สาวยาคูลท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาวยาคูลท์ในประเทศญี่ปุ่น

สาวยาคูลท์ (ญี่ปุ่น: ヤクルトレディーโรมาจิYakuruto redi) หรือ ป้ายาคูลท์ (ヤクルトおばさん, Yakuruto obasan)[1] คือเป็นพนักงานหญิงที่ขายหรือส่งผลิตภัณฑ์ของยาคูลท์แบบถึงมือตามบ้าน[2] พวกเขาขนส่งสินค้าด้วยพาหนะเพื่อทำตลาดหลายรูปแบบ มีตั้งแต่จักรยาน จักรยานยนต์ หรือรถยนต์ เป็นอาทิ โดยสาวยาคูลท์จะสวมเครื่องแบบ หมวก และถุงมือของบริษัท[3] ใน พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีสาวยาคูลท์จำนวน 4,000 คน โดยกรุงเทพมหานครมีจำนวนสาวยาคูลท์หนาแน่นกว่าจังหวัดอื่น เพราะมีความหนาแน่นของประชากรสูง[4] สาวยาคูลท์แบบส่งถึงบ้านเกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2506[5] และระบบสาวยาคูลท์ประกาศใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2524[6]

สาวยาคูลท์คล้ายกับเป็นผู้ประกอบการมากกว่าพนักงาน เสมือนร้านค้าปลีกที่ยาคูลท์อนุญาตให้ขายสินค้า มีรายได้เป็นค่าคอมมิชชันต่อขวด ขึ้นอยู่กับยอดขายต่อจำนวนลูกค้าต่อพื้นที่[4] ทั้งยังทำหน้าที่เป็นทูตตราสินค้าไปด้วยในตัว[7] แม้ยาคูลท์จะมีจำหน่ายใน 31 ประเทศทั่วโลก แต่มีเพียงประเทศในแถบเอเชียเท่านั้นที่มีระบบสาวยาคูลท์ เช่น ประเทศจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เช่น บราซิล เคยมีการใช้ระบบสาวยาคูลท์ในประเทศออสเตรเลียเมื่อ พ.ศ. 2537 แต่ภายหลังก็ยกเลิกไป[8] ในประเทศไทย เริ่มระบบสาวยาคูลท์ตั้งแต่ พ.ศ. 2514[7] ผู้ที่จะเป็นสาวยาคูลท์ ต้องมีอายุตั้งแต่ 19-35 ปี เพราะเป็นวัยที่เหมาะแก่การเรียนรู้งานและมีความรับผิดชอบด้วยใจจริง สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นต้นไป มีใบขับขี่ และไม่จำกัดเพศ สาวยาคูลท์จะได้รับเครื่องแบบ อุปกรณ์ และรถจักรยานยนต์ มีสวัสดิการรักษาพยาบาลของตนเองและบุตร และมีทุนระดับอุดมศึกษาของรัฐแก่บุตรโดยได้รับเป็นค่าหน่วยกิต และค่าช่วยเหลืออื่น ๆ ตามความเหมาะสมจนจบปริญญาตรี[4][7]

ผู้ชายเคยทำงานเป็นสาวยาคูลท์ เช่น คาซูฮิซะ อิชิอิ นักเบสบอลอาชีพชาวญี่ปุ่น และในไทยก็เคยมีผู้ชายทำงานเป็นสาวยาคูลท์ คือ ประพันธ์ เหตระกูล ผู้ก่อตั้งบริษัทยาคูลท์ในประเทศไทย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mitsui, Izumi (2019). Cultural Translation of Management Philosophy in Asian Companies: Its Emergence, Transmission, and Diffusion in the Global Era (ภาษาอังกฤษ). Springer Nature. ISBN 978-981-15-0241-5. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  2. Tokyo Business Today (ภาษาอังกฤษ). Toyo Keizai Shinposha (The Oriental Economist). 1992. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  3. Trompenaars, Fons; Woolliams, Peter (2004). Marketing Across Cultures (ภาษาอังกฤษ). Wiley. p. 67. ISBN 978-1-84112-471-1. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "ส่อง "รายได้สาวยาคูลท์" พร้อมคุณสมบัติและสวัสดิการ". ไทยรัฐออนไลน์. 15 Jun 2021. สืบค้นเมื่อ 12 Sep 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Ryall, Julian (10 November 2018). "How a Japanese health drink conquered world with bacteria and beaming ladies". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  6. "History | Yakult Philippines Incorporated". www.yakult.com.ph. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  7. 7.0 7.1 7.2 ""สาวยาคูลท์" สำคัญกับ "ยาคูลท์" อย่างไร ? ทำไมถึงเปิดรับสมัครไม่อั้น สวัสดิการเพียบ! สวนทิศเศรษฐกิจ". MarketingOops. 19 Mar 2020. สืบค้นเมื่อ 12 Sep 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Sams, Lauren (29 July 2016). "Yakult ladies: the Avon ladies of Japanese fermented milk drinks" (ภาษาอังกฤษ). SBS. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]