ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งยูโกสลาเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาเรีย
สมเด็จพระราชินีแห่ง
ปวงชนชาวเซิร์บ, โครแอทและสโลวีน
สมเด็จพระราชินีแห่งยูโกสลาเวีย
ดำรงพระยศ8 มิถุนายน ค.ศ. 1922 - 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934
ก่อนหน้าดรากา
(เซอร์เบีย)
ถัดไปอเล็กซันดรา
พระราชสมภพ6 มกราคม ค.ศ. 1900(1900-01-06)
โกทา, ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา, จักรวรรดิเยอรมัน
สวรรคต22 มิถุนายน ค.ศ. 1961(1961-06-22) (61 ปี)
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
ฝังพระศพสุสานหลวงฟอร์กมอร์ วินด์เซอร์ (1961)
โบสถ์เซนต์จอร์จ Oplenac (2013)
คู่อภิเษกสมเด็จพระราชาธิบดีอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย
พระบุตร
ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน
พระราชบิดาเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย

สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งยูโกสลาเวีย (6 มกราคม ค.ศ. 1900 - 22 มิถุนายน ค.ศ. 1961) (ภาษาอังกฤษ: Maria of Romania ภาษาเซอร์เบีย: Marija Karađorđević) ทรงเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย

พระราชประวัติ

[แก้]
เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนียกับสมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1

เจ้าหญิงมาเรียเสด็จพระราชสมภพที่เมืองก็อตธา แคว้นทูรินเจีย ประเทศเยอรมนี ในการปกครองของพระอัยกาฝ่ายพระชนนีคือ เจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา และราชบัลลังก์โรมาเนียของพระปิตุลาคือ คาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย พระนางทรงมีชื่อเล่นในหมู่เครือญาติว่า "มิกนอล" ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของพระนางกับพระชนนี

พระบิดาของพระนางคือ เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย และพระมารดาของพระนางคือ เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระธิดาองค์ใหญ่ในเจ้าฟ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสของ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระปัยกาฝ่ายพระชนนีของพระนางคือ จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย

พระนางทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย ที่เมืองเบลเกรด ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1922 พระนางมีพระโอรส 3 พระองค์ ได้แก่

แต่เนื่องจากทรงประกอบพระกรณียกิจในเซอร์เบียมากทำให้ทรงถูกพาดพึงว่า ทรงลืมเลือนเรื่องราวในประเทศเกิดคือ โรมาเนีย ดังคำกล่าวว่า "พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงเป็นกษัตริย์ด้วยการตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เองและไม่แสวงหาผลประโยชน์ พระราชินีมารีได้ขึ้นเป็นพระราชินีด้วยความรัก ความทุ่มเทในโรมาเนีย และทรงมีความเฉลียวฉลาด แต่ก็ไม่มีใครสามารถเป็นครูที่ดีแก่ลูกๆได้ ... เกี่ยวกับคาโรล ทายาทที่ไม่มีใครอยากพูดถึง! ลูกคนที่สอง เอลิซาเบธ ไม่สามารถทำหน้าที่พระราชินีแห่งกรีซรวมทั้งเจ้าหญิงแห่งโรมาเนียได้เต็มที่ เธอมักจบวันนั้นในโรงแรมซึ่งทรงเป็นนักผจญภัยที่เดินทางไปทุกที่ มิกนอล ลูกสาวอีกคนกลับได้รับการยอมรับในฐานะพระราชินีแห่งเซอร์เบีย เพราะมือเหล็กของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งเซอร์เบียและสิ่งแวดล้อมที่เคร่งครัดในเซอร์เบีย แต่มิกนอลได้ลืมเลือนว่าตนเป็นชาวโรมาเนีย มีเพียง 2 คนก่อนเมอร์เชียเท่านั้นคือ นิโคลัสและอีเลียนานับเป็นชาวโรมาเนียที่แท้จริง.."-ที่มาจากเลขาส่วนตัวของเจ้าชายนิโคลัส

