สังคมหลังอุตสาหกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แบบจำลองภาคเศรษฐกิจสหรัฐของคลาร์ก ค.ศ. 1850–2009[1]

ในวิชาสังคมวิทยา สังคมหลังอุตสาหกรรม (อังกฤษ: post-industrial society) เป็นขั้นพัฒนาการทางสังคมเมื่อภาคบริการสร้างความมั่งคั่งมากกว่าภาคเศรษฐกิจการผลิต

อาแล็ง ตูเรน นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ให้กำเนิดคำนี้ และคำนี้มีความสมัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิ่งสร้างทางทฤษฎีสังคมวิทยาที่คล้ายกันอย่างยุคหลังฟอร์ด (post-Fordism), สังคมสารสนเทศ, เศรษฐกิจความรู้, เศรษฐกิจหลังอุตสาหกรรม, สมัยใหม่ไหล (liquid modernity) และสังคมเครือข่าย ซึ่งคำทั้งหมดใช้ได้ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์หรือสังคมศาสตร์เป็นฉากหลังทางทฤษฎีทั่วไปในการออกแบบนโยบาย

เมื่อมีการใช้คำนี้ แก่นพบบ่อยบางอย่างเช่นด้านล่างนี้ก็เริ่มปรากฏ

  1. เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนผ่านการการผลิตสินค้าเป็นการจัดหาบริการ
  2. ความรู้กลายเป็นทุนที่มีมูลค่ารูปแบบหนึ่ง (ดู ทุนมนุษย์)
  3. การผลิตความคิดเป็นวิธีหลักในการทำให้เศรษฐกิจเติบโต
  4. คุณค่าและความสำคัญของเศรษฐกิจของเสื้อน้ำเงิน งานที่ตั้งสหภาพ รวมทั้งงานฝีมือ (เช่น งานสายการผลิต) เสื่อมถอยลง ส่วนงานวิชาชีพ (เช่น นักวิทยาศาสตร์ วิชาชีพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และวิชาชีพไอที) มีคุณค่าและพบมากขึ้น
  5. มีการพัฒนาและรับไปใช้ซึ่งวิทยาศาสตร์และทคโนโลยีด้านพฤติกรรมและสารสนเทศ (เช่น เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม สถาปัตยกรรมสารสนเทศ ไซเบอร์เนติกส์ ทฤษฎีเกมและทฤษฎีสารสนเทศ)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Who Makes It? Clark's Sector Model for US Economy 1850-2009". สืบค้นเมื่อ 29 December 2011.