สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก

شەرقىي تۈركىستان ئىسلام جۇمھۇرىيىتى
1933-1934
ธงชาติเตอร์กิสถานตะวันออก
ธงชาติ
Location map of the First ETR
แผนที่ของเขตปกครองกัชการ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกัชการ์ เมืองหลวงของสาธารณรัฐ
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง
เมืองหลวงกัชการ์
ภาษาทั่วไปภาษาอุยกูร์ (สำเนียงกัชการ์และโคตาน)
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี
การปกครองสาธารณรัฐอิสลาม
ประธานาธิบดี 
• พ.ศ. 2476 - 2477
โคยา นิยาซ
• พ.ศ. 2476 - 2477
ซาบิต มามุลลอ อับดุลบากี
เอมีร์ 
• พ.ศ. 2476 - 2477
มูฮัมหมัด อามิน บูครา
• พ.ศ. 2476 - 2477
อับดุลลอห์ บูครา
• พ.ศ. 2476 - 2477
นูร์ อะห์หมัด ยาน บูครา
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงคราม
• ก่อตั้ง
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
• สิ้นสุด
16 เมษายน พ.ศ. 2477
สกุลเงินเหรียญทองแดง (pul) เหรียญเงิน (tanga) และเหรียญทอง (tilla) ที่ได้จากการทำเหมืองในกัชการ์เมื่อ พ.ศ. 2476
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐจีน
สาธารณรัฐจีน

สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่ 1 (First Eastern Turkestan Republic; ETR) หรือ สาธารณรัฐอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก (Islamic Republic of East Turkestan; TIRET; ภาษาอุยกูร์: شەرقىي تۈركىستان ئىسلام جۇمھۇرىيىتى‎‎ Sherqiy Türkistan Islam Jumhuriyiti) เป็นสาธารณรัฐอิสลามอายุสั้น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 ศูนย์กลางอยู่ที่กัชการ์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองตนเองซินเจียง-อุยกูร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผลจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเรียกร้องเอกราชของชาวอุยกูร์ที่อยู่ในบริเวณนั้น สาธารณรัฐนี้ประกอบด้วยประชากรที่เป็นชาวคีร์กิซและกลุ่มที่ใช้ภาษาตระกูลเตอร์กิกอื่นๆ

จุดกำเนิดของขบวนการเตอร์กิสถานตะวันออก[แก้]

ขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชาวอุยกูร์เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 25 โดยได้รับอิทธิพลจากขบวนการยาดิดิสต์ที่แพร่หลายในหมู่ชาวอุยกูร์ โดยเป็นแรงบันดาลใจจากการสร้างชาติตุรกีที่ยิ่งใหญ่ มีการจัดระบบการศึกษาในซินเจียง มีการจัดโรงเรียนแบบตะวันตกที่กัชการ์ เน้นการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาและคณิตศาสตร์ ซึ่งการเคลื่อนไหวของขบวนการนี้ส่งผลต่อสถานะดั้งเดิมในซินเจียง ผู้ปกครองซินเจียง หยาง เจินซิน (楊增新) ได้สั่งปิดโรงเรียนเหล่านี้

การเกิดขึ้นของสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐเอเชียกลางที่เน้นสังคมนิยมส่งผลต่ออุยกูร์ เพิ่มกลุ่มของขบวนการแบ่งแยกดินแดนชาตินิยมและการแพร่กระจายของคอมมิวนิสต์ องค์กรปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในท้องถิ่นจัดตั้งขึ้นในซินเจียงตั้งแต่ พ.ศ. 2464 พื้นที่นี้มีปัญญาชนที่มีความรู้ด้านคอมมิวนิสต์จากเอเชียกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการชาตินิยมเตอร์กิกซินเจียง

สถานการณ์ในซินเจียงเลวลงเมื่อเกิดการลอบสังหารหยาง เจินซินในพ.ศ. 2471 และการขึ้นสู่อำนาจของจิน ชู่เหริน (金樹仁) ผู้ประกาศตนเป็นผู้ปกครองหลังจับกุมและประหารชีวิตผู้ลอบสังหารหยาง เจินซิน ซึ่งคือฝานเย่าหนาน (樊耀南) จินได้ใช้นโยบายทำให้เป็นจีน เพิ่มภาษี นำเจ้าหน้าที่ชาวฮั่นเข้ามาแทนเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น

