ข้ามไปเนื้อหา

สำนักข่าวกลางเกาหลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักข่าวกลางเกาหลี
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
อุตสาหกรรมสำนักข่าว
ก่อตั้ง5 ธันวาคม 1946; 78 ปีก่อน (1946-12-05)
สำนักงานใหญ่1 โพทงกังดง เขตโพทงกัง

จำนวนที่ตั้งมีสำนักงานเทศบาลหลายแห่ง ผู้สื่อข่าว และสำนักงานใน 6 ประเทศ
พื้นที่ให้บริการนานาชาติ
บุคลากรหลักคิม ชาง-กวัง (ผู้อำนวยการใหญ่)
บริการสื่อ
เจ้าของคณะกรรมาธิการกระจายเสียงกลางเกาหลี
พนักงาน
800
เว็บไซต์kcna.kp

สำนักข่าวกลางเกาหลี (เกาหลี조선중앙통신; อังกฤษ: Korean Central News Agency; ย่อ: KCNA) เป็นสำนักข่าวของรัฐเกาหลีเหนือ[1][2][3] สำนักข่าวนี้นำเสนอมุมมองของรัฐบาลเกาหลีเหนือเพื่อการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1946 ปัจจุบันมีการนำเสนอข่าวทางออนไลน์ด้วย[4]

ภาพรวม

[แก้]

KCNA ทำงานภายใต้คณะกรรมาธิการกระจายเสียงกลางเกาหลี ซึ่งผ่านทางคณะกรรมการนี้ ทำให้สำนักข่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมโฆษณาชวนเชื่อและการปลุกระดมพรรคแรงงานเกาหลีในท้ายที่สุด[5] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1996 KCNA เริ่มเผยแพร่บทความข่าวของตนบนอินเทอร์เน็ตโดยมีเว็บเซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา มีการเผยแพร่เรื่องราวบนเว็บไซต์ใหม่ที่ควบคุมจากกรุงเปียงยาง และผลผลิตข่าวได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยรวมถึงข่าวสารทั่วโลกที่ไม่มีความเชื่อมโยงเฉพาะเจาะจงกับเกาหลีเหนือ[6] รวมถึงข่าวจากประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี

นอกเหนือจากภาษาเกาหลีแล้ว KCNA ยังเผยแพร่ข่าวที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น และสเปนด้วย การเข้าถึงเว็บไซต์ของ KCNA รวมถึงเว็บไซต์ข่าวอื่น ๆ ของเกาหลีเหนือ ถูกปิดกั้นโดยเกาหลีใต้ตั้งแต่ ค.ศ. 2004 และสามารถเข้าถึงได้เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐบาล (เกาหลีใต้) เท่านั้น[7][8] นอกเหนือจากการทำหน้าที่เป็นสำนักข่าวแล้ว ยังผลิตบทสรุปข่าวโลกสำหรับเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือและตีพิมพ์ หนังสือประจำปีกลางเกาหลี [ko][1][9][10] มีการกล่าวหาว่ายังดำเนินการรวบรวมข่าวกรองลับด้วย[11]

สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเปียงยาง ที่ 1 โพทงกังดง เขตโพทงกัง[12] KCNA มีสำนักงานสาขาอยู่ในหลายเทศบาล"[1] KCNA ยังมีข้อตกลงแลกเปลี่ยนข่าวสารกับสำนักข่าวต่างประเทศประมาณ 46 แห่ง[13][ต้องการเลขหน้า] รวมถึงสำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้ด้วย[14] อย่างไรก็ตาม พันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของ KCNA คือสำนักข่าวทาสส์ (TASS) และสำนักข่าวซินหัว[1] KCNA มีผู้สื่อข่าวและสำนักงานอยู่ในหกประเทศ รวมถึงรัสเซียและจีน[15] ผู้สื่อข่าวประจำอยู่ที่รัสเซีย จีน คิวบา อิหร่าน อินเดีย และอียิปต์[9] KCNA ยังร่วมมือกับรอยเตอร์สและแอสโซซิเอเต็ดเพรส โดยสำนักข่าวหลังสำนักงานถาวรในกรุงเปียงยาง นักข่าวของ KCNA ได้รับการฝึกอบรมในต่างประเทศกับบีบีซีและรอยเตอรส์[1] KCNA เป็นสมาชิกขององค์การสำนักข่าวเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ ค.ศ. 1982[1][9] สำนักข่าวฯ มีพนักงานจำนวน 800 คน[9]

