สวนหย่อมขนาดเล็ก
หน้าตา
สวนหย่อมขนาดเล็ก[1] หรือ สวนหย่อมขนาดเล็กย่านชุมชน[2] (อังกฤษ: Pocket park) เป็นสวนสาธารณะประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก เป็นที่ดินธรรมดาอาจมีขนาดพื้นที่เพียง 1 บล็อก[3] แต่ไม่เกิน 2 ไร่[1] โดยมากเป็นสวนที่คั่นอยู่ระหว่างอาคาร อาจพัฒนาจากพื้นที่ว่างหรือรกร้าง[4] บริเวณใต้ทางด่วน ริมคลอง หรือริมทางรถไฟ[5] มีการปรับภูมิทัศน์ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นปอดขนาดเล็กของเมือง และเป็นจุดนัดพบของประชาชนที่อยู่ในบริเวณนั้น[3]
ลักษณะ
[แก้]สวนหย่อมขนาดเล็กจะมีลักษณะดังนี้[2][4]
- มีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่
- รัศมีบริการไม่เกิน 1 กิโลเมตร
- ระยะเดินใช้เวลา 5-10 นาที
- การกระจายตัวของสวนอยู่ในระยะเดินเท้า
- เข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องเดินข้ามถนน อยู่ระหว่างอาคารหรือกลุ่มอาคาร
- มีแนวทางการพัฒนาพื้นที่ขนาดเล็กที่รกร้างว่างเปล่า
- เหมาะสำหรับย่านที่มีครอบครัวอยู่อาศัย
- เป็นสนามเด็กเล่นหรือที่พักผ่อนหย่อนใจ
อย่างไรก็ตามต้นไม้ที่ปลูกบนทางเท้าและพื้นที่จอดรถ หรือสวนหย่อมขนาดน้อยตามร้านค้าก็อาจนับเป็นสวนหย่อมขนาดเล็กได้[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "สถิติสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ". ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. 28 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "การตรวจเอกสาร" (PDF). สำนักหอสมุดกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 28 กรกฎาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "Pocket Park เคล็ดลับพื้นที่สีเขียวทั่วกรุงโตเกียว". KIJI. 2 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 "7 ประเภทสวนสาธารณะเป็นอย่างไร เรามีอยู่เท่าใดกันแน่". Estopolis. 18 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กระตุ้นเศรษฐกิจ (ความคิด) เมือง และผู้คน ด้วยทางเดินสีเขียวจากพื้นที่รกร้างไร้ประโยชน์ในกทม". บ้านและสวน. 14 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สวนหย่อมขนาดเล็ก