สะพานมาร์โก โปโล

พิกัด: 39°50′57″N 116°12′47″E / 39.84917°N 116.21306°E / 39.84917; 116.21306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สะพานมาร์โคโปโล)
สะพานหลูโกว
盧溝橋
พิกัด39°50′57″N 116°12′47″E / 39.84917°N 116.21306°E / 39.84917; 116.21306
ที่ตั้งเขตเฟิงไถ ปักกิ่ง
ชื่ออื่นสะพานมาร์โก โปโล
ข้อมูลจำเพาะ
ความยาว266.5 เมตร
ความกว้าง9.3 เมตร
จำนวนช่วง11
จำนวนตอม่อ10
ประวัติ
วันสร้างเสร็จค.ศ. 1698
ที่ตั้ง
แผนที่
สะพานมาร์โก โปโล
อักษรจีนตัวเต็ม盧溝橋
อักษรจีนตัวย่อ卢沟桥
ความหมายตามตัวอักษรสะพานคูน้ำหลู
ภาพสะพานมาร์โก โปโลในอดีต

สะพานมาร์โก โปโล หรือ สะพานหลูโกว (อังกฤษ: Marco Polo Bridge, Lugou Bridge; จีนตัวย่อ: 卢沟桥; จีนตัวเต็ม: 盧溝橋; พินอิน: Lúgōu Qiáo)[1] เป็นสะพานหินโค้งเชื่อมต่อที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงปักกิ่ง เป็นสะพานข้ามแม่น้ำหย่งติ้ง (永定河; ปัจจุบันแม่น้ำแห่งนี้ได้เหือดแห้งไปหมดแล้ว[2]) ตั้งในเขตเฟิงไถ (丰台区) ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่ง ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร เริ่มสร้างในสมัยจักรพรรดิจินซีจง ในยุคราชวงศ์จิน (ค.ศ. 1189) ได้รับการบูรณะซ่อมแซมในสมัยราชวงศ์หมิง หลังได้รับความเสียหายจากอุทกภัยก็มีการบูรณะใหม่อีกครั้งในสมัยจักรพรรดิคังซี แห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1698) โดยที่มาของชื่อ มาจากมาร์โก โปโล นักเดินทางชาวอิตาเลียนในศตวรรษที่ 13 ที่ได้เดินทางมายังประเทศจีนในขณะนั้น และได้พรรณาถึงความงามของสะพานแห่งนี้จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

สะพานมาร์โก โปโลมีความยาว 266.5 เมตร กว้าง 7.5 เมตร ประกอบด้วยตอม่อหิน 11 ต้น และช่องโค้งใต้สะพาน 11 ช่อง ตัวสะพานทั้งหมดทำด้วยแท่งหิน โดยใช้ตะขอเงินเชื่อมต่อในจุดที่สำคัญ นับว่าเป็นสะพานหินโบราณที่ยาวที่ในพื้นที่ภาคเหนือของจีน บนราวสะพานจะมีการแกะสลักหินเป็นลวดลายที่วิจิตรงดงาม และสิงโตหินแกะสลักที่ขึงขังอยู่เต็มราวสะพาน นับได้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างโบราณที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปะอย่างยิ่ง [1]

ในด้านประวัติศาสตร์ สะพานมาร์โก โปโลยังเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ที่กินระยะเวลายาวนานกว่า 8 ปี โดยเริ่มต้นจากปืนที่ทหารแห่งกองทัพคณะปฏิวัติแห่งชาติจีนยิงใส่ทหารแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่า "เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโล" (盧溝橋事變)[3][4]

รูปภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Damian Harper and Daniel McCrohan. Lonely Planet China. Lonely Planet, 2007. ISBN 978-1740599153. p. 176.
  2. Li, Lillian M. (2007). Fighting Famine in North China: State, Market, and Environmental Decline, 1690s-1990s. Stanford University Press. pp. 41–43. ISBN 0-8047-5304-0.
  3. 中国历史常识 Common Knowledge about Chinese History pp 185 ISBN 962-8746-47-2
  4. Japanese War History library (Senshi-sousyo)No.86 [Sino-incident army operations 1 until 1938 Jan.] Page138

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

39°50′57″N 116°12′47″E / 39.84917°N 116.21306°E / 39.84917; 116.21306