สวนเซ็นญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวนชิเตนโนจิ โฮนโบะ

สวนหินญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 枯山水; คะเระซันซุย หรือรู้จักกันทั่วไปในนาม เซนการ์เดน) คือสวนพื้นภูมิแห้งแล้งนั้นจัดเป็นชนิดของสวนเซนญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิผลจากนิกายเซนในพุทธศาสนาของญี่ปุ่น และสามารถหาชมได้ตามวัดเซนแห่งการฝึกสมาธิ

สวนในรูปแบบของญี่ปุ่นนั้นถือเป็นศิลปะที่มีชีวิต เพราะต้นไม้และพืชต่างๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลงให้เห็นในฤดูที่แตกต่างกันไป ระหว่างที่ต้นไม้เจริญเติบโตจะได้รับการตกแต่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อความสวยงาม และเพราะฉะนั้นสวนญี่ปุ่นไม่มีลักษณะที่เหมือนเดิมเสมอไปและไม่มีการสิ้นสุดหรือเสร็จสมบูรณ์ โครงสร้างพื้นฐานของสวนญี่ปุ่นจะพิจารณาจากสถาปัตยกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบเช่น อาคาร, ระเบียง, เส้นทาง, สึกิยะมะ (เนินเทียม) และการจัดวางของหิน เมื่อเวลาผ่านไปความงดงามของสวนก็จะขึ้นอยู่กับการดูแลและการบำรุงรักษาที่ได้รับโดยผู้มีฝีมือในศิลปะแห่งการตัดและตกแต่งสวนเช่นนี้ ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของศิลปะเซ็นคือการดูแลรักษาสวนให้คงที่ในลักษณะเสมือนภาพวาดและจิตรกรรม สวนคะเระซันซุยสามารถจัดเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมและเป็นสัญลักษณ์ของพื้นภูมิที่เรียกได้ว่าเป็น “mind-scape” ทั้งนี้มันคือปรัชญาพุทธศาสนาซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความงามแห่งจักรวาลในสิ่งแวดล้อมที่เป็นหลักสำคัญในพุทธศาสนานิกายเซนของญี่ปุ่น

ความหมายย่อของคำว่า คะเระซันซุย จากบทสวนญี่ปุ่นของพจนานุกรมฉบับบิลิงเกลให้ความหมายไว้ว่า

พื้นภูมิแห้งแล้ง (สวน) ; สวนแห้งแล้ง. - เป็นชนิดสวนญี่ปุ่นที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ซึ่งเริ่มมีขึ้นในยุคมุโระมะจิ (ค.ศ. 1392 - ค.ศ. 1568) และปราศจากบ่อน้ำหรือสายน้ำใดๆ สวนชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงพื้นภูมิธรรมชาติซึ่งมีองค์ประกอบของการจัดวางของก้อนหิน, ทรายขาว, พืชจำพวกมอสและต้นไม้ที่ถูกจัดแต่ง ในหนังสือซากุเทกิซึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการจัดแต่งของสวนตั้งแต่ยุคเฮอัน (ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185) ถ้อยคำนั้นบอกเล่าถึงศิลปะของการจัดวางหินในการจัดสวนไร้ธาติน้ำ

ต่างออกไปจากสวนตามประเพณี สวนคะเระซันซุยจะไม่มีธาติน้ำใดๆ เพียงแต่จะมีการปูกรวดหรือทราย ซึ่งอาจโดนกวาดลวดลายหรือไม่ก็สามารถเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ของทะเล, มหาสมุทร, แม่น้ำ หรือ ทะเลสาบได้ การจัดกวาดของกรวดหรือทรายเพื่อให้เป็นลวดลายที่บ่งบอกถึงคลื่นน้ำนั้นมีบทบาทของความสวยงามอยู่เช่นกัน อีกทั้งพระของพุทธศาสนานิกายเซนนั้นฝึกฝนและปฏิบัติการกวาดลวดลายเพื่อการฝึกสมาธิ การที่จะกวาดเส้นและลวดลายอย่างสมบูรณ์แบบนั้นไม่ใช้เรื่องง่าย การกวาดลวดลายนั้นขึ้นอยู่กับแบบของแนววัตถุหินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณกรวด อย่างไรก็ตามแบบของลวดลายนั้นส่วนใหญ่จะไม่อยู่คงที่ เพราะการพัฒนาแบบลวดลายใหม่ๆ เป็นการฝึกทักษะของความสร้างสรรค์และการประลองฝีมืออันก่อเกิดดลบันดาล การขัดวางของหินและวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ นั้นเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงภูเขาและธาติน้ำธรรมชาติและทัศนียภาพ, เกาะ, แม่น้ำและน้ำตก หินก้อนใหญ่และพุ่มไม้ที่ผ่านการตัดแต่งกะริโกะมิหรือฮะโกะ-ซุกุริ (ศิลปะการตัดแต่งต้นไม้) นั้นเป็นขั้นตอนที่แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ในสวนส่วนใหญ่จะมีการนำพืชมอสมาปลกคลุมพื้นผิวเพื่อที่จะสร้างสัญลักษณ์ซึ่งบ่งบอกถึงพื้นดินที่ปกคุลมไปด้วยป่าไม้

