านภาพระหว่างประเทศของ epa นั้นได้ใช้สื่อที่หลากหลายรวมทั้งพันธมิตรของ epa และผู้ถือหุ้นทั่วโลก ในปัจจุบัน epa ให้บริการภาพนิ่งโดยเฉลี่ยประมาณ 2,000 ภาพต่อวัน


ดาวเทียม บริการภาพของ epa ใช้การส่งภาพผ่านดาวเทียม, FTP (File Transfer Protocal via internet) หรือการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลภาพตามความต้องการของลูกค้า[2]


คลังภาพของ epa[แก้]

ภาพถ่ายสำคัญ ๆ ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลของ epa นั้นเริ่มตั้งแต่ปี 1997 และมีจำนวนกว่าสองล้านภาพในคลังภาพ ณ ปัจจุบัน ข้อมูลในคลังภาพสามารถเข้าไปเลือกดูได้ด้วยการออนไลน์ผ่านทาง epa webgate การลงชื่อเข้าใช้ส่วนบุคคล (login) ทำได้โดยการสมัครสมาชิกเป็นลูกค้าของ epa หุ้นส่วน หรือการร้องขอและได้รับอนุญาตตามแต่กรณี[3]


ประวัติ[แก้]

epa ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1985 โดยเจ็ดสำนักข่าวของยุโรป ประกอบด้วย AFP ของฝรั่งเศส, ANP ของฮอลแลนด์, ANOP (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Lusa) ของโปรตุเกส, ANSA ของอิตาลี, belga ของเบลเยี่ยม, dpa ของเยอรมนี และ EFE ของประเทศสเปน โดยมีแรงกระตุ้นจากการขาดทางเลือกอื่น ๆ จากบริการภาพของทางฝั่งอังกฤษและอเมริกาในเวลานั้น

แรกเริ่มนั้นเกิดจากการแลกเปลี่ยนภาพถ่ายท้องถิ่นจากแต่ละประเทศของสมาชิกทั้งหมด โดยมีภาพจากทั่วโลกของ AFP รวมทั้งผู้ให้บริการและตัวแทนอื่นในยุโรปด้านการจัดจำหน่าย การขยายตัวได้เกิดขึ้นภายหลังจากการแยกตัวเป็นอิสระของหลายประเทศในยุโรปตะวันออก การเปิดตลาดใหม่เกิดขึ้นพร้อมกับสงครามในอดีตประเทศยูโกสลาเวีย นำไปสู่การจัดจ้างช่างภาพของ epa เองในพื้นที่เหล่านั้น แม้จะมีการพัฒนาที่เติบโตขึ้น epa ก็ยังอยู่ในการอุปถัมถ์จากสมาชิกผู้ก่อตั้ง[4]


ผู้ถือหุ้นของ epa และการเปิดตัวสู่ตลาดโลก[แก้]

นับจากปี ค.ศ. 1995 epa มีสมาชิกเพิ่มเป็น 10 ชาติ โดยสมาชิกที่เข้ามาเพิ่ม ได้แก่ KEYSTONE ของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปลายของปี ค.ศ. 1985, APA ของออสเตรียในปี ค.ศ. 1986, และ Lehtikuva ของฟินแลนด์ในปี ค.ศ. 1987, Pressenbild ของสวีเดนได้เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1997 ตามด้วย Scanfoto (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Scanpix) ของนอร์เวย์ และ Nordfoto (ภายหลังเปลี่ยนเป็น Scanpix Denmark) ของเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1999, PAP ของโปแลนด์เข้าร่วมกับ epa ในปี ค.ศ. 2001

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2003 ภายหลังการปรับโครงสร้างองค์กรอย่างกว้างขวางและการแยกตัวออกไปของ AFP แล้ว ทาง epa ก็ได้ประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดออกไปทั่วโลก และภายหลังจากปี ค.ศ. 2003 ทาง Lehtikuva, Scanpix Denmark, Scanpix Norway และ Pressensbild (ภายหลังเปลี่ยนเป็น Scanpix Sweden) ตัดสินใจยกเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับ epa แต่อย่างไรก็ตามด้าน Scanpix Denmark, Scanpix Norway และ Scanpix Sweden ได้ตกลงร่วมมือกับ epa ต่อไปภายใต้ชื่อ Scanpix Scandinavia

ANA ของ กรีซ (ปัจจุบัน คือ ANA-MPA) ได้ร่วมเป็นผู้ถือหุ้นของ epa ในปี ค.ศ. 2004, ตามด้วย mti ของฮังการีในปี ค.ศ. 2005[5]

ในวันนี้ epa มีผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 9 ราย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นผู้นำในตลาดภาพข่าวในของประเทศตนเอง


การแข่งขัน[แก้]

epa เป็นหนึ่งในผู้นำการเสนอภาพข่าวทั่วโลกโดยมีคู่แข่งสำคัญคือ Associated Press, Reuters และ AFP/Getty Images


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]



อ้างอิง[แก้]