สมเด็จพระเจ้าอาลี บิน ฮุซัยน์แห่งฮิญาซ
สมเด็จพระเจ้าอาลี บิน ฮุซัยน์แห่งฮิญาซ | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งฮิญาซ ผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง | |
![]() | |
พระมหากษัตริย์แห่งฮิญาซ ผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง ชารีฟใหญ่แห่งมักกะฮ์ | |
ช่วงเวลา | 3 ตุลาคม 2467 – 19 ธันวาคม 2468 (1 ปี 77 วัน) |
ก่อนหน้า | ชะรีฟ ฮูไซน์ อิบนิ อาลี |
ถัดไป | สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด |
พระราชสมภพ | 1 มกราคม พ.ศ. 2422 มักกะฮ์ , ประเทศซาอุดีอาระเบีย |
สวรรคต | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 (56 ปี) แบกแดด , อิรัก |
คู่อภิเษก | เจ้าหญิงนาฟิซซา |
พระราชบุตร | เจ้าหญิงอาบาดิยา บินต์ อาลี สมเด็จพระราชินีอะลียะฮ์แห่งอิรัก เจ้าชายอับดุลลออฮ์ อัล-อิลาห์ มกุฎราชกุมารแห่งอิรัก เจ้าหญิงบาดิยา บิน อาลี เจ้าหญิงจาลิลลาแห่งฮิญาซ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ฮัชไมต์ |
พระราชบิดา | ชะรีฟ ฮูไซน์ อิบนิ อาลี |
พระราชมารดา | อับดิยา บินต์ อับดุลลาห์ |
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าอาลี บิน ฮุซัยน์แห่งฮิญาซ | |
---|---|
![]() พระราชลัญจกร | |
การทูล | His Majesty (ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท) |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | Your Majesty (พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ) |
สมเด็จพระเจ้าอาลี บิน ฮุซัยน์แห่งฮิญาซ (อาหรับ : علي بن الحسين بن علي الهاشمي,) (1 มกราคม พ.ศ. 2422 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478) เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน ชะรีฟ ฮูไซน์ อิบนิ อาลี กับ อับดิยา บินต์ อับดุลลาห์ เป็นพระราชบิดาใน สมเด็จพระราชินีอะลียะฮ์แห่งอิรัก เป็นสมเด็จพระราชอัยกาธิบดี (ตา)ใน พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก
พระชนม์ชีพ
[แก้]พระองค์เสด็จพระราชสมภพ ณ มักกะฮ์ ทรงได้รับการศึกษาที่ Ghalata Serai College (โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย Galatasaray) ในอิสตันบูล พระราชบิดาของพระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นชารีฟใหญ่แห่งมักกะห์ โดยจักรวรรดิออตโต มันในปี พ.ศ. 2451 อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของราชวงศ์และทางจักรวรรดิออตโตมัน ก็เริ่มตึงเครียดมากขึ้น และในปี พ.ศ. 2459 พระองค์กลายเป็นหนึ่งในผู้นำการก่อกบฏของอาหรับต่อการปกครองของตุรกี หลังจากความสำเร็จของการก่อกบฏ ทรงสถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของฮิญาซ ด้วยการสนับสนุนจากอังกฤษ ในขณะที่สมเด็จพระราชอนุชาธิราชทั้ง 2 ได้ขึ้นปกครองบัลลังก์จอร์แดนและอิรัก คือ สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน กับ พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1 แห่งอิรัก ตามลำดับ
ไม่นาน พระองค์ก็พบว่าทรงเข้าไปพัวพันกับการสู้รบกับราชวงศ์ซะอูด ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ในริยาด หลังจากที่สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด ทรงพ่ายแพ้ในสงคราม พระราชบิดาก็สละพระราชอิสริยยศทั้งหมดให้กับพระองค์
ในเดือนธันวาคมของปีถัดมา กองกำลังซาอุดีอาระเบีย สามารถยึดครองราชอาณาจักรฮิญาซ ได้ในที่สุด และในที่สุดก็รวมราชอาณาจักรดังกล่าวเข้ากับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ครอบครัวของพระองค์ จึงเสด็จพระราชดำเนินลี้ภัยไปยังอิรัก