ในหนังสือ "ซะกุเทกิ" (การสร้างสวน) นั้นแสดงความหมายถึง "อิชิ โอะ ทะเทะอึน โกะโตะ" (การจัดวางก้อนหิน) ซึ่งแปลตามตัวอักษรนั้นหมายถึงการจัดตั้งก้อนหิน ในยุคที่ ซะกุเทกิ นั้นได้ปรากฏเป็นหนังสือ การจัดวางตำแหน่งของก้อนหินนั้นเป็นขั้นตอนหลักของการจัดสวน อีกทั้งยังมีถ้อยคำอักษรที่คล้ายกันในหนังสือหากแต่มันมีความหมายว่า “การจัดวางก้อนหินของสวน” มากกว่า “การสร้างสวน” การจัดวางก้อนหินนั้นควรจะต้องมีการคำนึงถึงการวางหิน ซึ่งรวมถึงผิวพื้นด้านที่ดีที่สุดควรจะหันมาถูกทิศทาง ในกรณีที่ก้อนหินนั้นมียอดที่ไม่สวยงาม ควรจะวางให้ส่วนนั้นเป็นจุดที่เด่นน้อยสุด ถึงแม้ก้อนหินนั้นจะต้องโดนวางในลักษณะที่แปลกก็คิดได้ว่าจะไม่มีใครสังเกต อีกทั้งโดยปกติควรจะเลือกหินที่มีแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง ในกรณีที่มี “หินหนี” ก็จะต้องมี “หินไล่” และถ้ามี “หินเอียง” ก็จะต้องมี “หินหนุน” และควรจดจำไว้ว่า ในหลายกรณีนั้น ก้อนหินและพุ่มไม้ที่ผ่านการตัดแต่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซนที่มีต่อการออกแบบสวนนั้นได้ถูกนำมาบรรยายโดย Kuck ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และทักท้วงโดย Kuitert ในช่วงท้ายของศตวรรษนั้น หากแต่เรื่องที่ไม่ได้ถูกทักท้วงคือเรื่องที่สวนคะเระซันซุยนั้นดลบันดาลมาจากภาพวาดทิวทัศน์ของจีนและญี่ปุ่นจากอดีต ถึงแม้สวนทั่วไปต่างก็มีการจัดวางไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่ก็จะนำก้อนหินและพุ่มไม้ที่ผ่านการตัดแต่งมาเป็นสัญลักษณ์ของภูเขา, หุบเขาและน้ำตกที่ได้ถูกจารึกเป็นจิตกรรมในภาพวาดทิวทัศน์ของจีน ในบางภาพ ทิวทัศน์นั้นดลบันดาลมาจากทัศนียภาพสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่จริง เช่น เนินเขาที่อยู่ข้างหลังเป็น “ทิวทัศน์ที่ยืมมา” โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า "ชักเคอิ" (shakkei)

ในปัจจุบันภาพวาดหมึกโมโนโครมยังถือว่าเป็นศิลปะที่ใกล้เคียงที่สุดกับพุทธศาสนานิกายเซน หลักการออกแบบของการสร้างพื้นภูมินั้นได้อิทธิพลมาจากภาพวาดทิวทัศน์หมึกโมโนโครมสามมิติ ที่เรียกว่า ซูมิเอะ หรือ ซุยโบคุกะ สวนญี่ปุ่นนั้นถือว่ามีค่าระดับเดียวกับงานศิลปะในประเทศ สวนหินที่มีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ เรียวอันจิ ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือในเมืองเกียวโต สวนที่เรียวอันจิมีความยาว 30 เมตรจากฝั่งตะวันออกถึงตะวันตกและ 10 เมตรจากเหนือถึงใต้ ในสวนนั้นไม่มีต้นไม้มีเพียงแต่ก้อนหินที่มีหลายขนาด บางก้อนปกคลุมไปด้วยพืชมอส และถูกจัดวางอยู่บนพื้นภูมิที่โรยไว้ด้วยกรวดและทรายขาวซึ่งมีการกวาดวาดลวดลายในแต่ละวัน

สวนหินเซนที่เรียวอันจิ