การสื่อสารระหว่างบุคคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การสื่อสารระหว่างบุคคล (อังกฤษ: Interpersonal Communication) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป การที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นติดต่อกันนั้น จะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจกันและรับรู้ข้อมูลต่างๆ ของโลก นอกจากนี้ก็จะทำให้รู้จักตนเองด้วย เพราะการสื่อสารเป็นเหมือนภาพสะท้อนที่กลับมาหาตัวเอง คนที่ขาดการสื่อสารระหว่างบุคคลจะเป็นคนที่ขาดความเข้าใจความต้องการและความจำเป็นอันแตกต่างและหลากหลายของบุคคลอื่น ยิ่งคนที่มีการสื่อสารระหว่างบุคคลมากเพียงใดก็จะยิ่งเพิ่มการรู้จักตัวเองและการรู้จักคนอื่นมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น ข้อมูลที่เราได้มาจากการสื่อสารระหว่างบุคคล นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการปรับตัวเองแล้ว ยังแสดงว่าตัวเองมีความสามารถในการสื่อสารกับคนอื่นอีกด้วย การสื่อสารระหว่างบุคคล จะก่อให้เกิดผล 3 ประการคือ

ลดความกลัวลง[แก้]

เนื่องจากมีคนไม่น้อยที่อายหรือกลัวการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น อาทิเช่น กลัวการพูด กลัวการ แสดงออกและกลัวที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ความรู้สึกไม่มั่นใจ หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ความวิตกกังวลว่า จะพูดผิดหรือความกลัวว่าจะถูกจับผิดในขณะที่พูด ซึ่งนับว่าเป็นผลเสียของพฤติกรรมทางด้านการสื่อสารของคน เมื่อคนไม่กล้าที่จะแสดงออกก็จะกลายเป็นคนเงียบๆ ไม่กล้าสุงสิงกับใครแยกตนเองออกจากสังคม การสื่อสารระหว่างบุคคลนั้นจะทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างมากขึ้น รวมทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเองมากขึ้นและจะมีความตั้งใจบางอย่างที่ช่วยลดความกลัวโดยการพยายามที่จะติดต่อกับบุคคลอื่นมากยิ่งขึ้น เมื่อต่างคนได้ เรียนรู้ผลที่ได้จากการร่วมสังคมกันก็จะทำให้ความกลัวลดน้อยลงและนานๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญและเกิดความสอดคล้องกัน

มีความสอดคล้องกัน[แก้]

ผลที่เกิดจากการสื่อสารระหว่างบุคคล ในลักษณะการมีความสอดคล้องกัน ได้แก่ การกระทำที่ตรงตามความเชื่อทัศนคติและค่านิยมของตัวเองนั่นก็คือ คนมีอิสระที่จะกระทำตามความคิดของตนเองการวัดความสำเร็จของการสื่อสารระหว่างบุคคล ส่วนหนึ่งวัดจากระดับ ของความสอดคล้องกันระหว่างการแสดงออกกับความเชื่อและค่านิยมของแต่ละคน หากการแสดงออกของคนไม่ ตรงกับทัศนคติของตน การสื่อสารนั้นขาดความสอดคล้องกัน ยิ่งความสอดคล้องมีมากเพียงใดก็จะยิ่งทำให้การสื่อสาร กับผู้อื่นมีความชัดเจนและมีความแน่นอนมากยิ่งขึ้นตามไปด้วยคนที่พูดด้วยความจริงใจพูดตรงกับความรู้สึกนั้น ย่อมจะ สื่อสารความหมายได้ดีกว่าการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด นอกจากนั้นจากการซักถามและการตอบคำถามก็ยังชี้ให้เห็น ถึงความสอดคล้องของการพูดกับความรู้สึกได้ ยิ่งให้โอกาสผู้พูดมีอิสระที่จะเลือกเรื่องหรือหัวข้อที่พูดด้วยแล้ว ก็ยิ่งเห็นความสอดคล้องมากยิ่งขึ้น เพราะตามปกติคนเรามักจะเลือกเรื่องหรือหัวข้อการพูดที่ตนเองถนัด

สร้างความไว้วางใจให้กับผู้ที่มาติดต่อด้วย[แก้]

การที่คนเราสื่อสารกับคนอื่นสอดคล้องกับความรู้สึกของตนเอง จะทำให้การสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพและสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ที่ติดต่อด้วย เมื่อคนเกิดความไว้วางใจการสื่อสารก็เกิดขึ้นอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเพราะคนรู้สึกอิสระที่จะแสดงออก มีความพอใจที่จะติดต่อสื่อความกันและสร้างความสัมพันธ์ในทางที่ดีขึ้น ในแง่ของตัวเองเมื่อคนอื่นมีความไว้วางใจก็จะเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น เมื่อตนเองเกิดความรู้สึกว่าตัวเองไม่ถูกคุกคามหรือข่มขู่จากผู้อื่น จะทำให้พฤติกรรมในการป้องกันตัวเองจะน้อยลง และจะเกิดความพอใจที่อยากจะติดต่อกับผู้อื่น การแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะดำเนินไปอย่างดีและประสบผลสำเร็จ