สันติภาพโรมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขอบเขตของจักรวรรดิโรมันในสมัยจักรพรรดิเอากุสตุส สีเหลืองคือสมัยสาธารณรัฐใน 31 ปีก่อน ค.ศ. ส่วนสีเขียวสื่อถึงดินแดนที่พิชิตในสมัยเอากุสตุส และสีชมพูคือรัฐบริวาร

ปากส์โรมานา (ละติน: Pax Romana; แปลว่า "สันติภาพโรมัน") เป็นช่วงเวลาเกือบ 200 ปีของประวัติศาสตร์โรมันที่ถือเป็นยุคสมัยและยุคทองจากจักรวรรดินิยมโรมันที่เพิ่มขึ้นและยั่งยืน สันติภาพและความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพที่รุ่งเรือง การมีอำนาจครอบงำ และการขยายในภูมิภาค แม้จะมีการปฏิวัติและสงครามหลายครั้ง และยังคงแข่งขันกับพาร์เธียอย่างต่อเนื่อง ตามธรรมเนียม ยุคนี้เริ่มตั้งแต่การขึ้นครองอำนาจของจักรพรรดิเอากุสตุส ผู้ก่อตั้งปรินซิเปตโรมัน ใน 27 ปีก่อน ค.ศ. และสิ้นสุดที่ ค.ศ. 180 ด้วยการเสียชีวิตของจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส หนึ่งใน "ห้าจักรพรรดิที่ดี" องค์สุดท้าย[1] เนื่องจากเป็นสมัยที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิเอากุสตุสในช่วงปลายของสงครามสุดท้ายในสาธารณรัฐโรมัน ทำให้บางครั้งมีการเรียกเป็น ปากส์เอากุสตา (Pax Augusta) ในช่วงสมัยนี้ที่กินระยะเวลาเกือบ 2 ศตวรรษ[2] จักรวรรดิโรมันขยายดินแดนถึงจุดสูงสุด และประชากรพุ่งสูงสุดถึง 70 ล้านคน เทียบเท่ากับประชากรโลกที่ประมาณ 33%[3] กัสซีอุส ดีโอรายงานว่า สมัยเผด็จการของจักรพรรดิก็อมมอดุสที่เกิดขึ้นหลังปีแห่งห้าจักรพรรดิกับวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถือเป็นจุดเปลี่ยน "จากอาณาจักรทองคำไปเป็นอาณาจักรเหล็กและสนิม"[4]

ที่มาของคำ[แก้]

ความคิดเกี่ยวกับ “สันติภาพโรมัน” เสนอเป็นครั้งแรกโดยเอ็ดเวิร์ด กิบบอนในบทที่สองของหนังสือ “ประวัติศาสตร์ของความเสิ่อมโทรมและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน” ที่กิบบอนเรียกว่า “Roman Peace” กิบบอนเสนอว่าเป็นสมัยอันค่อนข้างราบรื่นในสมัยของเอากุสตุสและผู้ปกครองคนต่อ ๆ มา และเสนอว่าขุนพลโรมันที่ดำเนินนโยบายออกไปทางการขยายดินแดน เช่น เจอร์มานิกุส ถูกตรวจสอบและเรียกตัวกลับโดยจักรพรรดิระหว่างช่วงที่ได้รับชัยชนะ โดยนิยมที่จะรวมจักรวรรดิเข้าด้วยกันมากกว่าที่จะทำการขยายตัว กิบบอนกล่าวว่าการพิชิตบริเตนภายใต้การนำของจักรพรรดิเกลาดิอุสและการพิชิตดินแดนโดยทราจันเป็นข้อยกเว้นของนโยบายดังกล่าวที่พยายามรักษาสันติภาพ

สมัยสันติภาพโรมันมายุติลงในปี ค.ศ. 180 เมื่อจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสเสด็จสวรรคต[5] ระหว่างสมัยดังกล่าวจักรวรรดิโรมันขยายตัวไปรวมเนื้อที่ทั้งหมดราวห้าล้านตารางกิโลเมตร

อิทธิพลต่อการค้า[แก้]

การค้าในเมดิเตอร์เรเนียนของโรมันเพิ่มขึ้นเนื่องจากปากส์โรมานา ชาวโรมันแล่นเรือไปทางคะวันออกเพื่อแสวงหาหาผ้าไหม อัญมณี โอนิกซ์ และเครื่องเทศ ชาวโรมันได้รับผลประโยชน์จากผลกำไรและรายได้ในจักรวรรดิโรมันจำนวนมากเพิ่มขึ้นจากการค้าขายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[6][7]

เนื่องจากปากส์โรมานาในโลกตะวันตกของโรมส่วนใหญ่เกิดร่วมสมัยกับปากส์ซีนีกาในโลกตะวันออกของจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น[8][9] ทำให้การเดินทางและการค้าทางไกลในประวัติศาสตร์ยูเรเชียยุคนั้นได้รับการกระตุ้นอย่างมาก[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Pax Romana". Britannica Online Encyclopedia.
  2. Head, Tom (2017-10-03). World History 101: From Ancient Mesopotamia and the Viking Conquests to NATO and WikiLeaks, an Essential Primer on World History (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. p. 85. ISBN 978-1-5072-0454-2.
  3. "The Pax Romana". www.ushistory.org. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
  4. Dio Cassius 72.36.4, Loeb edition translated E. Cary
  5. Head, Tom (3 ตุลาคม 2017). World History 101: From Ancient Mesopotamia and the Viking Conquests to NATO and WikiLeaks, an Essential Primer on World History (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. p. 85. ISBN 978-1-5072-0454-2.
  6. Temin, Peter (2013). The Roman market economy (ภาษาอังกฤษ). Princeton: Princeton University Press. p. 13. ISBN 9780691147680. OCLC 784708336.
  7. Goldsworthy, Adrian Keith (2016). Pax Romana : war, peace, and conquest in the Roman world. New Haven: Yale University Press. p. 392. ISBN 9780300178821. OCLC 941874968.
  8. Plott, John C. (1989). Global History of Philosophy. Delhi: Motilal Banarsidass. p. 57. ISBN 9788120804562.
  9. 9.0 9.1 Krech III, Shepard; Merchant, Carolyn; McNeill, John Robert, บ.ก. (2004). Encyclopedia of World Environmental History. Vol. 3: O–Z, Index. Routledge. pp. 135–. ISBN 978-0-415-93735-1.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]