การกบฏ[แก้]

ทหารปฏิวัติอุยกูร์
นายพลหม่า จ้งยิง ผู้บัญชาการกองพลที่ 36 (พ.ศ. 2475 - 2477)
นายพลเชิ่ง ชี่ไข ผู้บัญชาการทหารในซินเจียง (พ.ศ. 2476 - 2487)

สถานการณ์วุ่นวายขึ้นใน พ.ศ. 2473 เมื่อข่านแห่งกุมุลหรือฮามีในซินเจียงตะวันออกนามชาห์ เมกซุตเสียชีวิต ตามนโยบายของราชวงศ์ชิง ข่านสามารถปกครองโดยสืบทอดทายาทจามระบบศักดินาได้ ความสำคัญของฮามีคืออยู่บนเส้นทางหลักที่จะไปยังจีนตะวันออก และมีที่นาที่ยังไม่พัฒนาอยู่มาก และความต้องการของรัฐบาลที่ต้องการกำจัดอำนาจดั้งเดิมออกไป ทำให้จนสั่งยุบตำแหน่งข่านและเข้าปกครองโดยตรงทันทีหลังชาห์ เมกซุตเสียชีวิต

จิน ชู่เหรินเพิ่มภาษีการเกษตรเป็นสองเท่าสำหรับชาวอุยกูร์ท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ผู้อพยพชาวฮั่นจากมณฑลใกล้เคียงอพยพเข้ามา ทำให้ชาวอุยกูร์ต้องไปรวมตัวในที่ดินคุณภาพต่ำใกล้ทะเลทราย ต้องเพิ่มทหารในฮามี และใน พ.ศ. 2473 การประท้วงของขบวนการต่อต้านเริ่มขึ้น และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วบริเวณ ฟางเส้นสุดท้ายเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 เมื่อเจ้าหน้าที่ชาวจีนชื่อเชียงต้องการแต่งงานกับเด็กหญิงชาวอุยกูร์จากหมู่บ้านด้านนอกฮามี ชาวอุยกูร์กล่าวอ้างว่าเด็กหญิงถูกข่มขืนหรือถูกบังคับ แต่กฎหมายมุสลิมห้ามไม่ให้หญิงมุสลิมแต่งงานกับชายที่ไม่ใช่มุสลิม จึงถูกต่อต้านจากสังคมอุยกูร์

การกบฏเกิดขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 เมื่อเกิดการสังหารหมู่ฆ่าเชียงและทหารของเขา 33 คนในงานแต่งงาน ผู้อพยพชาวจีนจากมณฑลกานซู 120 คนถูกฆ่าด้วย การต่อต้านการปกครองของจินไม่ได้มีเฉพาะชาวอุยกูร์ แต่มีชาวคาซัก ชาวคีร์กิซและชาวหุยเข้าร่วมด้วย

สหภาพโซเวียตได้ส่งกองทหารเข้ามาช่วยจินและผู้บัญชาการของเขาคือเชิ่ง ชี่ไข (盛世才) เช่นเดียวกับผู้อพยพรัสเซียขาวจากสหภาพโซเวียตและอาศัยอยู่ในบริเวณแม่น้ำอีลี การต่อสู้มีศูนย์กลางอยู่ที่อูรุมชี กองทัพหุยภายใต้การนำของเชิ่ง ชี่ไขและการสนับสนุนของทหารโซเวียตและทหารแมนจูเรียที่อพยพหนีการรุกรานของญี่ปุ่นมาจากจีนตอนเหนือ ต่อมา ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2476 จินถูกกองทัพเหล่านี้ปลดและเชิ่งที่สหภาพโซเวียตสนับสนุนขึ้นสืบทอดอำนาจแทน เชิ่งได้แยกกองกำลังของฝ่ายตรงข้ามในบริเวณอูรุมชี โดยให้ทหารชาวอุยกูร์ นำโดย โซยา นิยาซ ฮัจญี ไปอยู่ซินเจียงตอนใต้ และทหารชาวหุย นำโดยหม่า จ้งยิง (馬仲英) ไปอยู่ซินเจียงตอนเหนือ

