สะพานทาโคมาแนโรส์

พิกัด: 47°16′5″N 122°33′2″W / 47.26806°N 122.55056°W / 47.26806; -122.55056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สะพานทาโคมาแนโรว์)
สะพานทาโคมาแนโรส์
Tacoma Narrows Bridge
สะพานเมื่อมองจากฝั่งทาโคมา
พิกัด47°16′5″N 122°33′2″W / 47.26806°N 122.55056°W / 47.26806; -122.55056
เส้นทางทางหลวงรัฐวอชิงตันหมายเลข 16
ข้ามทาโคมาแนโรส์
ที่ตั้งทาโคมาไปกิกฮาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา
ผู้ดูแลกระทรวงคมนาคม รัฐวอชิงตัน
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานแขวนแฝด
ความยาว5,400 ฟุต (1,645.92 เมตร) [1]
ช่วงยาวที่สุด2,800 ฟุต (853.44 เมตร)[1]
เคลียร์ตอนล่าง187.5 ฟุต (57.15 เมตร)
ประวัติ
วันเปิด14 ตุลาคม ค.ศ. 1950 (เคลื่อนไปตะวันตก)
15 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 (เคลื่อนไปตะวันออก)
สถิติ
ค่าผ่านเฉพาะเคลื่อนไปตะวันออก: $4.00 (เงินสด/เครดิต),
$2.75 (transponder price)
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานทาโคมาแนโรส์ (อังกฤษ: Tacoma Narrows Bridge) เป็นคู่สะพานแขวนแฝดในรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งพาทางหลวงรัฐหมายเลข 16 ข้ามช่องแคบทาโคมาแนโรส์ ในประวัติศาสตร์ ชื่อ "สะพานทาโคมาแนโรส์" เคยใช้กับสะพานเดิมที่มีชื่อเล่นว่า "เกอร์ตีห้อตะบึง" (Galloping Gertie) ซึ่งเปิดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 และพังถล่มลงมาในอีกสี่เดือนให้หลัง เช่นเดียวกับการแทนที่สะพานเดิมซึ่งเปิดใน ค.ศ. 1950 และยังคงใช้ได้จนถึงปัจจุบันนี้ โดยเป็นช่องทางเคลื่อนไปทางตะวันตกของสะพานแฝดปัจจุบัน

สะพานทาโคมาแนโรล์ดั้งเดิมเปิดวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 และได้รับฉายาว่า "เกอร์ตีห้อตะบึง" เนื่องจากคนงานก่อสร้างสังเกตการเคลื่อนไหวแนวดิ่งของตัวสะพานระหว่างช่วงที่มีลมแรง สะพานดังกล่าวถล่มลงในตอนเช้าของวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ภายใต้สภาพลมแรง ปัญหาด้านวิศวกรรมเช่นเดียวกับการมีส่วนร่วมของสหรัฐอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้แผนสร้างสะพานใหม่ขึ้นทดแทนถูกเลื่อนไปหลายปี กระทั่งสะพานใหม่ที่มาแทนนั้นเปิดในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1950

จนถึง ค.ศ. 1990 การเติบโตของประชากรและการพัฒนาบนคาบสมุทร Kitsap ส่งผลให้การจราจรบนสะพานเกินขีดจำกัดที่สะพานถูกออกแบบไว้ ผลคือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรัฐวอชิงตันลงคะแนนเสียงเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการก่อสร้างสะพานคู่ขนานใน ค.ศ. 1998 หลังการประท้วงและการต่อสู้กันในศาลหลายครั้ง การก่อสร้างเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 2002 และสะพานแห่งใหม่นั้นเปิดเพื่อรองรับการจราจรเคลื่อนไปทางตะวันออกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ขณะที่ ค.ศ. 1950 สะพานถูกออกแบบใหม่ให้รองรับการจราจรไปทางตะวันตก

ขณะที่ดำเนินการก่อสร้างนั้น ทั้งสะพาน ค.ศ. 1940 และ 1950 เป็นสะพานแขวนยาวที่สุดในโลกเป็นอันดับสามในแง่ความยาวช่วงสะพานหลัก ตามหลังสะพานโกลเดนเกตและสะพานจอร์จ วอชิงตัน สะพาน ค.ศ. 1950 และ 2007 ปัจจุบันเป็นสะพานแขวนยาวที่สุดลำดับห้าในสหรัฐอเมริกา และยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 31 ของโลก

มีการเก็บค่าผ่านทางบนสะพานตลอดอายุการใช้งานสี่เดือนของสะพานดั้งเดิม เช่นเดียวกับ 15 ปีแรกของสะพาน ค.ศ. 1950 ใน ค.ศ. 1965 พันธบัตรการก่อสร้างสะพานพร้อมดอกเบี้ยได้รับการจ่าย และรัฐยุติการเก็บค่าผ่านทางบนสะพาน มากกว่า 40 ปีให้หลัง มีการเก็บค่าผ่านทางอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดหางบประมาณให้แก่สะพานแฝด และปัจจุบันเก็บเฉพาะยานพาหนะที่สัญจรฝั่งตะวันออก

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Tacoma Narrows Bridge