สยามสแควร์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2560)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สยามสแควร์
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับไพรัช คุ้มวัน
เขียนบท
  • เอกราช มอญวัฒ
  • ธีปนันท์ เพ็ชรศรี
  • ชาญชนะ หอมทรัพย์
  • ไพรัช คุ้มวัน
อำนวยการสร้างจาตุศม เตชะรัตนประเสริฐ
นักแสดงนำ
วันฉาย30 มีนาคม พ.ศ. 2560
ความยาว111 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทำเงิน9.73 ล้านบาท (18 วัน)[1]
ข้อมูลจากสยามโซน

สยามสแควร์ (อังกฤษ: Siam Square) คือ ภาพยนตร์ไทยแนวกึ่งสยองขวัญกึ่งข้ามพ้นวัย[2] ของบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ออกฉายในปี พ.ศ. 2560 กำกับโดย ไพรัช คุ้มวัน เขียนบทโดย เอกราช มอญวัฒ, ธีปนันท์ เพ็ชรศรี, ชาญชนะ หอมทรัพย์ และไพรัช คุ้มวัน นำแสดงโดย อิษยา ฮอสุวรรณ, มรกต หลิว และพลอย ศรนรินทร์ เล่าเรื่องของวัยรุ่น 10 คนที่เข้าไปพัวพันกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับวิญญาณเด็กสาว และต้องเผชิญกับเหตุการณ์ลึกลับน่าสะพรึงกลัว ที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ไฟดับในคืนหนึ่งที่สยามสแควร์

นักแสดง[แก้]

เพลงประกอบ[แก้]

  • "ในลิ้นชัก" – วงกอหญ้า

การผลิต[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยกลุ่ม "ฮิดเดนเอเจนดา" ซึ่งเป็นกลุ่มครีเอทีฟของสหมงคลฟิล์ม[2] และเป็นผลงานการกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของไพรัช คุ้มวัน[3]

บทภาพยนตร์[แก้]

บทภาพยนตร์เรื่องนี้เขียนโดย เอกราช มอญวัฒ และธีปนันท์ เพ็ชรศรี โดยมีไพรัช คุ้มวัน และชาญชนะ หอมทรัพย์ ทำหน้าที่แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของบท โดยเฉพาะการเพิ่มเติมอารมณ์ร่วมและประสบการณ์ส่วนตัวที่ไพรัชมีต่อสยามสแควร์ทั้งในยุคของเขาและในยุคปัจจุบันลงไป จนได้เป็นบทฉบับสมบูรณ์[4]

"สยามสแควร์"[แก้]

บรรยากาศของสยามสแควร์ยามค่ำคืนที่ปรากฏในภาพยนตร์

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สามของสหมงคลฟิล์ม ถัดจาก สยามสแควร์ (ศุภักษร, พ.ศ. 2527) และ รักแห่งสยาม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, พ.ศ. 2550) ที่ใช้สยามสแควร์เป็นฉากหลังหลักในการดำเนินเรื่อง[2] โดยเรื่องนี้เลือกเล่าถึงสถานที่ดังกล่าวด้วยมิติของภาพยนตร์สยองขวัญภายใต้แนวคิดหลักที่ว่า "สยามสแควร์มีผี"[3] ด้วยการใช้ภาพและบรรยากาศของสยามสแควร์ยามค่ำคืนที่ทั้งเงียบเหงาและน่ากลัว ต่างจากตอนกลางวันที่มีสีสันและผู้คนพลุกพล่าน[4][5] นอกจากนี้ ผู้สร้างยังต้องการนำเสนอว่า สยามสแควร์มีการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนผ่านทั้งคนและสถานที่อยู่เสมอ ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเปรียบเสมือนการเติมเต็มไตรภาคสยามสแควร์ต่อจากอีกสองเรื่องที่กล่าวถึงข้างต้น ด้วยการทำหน้าที่เป็นสมุดบันทึกช่วงเวลาหนึ่งของสยามสแควร์ รวมถึงบรรยากาศและความคิดของผู้คนในอีกยุคสมัยที่ภาพยนตร์กล่าวถึงเอาไว้[2][3]

ตัวละคร[แก้]

สำหรับการเล่าเรื่องของตัวละครวัยรุ่นทั้งสิบคน ซึ่งเป็นตัวละครหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ ไพรัชให้สัมภาษณ์กับไบโอสโคปทางเว็บไซต์เอ็มไทยว่า ตนได้วิธีการมาจากภาพยนตร์วัยรุ่นญี่ปุ่นเรื่อง เดอะคิริชิมะทิง (ไดฮะจิ โยะชิดะ, พ.ศ. 2555) ที่สามารถเล่าเรื่องตัวละครหลาย ๆ ตัวให้มีความสำคัญเท่า ๆ กันได้เป็นอย่างดี โดยตัวละครทุกตัวต่างก็มีเส้นเรื่องเป็นของตัวเอง[4]

การเข้าฉาย[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560[6] (โดยมีการจัดฉายรอบพิเศษ "เด็กสยามดูก่อน" ในวันที่ 25 มีนาคม ของปีเดียวกัน ณ โรงภาพยนตร์ลิโด้ กรุงเทพมหานครฯ[7]) และเข้าฉายในระดับนานาชาติครั้งแรกในสายประกวดของเทศกาลภาพยนตร์ตะวันออกไกลครั้งที่ 19 ณ เมืองอูดิเน ประเทศอิตาลี[8] และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กลับมาฉายในโรงภาพยนตร์อีกครั้งจากการโหวตของเว็บไซต์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ โดยจะเข้าฉายในวันที่ 29 กันยายน 2560 ที่โรงภาพยนตร์ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ โดยเข้าฉายเพียงแค่วันเดียวและรอบเดียว

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ (13 - 16 เมษายน 2560)". เพจ ชมรมวิจารณ์บันเทิง - Flickz ใน Facebook. 17 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2560.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Parinyaporn Pajee. "Horror in the square เก็บถาวร 2017-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". The Nation. 28 March 2017. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2560.
  3. 3.0 3.1 3.2 ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต. "การเติบโตของ ไพรัช คุ้มวัน คนทำหนังคลื่นลูกใหม่ผู้กระโดดสู่งานกำกับภาพยนตร์ยาวเรื่องแรก 'สยามสแควร์' เก็บถาวร 2017-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". a day magazine. 29 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2560.
  4. 4.0 4.1 4.2 Bioscope Magazine. "(interview) ผี / วัยรุ่น / ‘สยามสแควร์’ และการทำหนังในสตูดิโอ ของ ไพรัช คุ้มวัน เก็บถาวร 2017-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". MThai. 21 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560.
  5. สราลี อุรุพงศา. "บัญญัติ 7 ประการแห่งผู้กำกับที่แหวกทุกขนบของการเป็นผู้กำกับไทย –ไพรัช คุ้มวัน, สยามสแควร์ เก็บถาวร 2017-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". The Hollywood Reporter Thailand. 29 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2560.
  6. "รวมวัยรุ่นในเรื่องลึกลับ รสชาติใหม่ของ สยามสแควร์". Siam Zone. 13 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560.
  7. สยามสแควร์. "ข้อมูลการฉายภาพยนตร์รอบ 'เด็กสยามดูก่อน'". Facebook. 22 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2560.
  8. "All the films at a glance". Far East Film 19. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2560.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]