พระนางกลายเป็นสมเด็จพระราชชนนีแห่งยูโกสลาเวีย เมื่อสมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1934 พระราชโอรสองค์ใหญ่ได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งยูโกสลาเวียพระองค์สุดท้าย พระนางทรงย้ายไปอยู่ในทุ่งนาที่ประเทศอังกฤษโดยอาศัยอยู่แบบคนธรรมดาสามัญ โดยปราศจากการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย พระนางทรงได้รับการศึกษา พระนางทรงพูดหลาย ๆ ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วและทรงสนพระทัยกับการวาดภาพและงานแกะสลัก พระนางทรงขับยานพาหนะด้วยพระองค์เองในวันที่ไม่มีกิจสำคัญใดๆ

พระนางเสด็จสวรรคตในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1961 พระบรมศพถูกฝังที่สุสานหลวงฟอร์กมอร์ในพระราชวังวินด์เซอร์

พระราชกรณียกิจด้านสิทธิมนุษยชน

[แก้]
สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งยูโกสลาเวีย ในปลายพระชนม์ชีพ

สมเด็จพระราชินีมาเรียทรงเป็นที่รักใคร่และเคารพต่อปวงชนชาวยูโกสลาเวียอย่างมาก พระนางทรงเป็นที่จดจำในสายตาของพสกนิกรชาวเซอร์เบีย เนื่องจากทรงเป็นหนึ่งในผู้อุปถัมภ์สิทธิมนุษยชนมากที่สุดในคาบสมุทรบอลข่าน

มีการตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นความทรงจำเกี่ยวกับพระนางชื่อว่า “Ulica kraljice Marije” หรือ “Queen Maria Street”และหลายๆโรงเรียนและองค์กรต่างๆมักนำพระนามของพระนางไปตั้งเป็นชื่อประจำ

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. เจ้าชายชาร์ลส์แห่งโฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน
 
 
 
 
 
 
 
8. ชาร์ลส์ แอนโทนีแห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. มารี แอนโตเน็ต มูรัต
 
 
 
 
 
 
 
4. ลีโอโปลด์แห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. แกรนด์ดยุคคาร์ลแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงโยเซฟินแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. สเตฟานี เดอ โบอาเนส์
 
 
 
 
 
 
 
2. เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อธธา
 
 
 
 
 
 
 
10. เฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงมารี แอนโตเน็ตแห่งโคฮารี
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงแอนโตเนียแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
11. มาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. จักรพรรดินีมาเรีย ลีโอโพลดินาแห่งบราซิล
 
 
 
 
 
 
 
1. มาเรียแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งยูโกสลาเวีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. แอร์นส์ที่ 1 ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
12. เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งแซ็กซ์-ก็อตธา-อัลเท็นบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
6. เจ้าฟ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ออกุสตุส ดยุคแห่งเคนท์และสตราเธิร์น
 
 
 
 
 
 
 
13. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งแซ็กซ์-ก็อตธา-อัลเท็นบูร์ก-ซาร์ฟิลด์
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
14. ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งปรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
7. แกรนด์ดัชเชสมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. แกรนด์ดยุคหลุยส์ที่ 2 แห่งเฮสส์
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงมารีแห่งเฮสส์และไรน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงวิลเฮล์มมิเนแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งยูโกสลาเวีย ถัดไป
'เดรกา เมซิน
ตำแหน่ง
สมเด็จพระราชินีแห่งเซอร์เบีย'

สมเด็จพระราชินีแห่งปวงชนชาวชาวเซิร์บ,โครแอทและสโลวีน
สมเด็จพระราชินีแห่งยูโกสลาเวีย
(คาราดอร์เดวิค)

(8 มิถุนายน ค.ศ. 1922 – 9 ตุลาคม ค.ศ. 1934)
เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งกรีซ