ทหารชาวหุยอื่นๆในซินเจียงตอนใต้ได้เข้าเป็นพันธมิตรกับทหารอุยกูร์นำโดยติมูร์ เบก และยกทัพเข้ามายังกัชการ์ กองกำลังร่วมระหว่างชาวหุยและอุยกูร์แตกแยกกันอีกครั้ง กองกำลังชาวหุยภายใต้การนำของหม่า จั้นคัง (馬占倉) เข้าเป็นพันธมิตรกับหม่า เช่าอู่ (馬紹武) โจมตีทหารอุยกูร์และฆ่าติมูร์ เบก ต่อมา เกิดกบฏชาวคีร์กิซในซินเจียง หม่า เช่าอู่ ปราบกบฏได้สำเร็จ โดยสหภาพโซเวียตเข้ามามีบทบาทด้วย

การสถาปนาสาธารณรัฐ[แก้]

การประกาศเอกราชของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ในกัชการ์

สมาคมเอกราชเตอร์กิสถานตะวันออกได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ "เอกราช"(Istqlāl)[1]

ในทางใต้ของที่ราบตาริมแห่งโคตาน สามพี่น้องจากตระกูลบูคราคือ มูฮัมหมัด อามิน บูครา อับดุลลอห์ บูครา และนูร์ อะหมัด ยาน บูครา ซึ่งได้รับการศึกษาเกี่ยวกับลัทธิยาดิดิสต์ ได้เป็นผู้นำก่อกบฏในเหมืองทองใกล้เมืองเกริยา และได้ตั้งตนเองเป็นเอมีร์แห่งเอมิเรตส์โคตานและประกาศเอกราชจากจีนเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2475 ผู้นำเหมืองทองแห่งการากัชได้แจ้งข่าวนี้ไปยังจิน ชู่เหริน ผู้ปกครองและทหารชาวจีนถูกทำลายล้าง ชาวจีนส่วนน้อยในบริเวณนั้นถูกบังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม มิฉะนั้นจะถูกประหารชีวิต ต่อมา มูฮัมหมัด อามีน บูคราได้ตั้งสำนักงานกิจการกัชการ์แห่งรัฐบาลโคตานในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2476 และในปลายปีนั้นได้เปลี่ยนเป็นสมาคมเอกราชเตอร์กิสถาน โดยมีแนวคิดหลักคือปฏิรูปศาสนาอิสลาม ชาตินิยม และลัทธิยาดิดิสต์

ผู้นำของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ซาบิต ดาโมลลอ ได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกโดยมีโฮยา-นิยาซเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพของเชิ่ง ชี่ไขในซินเจียงเหนือ คำประกาศแถลงการณ์จัดตั้งนั้นแสดงให้เห็นว่าต่อต้านคนจีนและจีนมุสลิม

โฮยา-นิยาซ (พ.ศ. 2432 - 2484?) ประธานาธิบดีของสาธารณัฐเตอร์กิสถานตะวันออก (พ.ศ. 2476 - 2477) รองผู้ว่าการจังหวัดซินเจียง (พ.ศ. 2477 - 2480)

ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 สาธารณรัฐเอกราช (สาธารณรัฐอิสลามเตอร์กีซแห่งเตอร์กิสถานตะวันออกหรือสาธารณรัฐอุยกูร์สถาน) ได้ประกาศก่อตั้งขึ้นในวันนี้ โดยการประกาศจัดตั้งขึ้นในตอนเช้าวันอาทิตย์ที่บริเวณแม่น้ำตูมัน นอกเมืองกัชการ์ มีผู้เข้าร่วมเป็นทหาร 7,000 คน และพลเรือน 13,000 คน รวมทั้งครูและนักเรียน จากนั้นได้มีปาฐกถาที่มัสยิดอิดกะห์ โดยมีซาบิด ซามุลลอห์เป็นผู้พูดหลัก การจัดตั้งนี้แตกต่างจากเอมิเรตส์โคตาน สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกอ้างสิทธิในพื้นที่จากอักซูตามแนวขอบเขตของที่ราบทาริม ไปถึงโคตานทางทิศใต้ ที่จริงแล้ว รัฐบาลกัชคาร์ขาดแคลนทรัพยากร มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และถูกล้อมรอบด้วยกองกำลังที่ไม่เป็นมิตร ทั้งกองกำลังของชาวหุย นำโดย หม่า จั้นคัง แม้จะประกาศจัดตั้งเป็นสาธารณรัฐหลายเชื้อชาติ สะท้อนให้เห็นจากชื่อเตอร์กิสถานตะวันออก ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลชุดแรกได้สร้างเหรียญกษาปต์ ซึ่งสลักชื่อสาธารณรัฐอุยกูร์สถาน (Uyghurstan Jumhuriyiti) ในเอกสารบางแห่งใช้ชื่อว่าสาธารณรัฐอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก ซึ่งเน้นถึงภาพลักษณ์อิสลาม แต่ในรัฐธรรมนูญระบุว่าชะรีอะห์เป็นกฎหมายที่แนะนำ รูปแบบการค้าเน้นการปฏิรูปและพัฒนา ในรัฐธรรมนูญเน้นการปฏิรูปด้านสุขภาพ การศึกษา และเศรษฐกิจ การประกาศเอกราชของเตอร์กิสถาน ได้วางรูปแบบทางการเมืองภายใต้หลักการ 9 ข้อคือ

  1. สิ้นสุดการปกครองแบบเผด็จการของจีนในแผ่นดินเตอร์กิสถานตะวันออก
  2. ก่อตั้งสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกที่เป็นอิสระและเป็นเอกราช ตั้งอยู่บนความเท่าเทียมกันของทุกเชื้อชาติ
  3. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของเตอร์กิสถานอย่างเต็มที่ สนับสนุนอุตสาหกรรม การเกษตร ปศุสัตว์ และธุรกิจเอกชน เพิ่มมาตรฐานการครองชีพของประชาชน
  4. เพราะประชากรส่วนใหญ่ของเตอร์กิสถานเชื่อในศาสนาอิสลาม รัฐบาลจะสนับสนุนศาสนานี้ แต่ให้เสรีภาพทางศาสนาสำหรับผู้นับถือศาสนาอื่น
  5. พัฒนามาตรฐานทางการศึกษา วัฒนธรรม และสุขภาพในเตอร์กิสถานตะวันออก
  6. พัฒนาความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตยในโลกและประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะสหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต ตุรกีและจีน
  7. เพื่อปกป้องสันติภาพในเตอร์กิสถานตะวันออก จะเกณฑ์ประชาชนจากทุกเชื้อชาติเพื่อก่อตั้งกองทัพที่แข็งแกร่ง
  8. ธนาคาร บริการไปรษณีย์ โทรศัพท์และโทรเลข ป่าไม้และทรัพยากรที่มีค่าเป็นของชาติ
  9. สิ้นสุดแนวคิดปัจเจกนิยม แนวคิดเจ้าขุนมูลนาย ชาตินิยมและฉ้อราษฎร์บังหลวงในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐบาล

ความพยายามของเตอร์กิสถานตะวันออกให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติล้มเหลว สาธารณรัฐได้ส่งคณะทูตนำโดยนายกรัฐมนตรี ซาอิต ดาโมลลา ไปเยือนสหภาพโซเวียต อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกีและบริติชอินเดีย สหภาพโซเวียตปฏิเสธที่จะทำงานกับกลุ่มนิยมอิสลาม ในคาบูล ตัวแทนจากกัชคาร์เข้าพบพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ของอัฟกานิสถาน โมฮัมหมัด ซาอีร ชาห์ และนายกรัฐมนตรี ซาร์ดาร์ โมฮัมเหม็ด ฮาซิม ข่าน เพื่อขอความช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านอาวุธ แต่ทั้งสองต้องการรักษาความเป็นกลางและไม่ต้องการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของจีน ประเทศอื่นๆแสดงปฏิกิริยาในลักษณะเดียวกัน ปฏิเสธที่จะต้อนรับคณะทูตในฐานะตัวแทนจากประเทศเอกราช ไม่มีอำนาจใดในบริเวณนั้นต้องการท้าทายกับสหภาพโซเวียตและจีนในทางการเมืองและไปพัวพันกับการสู้รบที่นองเลือดในซินเจียง ทำให้สาธารณรัฐใหม่มีโอกาสน้อยที่จะอยู่รอด