ตามเว็บไซต์ของ KCNA ระบุว่าสำนักข่าวฯ "เป็นกระบอกเสียงของพรรคแรงงานเกาหลีและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี" สำนักข่าวฯ ได้รับการอธิบายว่าเป็น "องค์กรทางการ"[16] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1964 ในกิจกรรมอย่างเป็นทางการครั้งแรก ๆ ของเขา คิม จ็อง-อิลได้ไปเยี่ยมสำนักงานใหญ่ของ KCNA และกล่าวว่าสำนักข่าวฯ ควร "เผยแพร่อุดมการณ์ปฏิวัติของท่านผู้นำ (คิม อิล-ซ็อง) ไปทั่วโลกอย่างกว้างขวาง"[17] อย่างไรก็ตาม มีการกล่าวกันว่าสำนักข่าวฯ ยังให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นเอกลักษณ์เกี่ยวกับ "ความคิดจิตใจ" ของเกาหลีเหนือ[18][19]

การกล่าวสุนทรพจน์ต่อเจ้าหน้าที่ที่ KCNA เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1964 ได้อธิบายถึงหน้าที่ของสำนักข่าวฯ:

เพื่อให้กลายเป็นอาวุธทางอุดมการณ์อันทรงพลังของพรรคเรา สำนักข่าวกลางเกาหลีจะต้องให้บริการข่าวสารตามแนวคิดและเจตนารมณ์ของท่านผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ สหายคิม อิล-ซ็อง สร้างหลักชูเชให้มั่นคงในการทำงาน และแสดงออกถึงจิตวิญญาณของพรรค จิตวิญญาณของชนชั้นแรงงานและจิตวิญญาณของการรับใช้ประชาชนอย่างเต็มที่ ต้องใส่ใจทุกถ้อยคำ ทุกรายละเอียดในงานเขียนที่เผยแพร่ออกมา เพราะนั่นคือจุดยืนของพรรคและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐของเรา[20]

ภายใต้หลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานของการโฆษณาชวนเชื่อทางอุดมการณ์และการปลุกระดมที่กำหนดโดยพรรคแรงงานเกาหลี ปกติแล้วสำนักข่าวฯ จะรายงานแต่ข่าวดีเกี่ยวกับประเทศซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมกำลังใจประชาชนของตนและสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกในต่างประเทศ[21] ถึงกระนั้น บางครั้งก็ยอมรับว่ามีปัญหาขาดแคลนอาหารในประเทศ[22][23] ภัยพิบัติรย็องช็อนได้รับการรายงานในเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 เช่นกัน แต่ล่าช้าไปสองวัน[24][25]

ผู้อำนวยการใหญ่ของ KCNA คือคิม ชาง-กวัง[9] KCNA มีทีมกีฬาเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬารัฐการรางวัลแพ็กดูซันประจำปี[26]

ประเด็นที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ

[แก้]

บทความของ KCNA โดยทั่วไปมักวนเวียนอยู่กับหัวข้อดังต่อไปนี้:

  • รายละเอียดการแสดงกิจกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งมักมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วม
  • การประณามการกระทำและทัศนคติของสหรัฐ[27] ญี่ปุ่น[28] เกาหลีใต้[29] อิสราเอล[30] และประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการร่วมมือทางทหาร เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หรือการค้าระหว่างประเทศเหล่านั้น การโจมตีส่วนตัวต่อผู้นำอเมริกัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอิสราเอลเป็นเรื่องปกติ[31]
  • การนำเสนอจุดยืนอย่างเป็นทางการของเกาหลีเหนือต่อข้อพิพาทที่กำลังดำเนินอยู่กับญี่ปุ่นในเรื่องต่าง ๆ เช่น สมาคมคนเกาหลีที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น[32] และนางบำเรอ[33]
  • การสนับสนุนกลุ่มอักษะแห่งการต่อต้าน[30]
  • การเรียกร้องให้ทำลายอิสราเอล[34]
  • การกล่าวถึงการเฉลิมฉลองกิจกรรมและความคิดของเกาหลีเหนือในประเทศอื่น ๆ[35]
  • การเรียกร้องให้รวมชาติเกาหลีภายใต้อุดมการณ์ชูเช[36][37]
  • การส่งเสริมความนิยมของคิม อิล-ซ็อง คิม จ็อง-อิล และคิม จ็อง-อึน[15][38][39] กรณีนี้มักให้รายละเอียดเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของผู้นำ[40] หรือคำชมจากองค์กรที่เป็นมิตรในประเทศอื่น ๆ[37][41][42]
  • การสื่อสาร การเยี่ยมเยือนและของขวัญ (โดยไม่ระบุของขวัญเฉพาะ) ไปและกลับจากประเทศที่มีแนวคิดคล้ายกันหรือเป็นมิตรต่าง ๆ[43][44][45] เกี่ยวกับจำนวนของขวัญ KCNA อ้างว่าอดีตผู้นำคิม อิล-ซ็องได้รับ "2,910 ชิ้นต่อปี 243 ชิ้นต่อเดือนและ 8 ชิ้นต่อวัน"[46]
  • การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น สารกันบูดสำหรับดอกคิมจ็องอิเลีย[47] ยาฆ่าแมลงชนิดใหม่[48] และแหวนและกำไล "ฟอกเลือด" (การรักษาหลอกลวง)[49] และอื่น ๆ
  • การเน้นชื่อของคิม อิล-ซ็อง คิม จ็อง-อิล และคิม จ็อง-อึนโดยการขยายชื่อของพวกเขาให้ปรากฏใหญ่กว่าข้อความที่เหลือ[50]
  • การอ้างถึงสถาบัน กลุ่ม หรือศูนย์ "เพื่อการศึกษาแนวคิดชูเช" ตัวอย่างเช่น รายงานของ KCNA เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2011 อ้างว่า "ศูนย์บราซิลเพื่อการศึกษาแนวคิดชูเชได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่มหาวิทยาลัยเซาเปาลูเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน"[51] บทความนี้ยังอ้างถึง "ประธาน" ที่ไม่ระบุชื่อ (สันนิษฐานว่าเป็นประธานในพิธี) แต่เหตุการณ์ที่ถูกกล่าวหาว่าเกิดขึ้นนี้ไม่ได้ถูกรายงานโดยแหล่งข่าวอื่นนอกเหนือจาก KCNA ณ วันที่บทความนั้น (แปดวันหลังจากพิธีที่ถูกกล่าวหาว่าเกิดขึ้น)

แนวปฏิบัติด้านบรรณาธิการ

[แก้]

KCNA มักใช้คำหยาบคายและดูถูก เช่น "คนทรยศ" "พวกคลั่งสงคราม" หรือ "เศษสวะมนุษย์" เพื่อเรียกขานรัฐบาล (โดยเฉพาะรัฐบาลเกาหลีใต้และสหรัฐ) องค์กร และบุคคลที่พวกเขาถือว่าเป็นศัตรู[52] ในทางตรงกันข้าม คิม จ็อง-อึน คิม จ็อง-อิล และคิม อิล-ซ็องจะได้รับการยกย่องด้วยคำสรรเสริญ เช่น "ปัญญาที่โดดเด่น" "ความสามารถพิเศษ" หรือ "คุณธรรมอันสูงส่ง"[53] ด้วยเหตุนี้ KCNA จึงถูกนักวิจารณ์จำนวนมากมองว่าเป็นเว็บไซต์ข่าวปลอม[54][55]

บทบรรณาธิการปีใหม่

[แก้]

ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมาตั้งแต่ ค.ศ. 1996 KCNA ร่วมกับหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลหลักสามฉบับในเกาหลีเหนือ จะเผยแพร่บทบรรณาธิการร่วมเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ที่จะสรุปนโยบายของประเทศสำหรับปีนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้วบทบรรณาธิการเหล่านี้จะกล่าวชื่นชมต่อนโยบายซ็อนกุน รัฐบาล และผู้นำ พร้อมทั้งสนับสนุนการเติบโตของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐและรัฐบาลตะวันตกที่มีต่อประเทศด้วย[56][57] วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006 สำนักข่าวฯ เผยแพร่บทบรรณาธิการร่วมจากหนังสือพิมพ์ของรัฐเกาหลีเหนือเรียกร้องให้ถอนทหารอเมริกันออกจากเกาหลีใต้[58] แม้บทบรรณาธิการประจำวันที่ 1 มกราคมของทุกปีจะเป็นธรรมเนียมของหนังสือพิมพ์เหล่านั้น แต่บทบรรณาธิการของปีนั้นได้รับความสนใจจากสื่อตะวันตก โดยเรียกร้องให้มีการ "รณรงค์ทั่วประเทศเพื่อขับไล่กองทหารสหรัฐ"[59] บทบรรณาธิการมีการอ้างถึงการรวมชาติเกาหลีหลายครั้ง บทบรรณาธิการประจำปี 2009 ได้รับความสนใจในลักษณะเดียวกัน เนื่องจากไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของสหรัฐ และมีการยอมรับปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงในประเทศ บทบรรณาธิการยังกล่าวถึงการปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งนักวิเคราะห์อ้างว่าเป็นสัญญาณ "ที่น่าหวัง"[60][61] สิ่งนี้ถูกกล่าวซ้ำอีกครั้งในบทบรรณาธิการประจำปี 2010 ซึ่งเรียกร้องให้ยุติความเป็นปรปักษ์กับสหรัฐและคาบสมุทรเกาหลีที่ปราศจากนิวเคลียร์[62]

บทบรรณาธิการร่วมประจำปี 2011 นอกเหนือจากการเรียกร้องให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดนิวเคลียร์และการลดความตึงเครียดระหว่างสองเกาหลีแล้ว ยังกล่าวถึงอุตสาหกรรมเบาที่กำลังเติบโตของเกาหลีเหนือเป็นครั้งแรก โดยให้เหตุผลว่านี่จะเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจแห่งชาติในปีใหม่ และเพื่อบรรลุพันธกิจแห่งชาติ "คังซ็องแทกุก" (Kangsong Taeguk)[ต้องการอ้างอิง]

บทบรรณาธิการร่วมประจำปี 2012 ซึ่งเป็นฉบับแรกภายใต้การนำของคิม จ็อง-อึน เริ่มต้นด้วยการสดุดีครั้งใหญ่ต่อคิม จ็อง-อิลและนอกเหนือจากการเรียกร้องซ้ำ ๆ ให้ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ และให้ปฏิบัติตามปฏิญญา 4 ตุลาคม ค.ศ. 2007 แล้ว ยังเรียกร้องให้ทั้งชาติให้ความสำคัญกับการทำภารกิจปี 2012 ของคิม จ็อง-อิลในการสร้างชาติที่แข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรือง สานต่อมรดกของเขาและคิม อิล-ซ็อง บิดาของเขาต่อทั้งประเทศและอุดมการณ์สังคมนิยม และสร้างเสริมและสนับสนุนภาคส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นชาติให้เป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติในทุกด้านโดยไม่คำนึงถึงต้นทุน[ต้องการอ้างอิง]

แนวปฏิบัตินี้สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 2013 เมื่อคิม จ็อง-อึนกล่าวสุนทรพจน์เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในรอบ 19 ปี[63]

การตรวจพิจารณา

[แก้]

