บังคลาเทศพิมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สายการบินบังกลาเทศพิมาน
বিমান বাংলাদেশ এয়ারলাইন্স
IATA ICAO รหัสเรียก
BG BBC BANGLADESH
ก่อตั้ง4 มกราคม 1972; 52 ปีก่อน (1972-01-04)
เริ่มดำเนินงาน4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972 (1972-02-04)
AOC #9
ท่าหลักธากา
ท่ารองจิตตะกอง
สิเลฏ
สะสมไมล์Biman Loyalty Club
บริษัทลูกพิมานไฟล์ทคาเทอร์ริ่งเซนเตอร์
พิมานโพว์ทรีคอมเพลกซ์
พิมานกราวนด์แฮนด์ดิ้ง
บังกลาเทศแอร์ไลน์เทรน์นิงเซนเตอร์
ขนาดฝูงบิน21
จุดหมาย25
สำนักงานใหญ่บังกลาเทศ ธากา, ประเทศบังกลาเทศ
บุคลากรหลัก
  • Sajjadul Hassan (ประธาน)[1]
  • Shafiul Azim (CEO)[2]
เว็บไซต์biman-airlines.com

สายการบินบังกลาเทศพิมาน (เบงกอล: বিমান বাংলাদেশ এয়ারলাইন্স; อังกฤษ: Biman Bangladesh Airlines)[3] เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศบังกลาเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1972 มีฐานการบินอยู่ที่ท่าอาอากาศยานนานาชาติชาฮ์ลายัล และยังให้บริการเที่ยวบินจากฐานการบินรองที่ท่าอากาศยานนานาชาติชาห์ อมานัท ในจิตตะกอง และท่าอากาศยานนานาชาติออสมานี ในสิเลฏ[4]

ประวัติ[แก้]

สายการบินบังกลาเทศพิมานถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1972 ในฐานะสายการบินแห่งชาติของบังกลาเทศภายใต้กฎหมายพิมาน ตามคำสั่งประธานาธิบดีหมายเลข 126[5] โดยได้มีการนำอดีตพนักงาน 2,500 คน รวมถึงนักบินสิบเจ็ดคนจากปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์มาเริ่มดำเนินกิจการ ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1971 หลังจากได้รับเอกราชของบังกลาเทศ[6]  โดยเดิมใช้ชื่อ แอร์บังกลาเทศ แต่ก็เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันในเวลาต่อมา[7]

ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972 บังกลาเทศพิมานเริ่มให้บริการภายในประเทศ โดยเริ่มให้บริการเที่ยวบินเชื่อมธากากับจิตตะกอง เจสซอร์ และสิเลฏ โดยใช้เครื่องบินดักลาส ดีซี-3 หนึ่งลำจากอินเดีย[8] หลังจากการตกของเครื่องบินลำเดียวในฝูงบินในวันที่ 10 เดือนกุมภาพันธ์ ใกล้กรุงธากา ระหว่างการบินทดสอบ สายการบินได้นำเครื่องบินฟอกเกอร์ เอฟ-27 2 ลำของอินเดียนแอร์ไลน์มาประจำการแทน และได้ยืมดักลาส ดีซี-6 จากสภาคริสตจักรโลก ซึ่งต่อมาถูกแทนที่ด้วย ดักลาส ดีซี-6B รุ่นใหม่กว่า ที่เช่าจากโทรล์แอร์ เพื่อใช้ในการบินเส้นทางธากา-โกลกาตา[9] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1972 บังกลาเทศพิมานเริ่มให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศด้วยเที่ยวบินรายสัปดาห์ไปยังลอนดอนโดยใช้เครื่องบินโบอิง 707 ที่เช่าจากบริติชคาลิโดเนียน[10] ในปีแรกของการดำเนินงาน บังกลาเทศพิมานให้บริการเที่ยวบิน 1,079 เที่ยวบินซึ่งมีผู้โดยสารมากกว่า 380,000 คน[6]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2023 สายการบินบังกลาเทศพิมานให้บริการเที่ยวบินไปยัง 25 จุดหมายปลายทาง โดย 17 เส้นทางเป็นเส้นทางระหว่างประเทศ[11]

ฝูงบิน[แก้]

ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2023 สายการบินบังกลาเทศพิมานมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[12][13]

ฝูงบินของสายการบินบังกลาเทศพิมาน
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
C Y+ Y รวม
โบอิง 737-800 6 12 150 162 [14][15][16]
โบอิง 777-300อีอาร์ 4 35 384 419 [14]
โบอิง 787-8 4 24 247 271 [17]
โบอิง 787-9 2 30 21 247 298
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช 8 คิว400 5 1 74 74 [18][19][20][21]
รวม 21 1

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sajjadul Hasan named new Biman chairman". Bdnews24. สืบค้นเมื่อ 29 January 2020.
  2. "Shafiul Azim appointed as Biman MD". The Business Standard (ภาษาอังกฤษ). 7 December 2022. สืบค้นเมื่อ 12 December 2022.
  3. บริษัท สายการบินบังกลาเทศพิมาน จำกัด
  4. Editor; Editor (2017-05-19). "Biman Bangladesh Airlines Head Office in Kurmitola, Bangladesh". Airlines-Airports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. "Biman Bangladesh Airlines Limited - Banglapedia". en.banglapedia.org (ภาษาอังกฤษ).
  6. 6.0 6.1 The History of Biman Bangladesh Airlines. Jatree. Biman Bangladesh Airlines. January–March 1987.
  7. "World airlines – Bangladesh Biman". Flight International. Vol. 101, no. 3296. 18 May 1972. p. 16. Archived from the original on 1 January 2023.
  8. "World airline survey – Bangladesh Biman". Flight International. Vol. 103, no. 3341. 22 March 1973. p. 446. Archived from the original on 1 January 2023.
  9. "Airline directory up-dated – 1—Bangladesh Biman". Flight International. Vol. 101, no. 3302. 22 June 1972. p. 895. Archived from the original on 6 November 2013.
  10. http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1972/1972%20-%200577.html
  11. "Flight Schedule". Biman Bangladesh Airlines. สืบค้นเมื่อ 12 January 2020.
  12. "Fleet Information". Biman Bangladesh Airlines. Retrieved 1 January 2023.
  13. "Biman Bangladesh Airlines Fleet Details and History". www.planespotters.net.
  14. 14.0 14.1 "BoeingBoeing, Biman Bangladesh Announce 737-800 Order". Boeing (Press release). 25 June 2008.
  15. "Biman to induct two aircraft to replace ageing ones". The Daily Star.
  16. "Biman adds another Boeing 737-800 to its fleet". bdnews24.com.
  17. "Biman adds pair of -9s to existing 787-8 fleet". FlightGlobal. 17 November 2019.
  18. "Biman to buy two more Dash-8 aircraft". The Business Standard (ภาษาอังกฤษ). 2020-03-08. สืบค้นเมื่อ 2020-08-02.
  19. "Biman Bangladesh Airlines Signs Deal to Lease Two Dash8-Q400 Aircraft for Huge Growth in its Domestic Operations". Aviationpros.com. 18 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2017.
  20. Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident de Havilland Canada DHC-8-402Q Dash 8 S2-AGQ Yangon-Mingaladon Airport (RGN)". aviation-safety.net. สืบค้นเมื่อ 2019-06-15.
  21. "3rd Dash-8 aircraft reaches Dhaka". The Daily Star. 5 March 2021.