สาหร่ายวุ้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาหร่ายวุ้น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
ไม่ได้จัดลำดับ: Archaeplastida
ไฟลัม: Rhodophyta
ชั้น: Florideophyceae
อันดับ: Gracilariales
วงศ์: Gracilariaceae
สกุล: Gracilaria
Greville, 1830

สาหร่ายวุ้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gracilaria) อยู่ในกลุ่มสาหร่ายสีแดง มีตั้งแต่สีดำแดง,สีแดง,สีน้ำตาล,สีน้ำตาลแดง,สีชมพู,สีม่วงเข้ม,สีม่วงแดง,สีเทา,สีเขียว,สีเหลือง หรือใส เกือบทุกชนิดสามารถรับประทานได้ หรือนำมาสกัดวุ้น จึงรวมเรียกว่า สาหร่ายวุ้น มีชื่อพื้นเมืองว่า สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) และชื่อสามัญว่า สาหร่ายวุ้น

ลักษณะของสาหร่ายผมนาง[แก้]

เนื่องจากมีลักษณะแตกต่างกันหลายลักษณะ จึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปดังนี้

  • ลักษณะของ Talus กลมหรือแบน อวบน้ำ แตกแขนงมากหรือน้อยแล้วแต่ชนิด ลักษณะของใบยาว เรียกว่า สาหร่ายผมนาง
  • ลักษณะอวบน้ำและแตกแขนงคล้ายเขากวาง เรียกว่า สาหร่ายเขากวาง
  • ลักษณะเป็นข้อๆ ต่อกัน เรียกว่า สาหร่ายข้อ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

เป็นสาหร่ายเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ แทลโลไฟต์ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ภายในผนังเซลล์มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ มีเม็ดสีสำคัญในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วย คลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี คาโรทีนอยด์ และไฟโคอีริทริน  

การสืบพันธุ์[แก้]

พฤติกรรมการสืบพันธุ์เป็นแบบอาศัยเพศแบ่งเป็น 3 ลักษณะประกอบด้วย

นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย[แก้]

มีแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ส่วนมากพบบริเวณน้ำขึ้น-น้ำลง และบริเวณที่อยู่ใต้น้ำตลอดเวลา โดยเกาะอยู่กับวัสดุในน้ำ เช่น เปลือกหอย กรวดทราย หรืออยู่เป็นอิสระไม่เกาะกับวัตถุใดๆ แต่มีสาหร่ายผมนางบางชนิด เช่น Gracilaria fisheri จะเจริญอยู่บริเวณป่าชายเลน สำหรับในประเทศไทยจะพบแพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งของอ่าวไทยและฝั่งมหาสมุทรอินเดีย เช่น จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ระนอง ปัตตานี และ นราธิวาส

การเพาะเลี้ยงสาหร่ายวุ้น[แก้]

ทำได้โดยการรวบรวมสปอร์จากการวางวัสดุล่อสปอร์ในแหล่งน้ำ สามารถผลิตพันธุ์สาหร่ายอ่อน โดยคัดเลือกต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์มาใช้ขยายพันธุ์ในถังเพาะ โดยวางวัสดุรองรับสปอร์ภายใต้ต้นพันธุ์ซึ่งต้องใช้เวลานาน 2-3 วัน เพื่อให้สปอร์เริ่มเจริญพันธุ์และเกาะบนวัสดุได้ แล้วจึงเคลื่อนย้ายไปยังถังอนุบาลและแหล่งเลี้ยงสาหร่ายต่อไป โดยสปอร์จะตกและเคลื่อนออกจากกระเปาะหุ้มสปอร์สู่ภายนอกได้ดีในน้ำเค็ม 30 ppt

ประโยชน์ของสาหร่ายวุ้น[แก้]

  • ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมแยม เช่น ขนมปัง เนย มายองเนส และลูกกวาด โดยเป็นตัวช่วยให้อาหารนิ่มและข้นขึ้น หรือใช้ผสมในอาหารกระป๋อง และผสมเครื่องดื่ม เช่น ไวน์ เบียร์ ซึ่งช่วยป้องกันสนิม และช่วยทำให้เครื่องดื่มมีสีใส ไม่ตกตะกอน
  • ผลิตภัณฑ์ยา ใช้เป็นยาระบาย เช่น แคปซูลยา หรือ ใช้เลี้ยงแบคทีเรีย เช่น ส่วนผสมในอาหารเลี้ยงเชื้อ
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ใช้ผสมครีมและน้ำมันทาผิว
  • ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและกระดาษ ใช้ย้อมเส้นด้าย เคลือบกระดาษ เคลือบผิวอาหารที่จะแช่แข็ง

โทษของสาหร่ายวุ้น[แก้]

  • ทำให้น้ำมีกลิ่น สี และรส เปลี่ยนไป
  • แหล่งน้ำที่มีธาตุอาหารมาก จะทำให้สาหร่ายเจริญอย่างรวดเร็วจนเต็มผิวน้ำ เรียกว่า ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrofication)
  • ทำให้น้ำบริเวณนั้นเกิดเน่า เป็นพิษ เพราะเกิดแก๊ส H2S
  • เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำที่เลี้ยง เช่น ปลา กบ เต่า ฯลฯ
  • ทำลายเครื่องมือจับปลา เช่น กระชังปลา กระชังกุ้งให้เสียหาย

การแปรรูป[แก้]

มักทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นผงวุ้นและวุ้นแคร์ราจีแนน เพื่อใช้ประกอบกับอาหาร อาหารเสริมและขนม ซึ่งมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์แบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ด้านอาหาร

ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ประเทศที่นิยมนำสาหร่ายวุ้นมาบริโภคเป็นอาหารได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย และ เวียดนาม ซึ่งคุณค่าทางอาหารที่ได้จากสาหร่าย ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ โดยเฉพาะธาตุไอโอดีนและวิตามิน

  • ด้านเกษตรกรรม

ใช้ทำปุ๋ย โดยสามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ดี เพราะมีธาตุไนโตรเจนและโปตัสเซียมสูง และยังมีแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace element) นอกจากนี้จะใช้เป็นปุ๋ยน้ำได้โดยตรงด้วยการบดละเอียด ผสมกับน้ำอัตราส่วน 1:500 ลิตร ใช้รดต้นไม้ อีกทั้งใช้ป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยใช้น้ำสกัดจากสาหร่าย ฉีดพ่นตามต้นพืช จำพวกหัวผักกาดหวาน พบว่า ป้องกันเพลี้ยและเชื้อราได้ และยังสามารถป้องกันการสูญเสียของผลไม้ ในขณะอากาศหนาวจัดได้ด้วย

  • ด้านการแพทย์

นำมาทำยารักษาโรค เช่นโรคกระเพาะ ยาระบาย และยาแก้โรคคอพอก และยังนำวุ้นมาทำเป็นแคปซูลสำหรับหุ้มยา นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะหย่อน ลำไส้ใหญ่อักเสบ ริดสีดวงทวาร ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็ง ข้ออักเสบ โรคอ้วนต่างๆ จะช่วยบรรเทาอาการลงได้

มูลค่าทางเศรษฐกิจ[แก้]

สาหร่ายวุ้นเป็นสาหร่ายสีแดงที่พบได้ทั่วไปในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จัดเป็นสกุลที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตวุ้นชนิดที่เรียกว่า agar ดังนั้นในหลายประเทศจึงได้มีการทำฟาร์มและเลี้ยงสาหร่ายวุ้นขึ้นเพื่อนำมาสกัดวุ้นสำหรับใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ แต่ก็มีการเก็บจากธรรมชาติประมาณปีละ 20-200 ตัน น้ำหนักแห้ง ในขณะที่ความต้องการในเชิงพาณิชย์สูงถึง 2,400 ตัน

อ้างอิง[แก้]