ภายหลังการกวาดล้างและประหารชีวิตชัง ซ็อง-แท็ก KCNA ได้ดำเนินการเซ็นเซอร์ครั้งใหญ่ที่สุดบนเว็บไซต์ของตน มีรายงานต้นฉบับภาษาเกาหลีประมาณ 35,000 บทความถูกลบออก เมื่อนับรวมบทแปลแล้ว บทความที่ถูกลบออกทั้งหมดมีจำนวน 100,000 บทความ นอกจากนี้ บทความบางส่วนยังถูกแก้ไขเพื่อลบชื่อของชังออก[64] ไม่ใช่บทความที่ถูกลบทั้งหมดที่กล่าวถึงชังโดยตรง[65]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Hoare, James E. (2012). "Korean Central News Agency (KCNA)". Historical Dictionary of Democratic People's Republic of Korea. London: Scarecrow Press. p. 231. ISBN 978-0-8108-7987-4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Hoare2012" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. "North Korea". Reporters Without Borders. July 6, 2020.
  3. "In North Korea, the state-run news agency is the weapon of choice". Washington Post. April 28, 2013.
  4. Shrivastava, K. M. (2007). News Agencies from Pigeon to Internet. Elgin: New Dawn Press Group. p. 211. ISBN 978-1-932705-67-6.
  5. "KWP Propaganda and Agitation Department" (PDF). North Korea Leadership Watch. November 2009. pp. 1–2. สืบค้นเมื่อ 27 May 2018.
  6. "KCNA significantly increasing output". North Korea Tech. March 4, 2011.
  7. Christian Oliver (April 1, 2010). "Sinking underlines South Korean view of state as monster". London: Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2015. สืบค้นเมื่อ April 2, 2010.
  8. North Korea Newsletter No. 56 (May 28, 2009) เก็บถาวร กันยายน 14, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Yonhap. May 28, 2009.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "KCNA". OANA NEWS. สืบค้นเมื่อ 17 August 2022.
  10. 조선중앙년감. WorldCat. OCLC 873700160. สืบค้นเมื่อ 17 August 2022.
  11. Henderson, Robert (2003). Brassey's International Intelligence Yearbook: 2003 Edition. Brassey's. p. 292. ISBN 978-1-57488-550-7.
  12. Pares 2005, p. 188.
  13. Pares 2005.
  14. About Us เก็บถาวร มีนาคม 31, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Yonhap.
  15. 15.0 15.1 "Koreascope Mass Media". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2009.
  16. Quick, A. C. (2003). World Press Encyclopedia: A Survey of Press Systems Worldwide. (2nd eds.) Gale. ISBN 978-0-7876-5584-6.
  17. Lee, H. (2001). North Korea: A Strange Socialist Fortress. Greenwood Publishing Group. pp. 67. ISBN 978-0-275-96917-2)
  18. Bennett, G. & Dresner, D. (1999). Directory of Web Sites. Taylor & Francis. pp.580. ISBN 978-1-57958-179-4.
  19. North Korea Hunger เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Reuters. July 10, 2008.
  20. A Talk to the Officials of the Korean Central News Agency June 12, 1964 เก็บถาวร มีนาคม 27, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. KFA.
  21. Daily News about North Korea เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Chosun Ilbo. July 15, 2005.
  22. Shortages of food in the DPRK. KCNA. September 25, 2000.
  23. Is North Korea facing famine? เก็บถาวร มีนาคม 21, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC News, June 25, 2008.
  24. Reeling, hungry, N Korea heads to nuke talks. Asia Times Online. May 7, 2004.
  25. KCNA Report on Explosion at Ryongchon Railway Station เก็บถาวร เมษายน 30, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, April 24, 2004.
  26. "Civil servants play basketball tournament". The Pyongyang Times. KCNA. 2017-01-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  27. U.S. Scenario for Preemptive Nuclear Attack on DPRK Blasted เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 8, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, December 11, 2005.
  28. KCNA Blasts Fukuda Regime's Suppression of Chongryon เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, March 18, 2008.
  29. KCNA Blasts Lee Myung Bak Group's Anachronistic Confrontational Policy เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, January 8, 2009.
  30. 30.0 30.1 "파렴치한 이중기준에 깔린 불순한 야망". Korean Central News Agency. สืบค้นเมื่อ 28 October 2024.
  31. Gajanan, Mahita (21 September 2017). "Kim Jong Un Called President Trump a 'Dotard.' What Does That Mean?". Time. สืบค้นเมื่อ 23 June 2019.
  32. Chongryon on preserving national character เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, May 21, 2002.
  33. Japanese Reactionaries' Moves to Cover up "Comfort Women" Issue under Fire เก็บถาวร เมษายน 13, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, November 6, 2006.
  34. "이란이슬람교혁명근위대 이스라엘에 대한 보복의지 강조". Korean Central News Agency. สืบค้นเมื่อ 4 November 2024.
  35. "August 27. 2009 Juche 98". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-08-04.
  36. All Koreans Urged to Remain True to Idea of "By Our Nation Itself" เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, January 9, 2009.