กองทัพแห่งชาติ[แก้]

กองทัพแห่งชาติของสาธารณรัฐอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก ก่อตั้งเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 เริ่มต้นประกอบด้วยสองแผนก มีทหารแผนกละประมาณ 22,000 คน คือแผนกเกวชเกวอร์ และแผนกโคตาน แต่ขนาดที่แท้จริงของกองทัพแห่งชาตินั้นไม่ทราบ โดยเอกสารของสหภาพโซเวียตระบุว่ามีราว 40,000 - 60,000 คน

การสิ้นสุด[แก้]

ในทางเหนือ ความช่วยเหลือได้มาถึงกองทัพ เชิ่ง ชี่ไข่ เมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2477 ในรูปแบบของกองพลสหภาพโซเวียต 2 กองพลคืออัลไตสกายาและตาร์บาคาไตสกายา ซึ่งเรียกว่ากองพลอาสาอัลไตรัสเซียขาว และกองทัพแดงของนายพลโวลกิน (ต่อมาตือมาร์แชล เรียบัลโก) ในการรุกรานซินเจียงของสหภาพโซเวียต การรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น และสนับสนุนกองกำลังชาวหุยของหม่า จงยิง เป็นสาเหตุทำให้โจเซฟ สตาลินเกิดความกังวลและเกรงว่าการเกิดกบฏในซินเจียงจะแพร่กระจายมาสู่สาธารณรัฐโซเวียตในเอเชียกลางและกบฏบัสมาชีของชาวมุสลิมเติร์ก ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างซินเจียงและสหภาพโซเวียตทำให้โซเวียตมีเหตุผลที่จะสนับสนุนเชิ่ง กาเรกิน อาเปรซอฟ นายพลที่ปรึกษาของโซเวียตในอูรุมชีได้กล่าวต่อเชิ่งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 ว่า “คุณสามารถพัฒนามณฑลและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีเชื้อชาติต่างกัน พัฒนาวัฒนธรรมของพวกเขา แต่ถ้าคุณปล่อยกบฏมุสลิมให้สร้างรัฐเอกราชทางใต้ของมณฑล เปลี่ยนเป็นแมนจูเรียแห่งที่สองหลังบ้านของโซเวียต เราจะไม่มองอยู่ด้านนอก แต่เราต้องเริ่มที่จะทำ” การร้องขอความช่วยเหลือทางทหารของเชิ่งเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2476 เชิ่งได้จับกุมนายพลปาเปนกุตของฝ่ายรัสเซียขาวซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านโซเวียต และประหารชีวิตตามคำขอของอาเปรชอพและให้นายพลเบกเตเยฟที่เป็นกลางขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองทัพรัสเซียขาวในซินเจียง ซึ่งเป็นการเปิดทางให้ซินเจียงรุกรานเข้ามาในซินเจียง

จาง เปยยวน นายพลของชาวจีนฮั่นซึ่งบัญชาการทหารจีนฮั่นในอีลีเสนอให้มีการเจรจากับ หม่า จ้งยิ้งและวางแผนที่จะร่วมมือกับหม่าเพื่อโจมตีอุรุมชีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2476 ในตอนแรก จางยึดถนนระหว่างตาเชิงและอูรุมชี แต่ตัดสินใจกลับสู่คุลยาหลังจากได้รับข้อความเกี่ยวกับการเข้ายึดเมืองโดยกองพลอาสาอัลไตจากรัสเซีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหภาพโซเวียตเข้าเมืองได้ หลังจากมาถึงคุลยา เขาถูกล้อมที่ภูเขา กองทัพของเขาถูกล้อมปราบที่ช่องมูซาร์ตที่เทือกเขาเทียนซาน และหนีไปยังซินเจียงใต้ใกล้กับอักซู จาง เปยยวนฆ่าตัวตาย หม่า จ้งยิ้งโจมตีอูรุมชีตามแผนทำให้เชิ่งประหลาดใจ หม่าเข้ายึดสถานีโทรเลขและล้อมเมืองไว้ แต่ไม่ได้รับสัญญาณว่าจะมาช่วยจากกองทัพอีลีของจาง เปยยวน ทำให้หม่าไม่สามารถยึดเมืองได้ในสัปดาห์แรก การสู้รบของหม่าที่อูรุมชีทำให้เขาได้รับการจดจำจากรัฐบาลนานกิงว่าเป็นผู้ปกครองซินเจียงโดยสมบูรณ์ ทหารโซเวียตที่มีกองกำลังทางอากาศสนับสนุนได้บีบให้ทหารของหม่าต้องออกจากอูรุมชีและหนีลงไปทางใต้ ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 การยึดครองอูรุมชีล้มเหลว เชิ่งถูกปล่อยตัวพร้อมทั้งทหารรัสเซียและแมนจูเรียของเขาที่ถูกหม่าปิดล้อมตั้งแต่ 13 มกราคม พ.ศ. 2476

