ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐเช็กโก-สโลวาเกีย

Česko-Slovenská republika  (เช็ก)
1938–1939
คำขวัญPravda vítězí / Pravda víťazí
"ความจริงมีชัย"
เพลงชาติ
"นาดทาโทรซาบลีซกา"
สายฟ้าเหนือเขาทาทราส
เชโกสโลวาเกียในช่วงต้น ค.ศ. 1939
เชโกสโลวาเกียในช่วงต้น ค.ศ. 1939
สถานะรัฐตกค้าง
เมืองหลวงปราก
ภาษาทั่วไปเชโกสโลวัก
การปกครองลัทธิอำนาจนิยม สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
ประธานาธิบดี 
• 1938–1939
แอมีล ฮาชา
นายกรัฐมนตรี 
• 1938
ยาน ซีโรวี
• 1938–1939
รูดอล์ฟ แบราน
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงคราม
30 กันยายน 1938
15 มีนาคม 1939
สกุลเงินโครูนาเชโกสโลวัก
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1
โบฮีเมีย–มอเรเวีย
รัฐสโลวัก
คาร์เพเทีย-ยูเครน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเช็กเกีย
สโลวาเกีย
ยูเครน

สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่สอง (เช็ก: Druhá československá republika, สโลวัก: Druhá česko-slovenská republika) ดำรงอยู่เป็นระยะเวลา 169 วัน ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 ถึงวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939 เป็นการรวมสหภาพกันระหว่างโบฮีเมีย มอเรเวีย ไซลีเชีย ภูมิภาคปกครองตนเองสโลวาเกียและซับคาร์เพเทียรุส (ซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนชื่อเป็นคาร์เพเทีย-ยูเครนเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1938[1])

สาธารณรัฐที่สองมีจุดเริ่มต้นจากผลลัพธ์ที่ตามมาภายหลังความตกลงมิวนิก ที่เชโกสโลวาเกียถูกบังคับให้ยกภูมิภาคซูเดเทินลันท์แก่เยอรมนีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1938 ต่อมารัฐบาลเยอรมนีได้ชี้แจงต่อนักการทูตต่างชาติว่าในขณะนี้เชโกสโลวาเกียได้กลายเป็นรัฐบริวารของเยอรมนีแล้ว รัฐบาลเชโกสโลวาเกียพยายามเอาใจเยอรมนี โดยการสั่งห้ามพรรคคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ สั่งพักงานครูชาวยิวทุกคนในสถาบันการศึกษาของชาวเยอรมันในเชโกสโลวาเกีย และออกกฎหมายเพื่อให้รัฐสามารถเข้าครอบครองบริษัทชาวยิวได้[2] นอกจากนี้ รัฐบาลยังอนุญาตให้ธนาคารของประเทศอยู่ภายใต้การควบคุมระหว่างเยอรมนี-เชโกสโลวาเกีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[2] เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ด้วยรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง เป็นผลทำให้ทางตอนใต้ของสโลวาเกียและซับคาร์เพเทียรูเทเนียถูกยกให้ฮังการี

สาธารณรัฐที่สองถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการเมื่อเยอรมนีเข้าบุกครองในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939 และผนวกภูมิภาคเช็กเข้าเป็นรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย ในวันเดียวกันนั้น ประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียแอมีล ฮาชา ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานแห่งรัฐ (State President) โดยรัฐบาลเยอรมนี ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

"ถึงจะเล็ก แต่ก็ยังเป็นของเรา" – แผนที่ร่วมสมัยสาธารณรัฐที่สอง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rychlík & Rychlíková 2016.
  2. 2.0 2.1 Crowhurst, Patrick. Hitler and Czechoslovakia in World War II: Domination and Retaliation. pp. 83–84.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Gebhart, J.; Kuklík, J. (2004). Druhá republika 1938–1939 (ภาษาเช็ก). Prague: Litomyšl. ISBN 9788071856269.
  • Kennan, G. F. (1968). From Prague after Munich: Diplomatic Papers, 1938–1939. Princeton University Press. ISBN 9780691010632.
  • Rychlík, J.; Rychlíková, M. (2016). Podkarpatská Rus v dějinách Československa, 1918–1946 (ภาษาเช็ก). Prague: Vyšehrad. ISBN 9788074295560.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]