สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาล (เดิม: ไซน์ อัล-ชาราฟ; พระราชสมภพ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – สวรรคต 26 เมษายน พ.ศ. 2537) เป็นพระบรมราชินีในสมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน

สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชินีไซน์ในปีพ.ศ. 2496
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
ดำรงพระยศ20 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (1 ปี 22 วัน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีมุสบาห์
ถัดไปสมเด็จพระราชินีดีน่า
พระราชสมภพ2 สิงหาคม พ.ศ. 2459
อะเล็กซานเดรีย, ประเทศอียิปต์
ไซน์ อัล-ชาราฟ
สวรรคต26 เมษายน พ.ศ. 2537 (77 พรรษา)
เมืองโลซาน, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ฝังพระศพพระราชวังรักฮาดาน
พระราชสวามีสมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน
พระราชบุตรสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน
เจ้าชายมูฮัมหมัด
เจ้าชายฮัสซัน
เจ้าหญิงบัสมาห์
ราชวงศ์ฮัชไมต์ (อภิเษกสมรส)
พระราชบิดาชารีฟจามัล อาลี บิน นัสเซอร์
พระราชมารดานางวิจดาน ชาห์กิร ปาชาห์
ศาสนาศาสนาอิสลาม

พระราชประวัติ[แก้]

พื้นฐานครอบครัว[แก้]

สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2459 ณ อะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ในตระกูลเฮจาซี่เชื้อสายอียิปต์[1] เป็นธิดาในชารีฟจามัล อาลี บิน นัสเซอร์กับนางวิจดาน ชาห์กิร ปาชาห์ พระชนกของพระองค์เป็นผู้ว่าการฮาวรันและเป็นหลานชายของชารีฟฮุซัยน์ บิน อาลีแห่งนครเมกกะ[2] พระชนนีของพระองค์เป็นธิดาของนายชาห์กิร ปาชาห์[2] ผู้เป็นเหลนชายของชาวไซปรัสตุรกี - ออตโตมัน นามว่า คามิล ปาชาห์ ผู้ว่าการไซปรัส

อภิเษกสมรส[แก้]

ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเฏาะลาล บิน อับดุลลอฮ์ พระญาติชั้นที่หนึ่งของพระองค์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 ทรงมีพระราชโอรส – ธิดาดังนี้

สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน (พระราชสมภพ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 – สวรรคต 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542)[3]

เจ้าชายมูฮัมหมัด (ประสูติ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2483)[3]

เจ้าชายฮัสซัน (ประสูติ 20 มีนาคม พ.ศ. 2490)[3]

เจ้าหญิงบัสมาห์ (ประสูติ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2494)[3]

พระราชกรณียกิจ[แก้]

พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจหลายด้าน โดยทรงมีบทบาทสำคัญในด้านการเมืองของจอร์แดน ทรงสนับสนุนให้เกิดการทำงานเพื่อการกุศลเพื่อเด็กและสตรี พระองค์ทรงเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแห่งจอร์แดน เมื่อปี พ.ศ. 2495 โดยทรงลงข้อความให้สิทธิเด็กและสตรีเพิ่มมากขึ้น

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

• ไซน์ อัล-ชาราฟ (2 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477)

เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2494)

เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2495)

เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน (11 สิงหาคม พ.ศ. 2495 – 26 เมษายน พ.ศ. 2537)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน ถัดไป
สมเด็จพระราชินีมุสบาห์ บิน นัสเซอแห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
(2494 - 2495)
เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด

อ้างอิง[แก้]

  1. هذه الاميرة كان طلال يحبها وكان من الممكن ان تكون اما للملك حسين ولو لم تقتل الملكة زين الملكة علياء طوقان لربما تغير وجه الاردن, Arab Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-06, สืบค้นเมื่อ 6 September 2017, بخاصة بعد أن اجبر الملك عبدالله ابنه طلال على الزواج من تركية ولدت في مصر اسمها زين وهي أم الملك حسين ...
  2. 2.0 2.1 Jordan remembers Queen Zein, Jordan Times, 2015, สืบค้นเมื่อ 6 September 2017
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Queen Zein of Jordan". Unofficial Royalty (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-09-17. สืบค้นเมื่อ 2017-10-11.
  4. "jordan2". www.royalark.net. สืบค้นเมื่อ 2017-10-11.
  5. "Senarai Penuh Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat Persekutuan Tahun 1965" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ 2018-05-12.