สวิตช์โมเลกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สวิตช์โมเลกุล (อังกฤษ: molecular switch) เป็นโมเลกุลที่สามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมา ระหว่างสภาพที่เสถียรสองอย่างหรือมากกว่านั้น[1] โมเลกุลอาจเปลี่ยนระหว่างสภาพต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดด่าง แสงสว่าง อุณหภูมิ กระแสไฟฟ้า สิ่งแวดล้อมจุลภาค หรือเมื่อมีลิแกนด์ ในบางกรณี จะต้องมีสิ่งเร้ามากกว่าหนึ่งอย่าง รูปแบบเก่าแก่ที่สุดของสวิตช์โมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้นก็คือ สารชี้บอกความเป็นกรดด่าง (pH indicator) ซึ่งแสดงสีต่าง ๆ ตามระดับความเป็นกรดด่าง ในปัจจุบัน สวิตช์โมเลกุลแบบสังเคราะห์ที่ได้รับความสนใจอยู่ในสาขานาโนเทคโนโลยี เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ระดับโมเลกุล หรือระบบการส่งยา (ไปยังอวัยวะ/โครงสร้างที่เป็นเป้าหมาย) ที่สามารถแสดงผล[2] สวิตช์โมเลกุลเป็นเรื่องสำคัญในชีววิทยา เพราะการทำงานทางชีวภาพหลายอย่างอาศัยมัน ยกตัวอย่างเช่น allosteric regulation (การควบคุมเอนไซม์โดยให้จับกับหน่วยปฏิบัติงานที่จุดยึดซึ่งไม่ใช่จุดแอ๊กถีฟ) และการเห็น มันยังเป็นตัวอย่างง่ายสุดของจักรกลโมเลกุล

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Molecular Machines & Motors: Structure and Bonding. Springer. 2001. ISBN 3-540-41382-0. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  2. Viricel, W; Mbarek, A; Leblond, J (2011). "Switchable Lipids: Conformational Change for Fast pH-Triggered Cytoplasmic Delivery". Angewandte Chemie International Edition. 54: 12743–127447. doi:10.1002/anie.201504661. PMID 26189870.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)