ข้ามไปเนื้อหา

สะพานเออเรซุนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานเออเรซุนด์
ภาพถ่ายสะพานเมื่อปี 2015 จากอากาศยาน
พิกัด55°34′31″N 12°49′37″E / 55.57528°N 12.82694°E / 55.57528; 12.82694
เส้นทางสี่ช่องทางเดินรถของอี 20 ยุโรป
สายเออเรซุนด์รางคู่
ข้ามช่องแคลเออเรซุนด์
ที่ตั้งโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก กับ มัลเมอ ประเทศสวีเดน
ชื่อทางการØresundsbron (โดยบริษัทก่อสร้าง), Øresundsbroen (ภาษาเดนมาร์ก), Öresundsbron (ภาษาสวีเดน)
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานขึง
ความยาว7,845 เมตร (25,738 ฟุต)
ความกว้าง23.5 เมตร (77.1 ฟุต)
ความสูง204 เมตร (669 ฟุต)
ช่วงยาวที่สุด490 เมตร (1,608 ฟุต)
เคลียร์ตอนล่าง57 เมตร (187 ฟุต)
ประวัติ
ผู้ออกแบบJorgen Nissen, Klaus Falbe Hansen, Niels Gimsing และ Georg Rotne
ออกแบบวิศวกรรมOve Arup & Partners
Setec
ISC
Gimsing & Madsen
ผู้สร้างHochtief, Skanska, Højgaard & Schultz และ Monberg & Thorsen
วันเริ่มสร้าง1995
วันสร้างเสร็จ1999
งบก่อสร้าง19.6 พันล้าน DKK
25.8 พันล้าน SEK
2.6 พันล้าน EUR
วันเปิด1 กรกฎาคม 2000
สถิติ
การจราจรโดยเฉลี่ยยานยนต์เฉลี่ย 18,954 ต่อวัน (2014)[1]
ค่าผ่านDKK 390, SEK 460 หรือ EUR 65
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานเออเรซุนด์ (เดนมาร์ก: Øresundsbroen [ˈøːɐsɔnsˌpʁoˀn̩]; สวีเดน: Öresundsbron [œrɛˈsɵ̂nːdsˌbruːn]; ชื่อผสมผสาน: Øresundsbron) เป็นสะพานทางยกระดับและสะพานรถไฟข้ามช่องแคบเออเรซุนด์ ระหว่างเดนมาร์กกับสวีเดน ถือเป็นสะพานทางเดินรถและรางรวมกันที่ยาวที่สุดในทวีปยุโรป ด้วยความนาวเกือบ 8 กิโลเมตร (5 ไมล์) จากชายฝั่งของเมืองมัลเมอ ประเทศสวีเดน ไปยังเกาะเพอเบอร์ฮ็อล์มที่มนุษย์สร้างขึ้น ตั้งอยู่ใจกลางช่องแคบ การข้ามช่องแคบยังต้องใช้ระยะทางอีก 4-กิโลเมตร (2.5-ไมล์) ผ่านไปทางอุโมงค์ดรอยเดินต่อเข้าไปยังเกาะอามาเยอร์ในประเทศเดนมาร์ก

สะพานเชื่อมต่อระบบถนนและระบบรางของคาบสมุทรสแกนดิเนเวียเข้ากับยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก นอกจากนี้สะพานยังมีการติดตั้งสายส่งสัญญาณข้อมูลที่เป็นกระดูกสันหลังของการเชื่อมต่อข้อมูลอินเทอร์เน็ตระหว่างสวีเดนกับยุโรปกลาง[2] ถนนของสะพานเป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนยุโรปสายอี 20 ส่วนรางเป็นส่วนหนึ่งของสายเออเรซุนด์

สะพานเป็นผลงานออกแบบโดย Jorgen Nissen และ Klaus Falbe Hansen จาก Ove Arup and Partners และ Niels Gimsing กับ Georg Rotne[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข้อมูลปี 2014: จักรยานยนต์ 34,087 คัน, รถยนต์ส่วนยุคคล 6,217,111, รถตู้ 194,495 คัน, รถบัส 50,362 คัน, รถบรรทุก 422,222 คัน, รวม 6,918,277 คัน Trafikstatistik (oresundsbron.com) เก็บถาวร 12 สิงหาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "New Baltic data cable plan unfolding". Yle yhtiönä. 11 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2013. สืบค้นเมื่อ 12 December 2013. According to current plans, the undersea optic fibre cable would run directly from Germany to Finland. Haavisto said that the project could make Finland a significant international data hub. So far, all data transmission to Finland has taken place via the Øresund Bridge, that is through Denmark and Sweden.
  3. Jorgen Nissen; Georg Rotne (1999). "Getting the balance right. The Øresund Bridge - Design". structurae.net: 417–426. doi:10.5169/seals-62105.