โคยา นิยาซ ฮัจญีมาถึงกัชการ์พร้อมด้วยทหาร 1,500 นาย ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2476 เพื่อเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก ต่อต้านสิ่งท่เราทำร่วมกับเชิ่ง โดยมาถึงพร้อมกับผู้นำชาวอุยกูร์อื่นๆจากตะวันออก มะห์มุต มูฮีตีมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก ซาบิต ดาโมลลอ เป็นนายกรัฐมนตรี ดาโมลลอให้นิยาซอยู่อย่างเป็นอิสระในเมืองเก่าของกัชการ์ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่ของผู้บริหารชาวจีนในซินเจียงใต้ และร้องขอให้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ ในจดหมายที่เขียนถึงรัฐบาลกลางที่นานกิง นิยาซอธิบายการตัดสินใจโดยเน้นข้อเท็จจริงว่าเขายอมรับการตัดสินใจของสภาประชาชนแห่งสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกและเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐจีน พ.ศ. 2455 ที่ให้สิทธิห้าชนชาติในจีนปกครองตนเอง เขาได้เสนอหลักการ 5 ข้อในการปกครองตนเองของสาธารณรัฐ ได้แก่

  1. ซินเจียงทั้งหมดเป็นของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก
  2. การปกครองและเศรษฐกิจดำเนินการโดยคนท้องถิ่น
  3. ประชาชนที่อยู่ในสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกมีสิทธิ์จะได้รับการศึกษา การค้า และการสร้างชาติใหม่
  4. ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ โคยา นิยาซจะสร้างรัฐบาลเพื่อความสุขของประชาชน
  5. สาธารณรัฐจะดำเนินการตามแบบสังคมสมัยใหม่

โคยา นิยาซเสนอธงชาติของสาธารณรัฐ ลักษณะคล้ายธงชาติตุรกีแต่พื้นเป็นสีฟ้า แทนธงเดิมที่เป็นธงพื้นขาวมีดาวเดือนเสี้ยวสีฟ้าและชาฮาดาห์ อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกจัดเป็นรัฐอายุสั้น กองทัพหุยยกมาจากทางเหนือโดยร่วมมือกับหม่า จั้นคังในกัชการ์และก๊กมินตั๋งในนานกิงโจมตีสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก นิยาซ ดาโมลลอและคณะรัฐบาลคนอื่นๆลี้ภัยออกไปในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 ไปยังเยวี ฮิซซาร์ที่อยู่ทางใต้ กองทัพหุยฆ่าคนที่ยังเหลือและจับกุมคนที่รอดชีวิตทำให้สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกสิ้นสุดลง กองทัพหุยโจมตีกองทัพชาวอุยกูร์และคีร์กิซของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกในการทัพกัชการ์เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2476 การทัพยาร์คานในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2476 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2477 และการทัพยันกี ฮิซซาร์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2476 หม่า จ้งยิงได้ทำลายสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกอย่างสมบูรณ์

มะห์มุต มูฮีตีได้นำกองทัพที่เหลือไปยังยาร์คานและโฮตัน ขณะที่นิยาซได้เดินทางไปยังชายแดนระหว่างสหภาพโซเวียดกับจีน เขาขอลี้ภัยในโซเวียตและร่วมมือกับโซเวียต ต่อมา เขาไปพบคณะรัฐมนตรีของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกในเมืองเยวี ฮิซซาร์เมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2476 ในวันถัดมา เขาถูกปฏิเสธจากจากคณะรัฐมนตรีของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออกและถูกหาว่าเป็นผู้ทรยศต่อชาติ

