ข้ามไปเนื้อหา

สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน
อักษรจีนตัวย่อ中国特色社会主义
อักษรจีนตัวเต็ม中國特色社會主義
ฮั่นยฺหวี่พินอินZhōngguó tèsè shèhuìzhǔyì

สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน (จีน: 中国特色社会主义; พินอิน: Zhōngguó tèsè shèhuìzhǔyì; Mandarin pronunciation: [ʈʂʊ́ŋ.kwǒ tʰɤ̂.sɤ̂ ʂɤ̂.xwêi.ʈʂù.î] ) เป็นชุดทฤษฎีการเมืองและนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ผู้สนับสนุนมองว่าเป็นการปรับลัทธิมากซ์ให้เข้ากับสถานการณ์ของประเทศจีน

ศัพท์ดังกล่าวริเริ่มโดยเติ้ง เสี่ยวผิงเมื่อ ค.ศ. 1982 และมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับโครงการโดยรวมของเติ้งในการนำองค์ประกอบของระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมาใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเติบโตโดยใช้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเพื่อเพิ่มผลผลิต (โดยเฉพาะในชนบทที่ประชากรจีนร้อยละ 80 อาศัยอยู่) ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงรักษาทั้งพันธะสัญญาอย่างเป็นทางการในการบรรลุเป้าหมายลัทธิคอมมิวนิสต์และการผูกขาดอำนาจทางการเมือง[1] ในเรื่องเล่าอย่างเป็นทางการของพรรค สังคมนิยมอัตลักษณ์จีนคือลัทธิมากซ์ที่ปรับให้เข้ากับสภาพการณ์ของจีนและเป็นผลผลิตของสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีดังกล่าวระบุว่าจีนอยู่ในขั้นต้นของสังคมนิยมเนื่องจากระดับความมั่งคั่งทางวัตถุค่อนข้างต่ำและจำเป็นต้องมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจก่อนจะแสวงหาสังคมนิยมในรูปแบบที่เสมอภาคมากขึ้น ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ตามที่อธิบายไว้ในลัทธิมากซ์ออร์ทอดอกซ์[2]

สังคมนิยมอัตลักษณ์จีนนั้นมีองค์ประกอบหลักคือแนวทาง ทฤษฎี ระบบ และวัฒนธรรม โดยแนวทางจะระบุถึงนโยบายที่ชี้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทฤษฎีนี้ประกอบด้วยทฤษฎีของเติ้ง เสี่ยวผิง สามตัวแทน (เจียง เจ๋อหมิน) ทัศนะการพัฒนาวิทยาศาสตร์ (หู จิ่นเทา) และความคิดของสี จิ้นผิง ตามหลักคำสอนของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ความคิดของสี จิ้นผิงถือเป็นนโยบายของลัทธิมากซ์–เลนินที่เหมาะกับสภาพปัจจุบันของจีน ขณะที่ทฤษฎีของเติ้ง เสี่ยวผิงถือว่ามีความเหมาะสมในช่วงเวลาที่ถูกกำหนดขึ้น ระบบนี้เป็นเค้าโครงของระบบการเมืองของจีน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Xiaoping, Deng (1 October 1984). "Building Socialism with a Specifically Chinese Character". People's Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
  2. "Deng Xiaoping: Let part of people get rich first". Shanghai Fengqi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2021. สืบค้นเมื่อ 17 July 2020.