พญาสัตบรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สัตบรรณ)

พญาสัตบรรณ
พญาสัตบรรณ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: แอสเทอริด
อันดับ: ดอกหรีดเขา
วงศ์: วงศ์ตีนเป็ด
สกุล: Alstonia
(L.) R.Br.
สปีชีส์: Alstonia scholaris
ชื่อทวินาม
Alstonia scholaris
(L.) R.Br.
ข้อมูลรายการจาก GBIF[2]
ชื่อพ้อง[3]
  • Echites scholaris L.

พญาสัตบรรณ หรือ สัตบรรณ หรือ ตีนเป็ด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alstonia scholaris) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12–20 เมตร อยู่ในวงศ์ Apocynaceae มีถิ่นดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย [4] และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร

ลักษณะ[แก้]

เปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5–7 ใบ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูปมนแกมรูปบรรทัด ปลายใบเป็นติ่งเล็กน้อย ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีขาวนวล ถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 10–12 เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ปากท่อของกลีบดอกมีขนยาวปุกปุย ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ผลเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้น ๆ กลมเรียวยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็ก ๆ ติดอยู่กับขุยนั้น[5]


การกระจายตัว[แก้]

พญาสัตบรรณเป้นพืชที่พบในภูมิภาค ดังนี้:[3]

ต้นไม้ประจำจังหวัด[แก้]

สัตบรรณ ถือเป็นไม้มงคลของจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้รับพระราชทานพันธุ์ไม้ดังกล่าวจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดวันรณรงค์โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเพื่อความเป็นศิริมงคลของประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาครผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครจึงได้นำพันธุ์ไม้สัตบรรณพระราชทานมาปลูกเป็นปฐมฤกษ์ ในกิจกรรมวันปลูกต้นไม้ตาม โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2537 ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร จึงถือได้ว่าต้นสัตบรรณเป็นต้นไม้มงคลของจังหวัดสมุทรสาคร นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังเป็นต้นไม้ประจำเขตพญาไท ในกรุงเทพมหานครอีกด้วย[7]

การใช้ประโยชน์[แก้]

ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เปลือกต้นพญาสัตบรรณรักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ในประเทศอินเดียมีการนำส่วนต่าง ๆ ของต้น พญาสัตบรรณมาใช้เป็นพืชสมุนไพรเช่น ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคมาลาเรียในชื่อ Ayush-64 ซึ่งมีขายทั่วไป นำยางสีขาวและใบรักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ นอกจากนี้ ต้นพญาสัตบรรณยังเป็นแหล่งของสารอัลคาลอยด์ที่สาคัญ[4] ในบอร์เนียว นำเนื้อไม้ไปทำทุ่นของแหและอวน

พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดจากใบสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้[8] สารสกัดจากเปลือกลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญของข้าว ข้าวโพด คะน้า ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมันได้[9]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lakhey, P. & Pathak, J. (2021). "Alstonia scholaris". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T32295A2812825. สืบค้นเมื่อ 11 November 2022.
  2. GBIF.org (07 June 2018) GBIF Occurrence Download https://doi.org/10.15468/dl.eokqvq Alstonia scholaris (L.) R.Br.
  3. 3.0 3.1 "Alstonia scholaris". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 2012-03-30.
  4. 4.0 4.1 ประไพรัตน์ สีพลไกร (มกราคม–มีนาคม 2012). "สารอินโดลอัลคาลอยด์และฤทธิ์ทางชีวภาพของต้นพญาสัตบรรณ" (PDF). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 14 (1): 54–65. eISSN 2697-4142. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 มีนาคม 2016.
  5. "23. การปลูกไม้เพื่อขุดขาย เป็นไม้ประดับเช่น ต้นคูณ,สัตตบรรณ,อื่น ๆ". kasetonline.net. กรมวิชาการเกษตร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2007.
  6. Simon Gardner, Pindar Sidisunthorn and Lai Ee May, 2011. Heritage Trees of Penang. Penang: Areca Books. ISBN 978-967-57190-6-6
  7. "ต้นไม้ประจำเขต". สำนักงานเขตพญาไท. 31 สิงหาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2016.
  8. ศานิต สวัสดิกาญจน์ สุวิทย์ เฑียรทอง เนาวรัตน์ ประดับเพ็ชร์ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และวริสรา ปลื้มฤดี (2553). ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 3–5 ก.พ. 2553. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 412–421. ISBN 978-616-7262-31-4.
  9. ศานิต สวัสดิกาญจน์ (2554). ผลของแอลลีโลพาธีของพืชสมุนไพร 6 ชนิดต่อการงอกและการเจริญเติบโตของถั่วเขียวผิวดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 1–4 ก.พ. 2554. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 419–428. ISBN 978-616-7522-01-2.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Alstonia scholaris ที่วิกิสปีชีส์