  37. 37.0 37.1 DPRK's Important Days Marked in Foreign Countries เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, March 18, 2008.
  38. Reporters without Borders 2005 report เก็บถาวร เมษายน 13, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  39. Meagre media for North Koreans เก็บถาวร มกราคม 15, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. BBC News. October 10, 2006.
  40. Kim Jong Il Inspects KPA Unit เก็บถาวร พฤษภาคม 22, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, August 2, 2007.
  41. Kim Jong Il's Leadership Praised in Peru and India เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, June 30, 2005.
  42. Kim Il Sung and Kim Jong Il Lauded เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, January 8, 2009.
  43. Floral Basket and Congratulatory Letter to Kim Jong Il from Cambodia เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, January 9, 2009.
  44. Reception for FM of Myanmar and His Party เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, October 29, 2008.
  45. Chinese Art Troupe Gives Performances เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, October 29, 2008.
  46. Many gifts to Kim Il Sung เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, April 8, 2003.
  47. "Agent for Preserving Kimjongilia Developed" เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, October 21, 2008.
  48. New Kind of Pesticide Developed เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, July 3, 2006.
  49. Blood-Purifying Finger Ring เก็บถาวร เมษายน 13, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, May 18, 2005.
  50. Williams, Martyn (25 December 2011). "State websites raise name of Kim Jong Un". North Korea Tech (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Martyn Williams. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2017. สืบค้นเมื่อ 28 April 2023.
  51. Brazilian Center for Study of Juche Idea Formed เก็บถาวร พฤษภาคม 6, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, June 12, 2011.
  52. "KCNA Commentary Blasts S. Korean Mandarin's Hysteric Remarks". KCNA. January 30, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2013. สืบค้นเมื่อ January 31, 2013.
  53. "Kim Jong Un Elected First Chairman of NDC of DPRK". KCNA. April 13, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2012. สืบค้นเมื่อ January 31, 2013.
  54. "How to Fight Against North Korea's Fake News?". Osavul.
  55. King, Robert. "Fake News from Pyongyang! How North Korea is Using the Internet". KEIA. สืบค้นเมื่อ 27 July 2020.
  56. North Korea issues New Year denuclearization pledge เก็บถาวร เมษายน 13, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Reuters. December 31, 2008.
  57. N. Korea Vows to Rebuild Economy in New Year Message เก็บถาวร มิถุนายน 9, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, the Korea Times, January 1, 2009.
  58. "Joint New Year Editorial Issued" เก็บถาวร พฤษภาคม 24, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, January 1, 2006.
  59. "North Korea Demands U.S. Troop Withdrawal" เก็บถาวร มีนาคม 10, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Fox News. December 31, 2005.
  60. 2009 Joint New Year Editorial Issued เก็บถาวร มีนาคม 25, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, January 1, 2009.
  61. North Korea message is mild on US เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 17, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. BBC News. January 1, 2009.
  62. Kim, Sam (January 1, 2010). N. Korea calls for end to enmity with U.S., hints at return to nuclear talks เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 26, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Yonhap.
  63. "North Korea's Kim Jong-un makes rare new year speech". BBC News. 1 January 2013. สืบค้นเมื่อ 8 November 2021.
  64. Florcruz, Michelle (ธันวาคม 16, 2013). "Korean Central News Agency (KCNA) Deletes Online Archive Of News After Execution Of Jang Song Thaek". International Business Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 7, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 23, 2017.
  65. Weiser, Martin (ตุลาคม 31, 2016). "On Reading North Korean Media: The Curse of the Web". Sino-NK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 7, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 23, 2017.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Pares, S (2005). A Political and Economic Dictionary of East Asia: An Essential Guide to the Politics and Economics of East Asia. Routledge. ISBN 978-1-85743-258-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Wikinews category

แม่แบบ:สื่อที่เน้นเฉพาะข่าวและ/หรือการวิเคราะห์เกี่ยวกับเกาหลีเหนือ แม่แบบ:สำนักข่าวต่าง