กองทัพของหุยและก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้แก่กองทัพของเชิ่ง ทำให้เชิ่งมีอำนาจในซินเจียงเหนือโดยมีโซเวียดสนับสนุน นิยาซได้ปกครองรัฐบาลปกครองตนเองในซินเจียงใต้ซึ่งเดิมมีที่มั่นในอักซู ต่อมาย้ายไปอูรุมชี การปกครองระบบใหม่ของเชิ่งเกิดขึ้นในซินเจียงที่ถือเป็นประตูหลังของจีน โดยสตาลินถือว่าดินแดนนี้เป็นประตูหลังของโซเวียตด้วย เขาได้บริหารซินเจียงโดยเน้นนโยบายแปดจุดและนโยบายยิ่งใหญ่หกประการ ได้แก่ ต่อต้านจักรวรรดินิยม เป็นมิตรกับโซเวียต ความเท่าเทียมทางเชื้อชาติ รัฐบาลที่สะอาดและต่อต้านคอรัปชัน รักษาสันติภาพ สร้างซินเจียงใหม่ นโยบายนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ในธงใหม่ของมณฑลซินเจียง ที่มีดาวสีเหลือง 6 ดวง บนพื้นสีแดง ที่ใช้เป็นทางการระหว่าง พ.ศ. 2476 - 2486

อ้างอิง[แก้]

  1. Dudolgnon, (5 November 2013). Islam In Politics In Russia. Routledge. pp. 362–. ISBN 978-1-136-88878-6.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  • James A. Millward and Nabijan Tursun, "Political History and Strategies of Control, 1884–1978" in Xinjiang: China's Muslim Borderland (ISBN 0-7656-1318-2).
  • Michael Zrazhevsky, "Russian Cossacks in Sinkiang". Almanach "The Third Rome", Russia, Moscow, 2001
  • Sven Hedin, "The flight of Big Horse". New York, 1936.
  • Burhan Shahidi 包尔汗, Xinjiang wushi nian 新疆五十年 [Fifty Years in Xinjiang], (Beijing, Wenshi ziliao, 1984).
  • Clubb, O. E., China and Russia: The "Great Game". (NY, Columbia, 1971).
  • Forbes, A. D. W. Warlords and Muslims in Chinese Central Asia: A Political History of Republic Sinkiang, 1911–1949 (Cambridge, Cambridge University Press, 1986).
  • Hasiotis, A. C. Jr. Soviet Political, Economic and Military Involvement in Sinkiang from 1928 to 1949 (NY, Garland, 1987).
  • Khakimbaev A. A., "Nekotorye Osobennosti Natsional’no-Osvoboditel’nogo Dvizheniya Narodov Sin’tszyana v 30-kh i 40-kh godakh XX veka" [Some Characters of the National-Liberation Movement of the Xinjiang Peoples in 1930s and 1940s], in Materialy Mezhdunarodnoi Konferentsii po Problemam Istorii Kitaya v Noveishchee Vremya, Aprel’ 1977, Problemy Kitaya (Moscow, 1978) pp. 113–118.
  • Lattimore, O., Pivot of Asia: Sinkiang and the Inner Asian Frontiers of China (Boston, Little, Brown & Co., 1950).
  • Rakhimov, T. R. "Mesto Bostochno-Turkestanskoi Respubliki (VTR) v Natsional’no-Osvoboditel’noi Bor’be Narodov Kitaya" [Role of the Eastern Turkestan Republic (ETR) in the National Liberation Struggle of the Peoples in China], A paper presented at 2-ya Nauchnaya Konferentsiya po Problemam Istorii Kitaya v Noveishchee Vremya, (Moscow, 1977), pp. 68–70.
  • Wang, D., "The USSR and the Establishment of the Eastern Turkestan Republic in Xinjiang", Journal of Institute of Modern History, Academia Sinica, Taipei, vol. 25 (1996) pp. 337–378.
  • Whiting, A. S., and Sheng Shih-ts’ai, Sinkiang: Pawn or Pivot? (Michigan, East Lansing, 1958).