สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

(ทิม อุฑาฒิโม)
ส่วนบุคคล
เกิด16 ตุลาคม พ.ศ. 2447
มรณภาพ10 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นโท
เปรียญธรรม 5 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นามเดิม ทิม ฉายา อุฑาฒิโม เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม

ประวัติ[แก้]

กำเนิด[แก้]

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า ทิม พันทา (ภายหลังเปลี่ยนเป็นพันธุเลปนะ) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2447 เป็นบุตรคนที่ 7 ของนายอ่อนตากับนางเทศ พันทา (ซึ่งมีบุตรรวมทั้งสิ้น 9 คน) ภูมิลำเนาอยู่บ้านดอนสะแก ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

อุปสมบท[แก้]

พ.ศ. 2462 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร แล้วศึกษาอยู่ที่วัดนี้ต่อจนถึงปี พ.ศ. 2467 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยมีพระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมรโมลี (อาบ อุปคุตฺโต) วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์

การศึกษา[แก้]

เมื่อยังเป็นสามเณร ท่านสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปี พ.ศ. 2465 และสอบได้นักธรรมชั้นโทในปีต่อมา หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยคในปี พ.ศ. 2468 ต่อมาสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคในปี พ.ศ. 2472 และสุดท้ายสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยคในปี พ.ศ. 2480[1]

นอกจากนี้ท่านยังศึกษาภาษาอังกฤษ ภาษาสันสกฤตที่มหามกุฏราชวิทยาลัย[2] และศึกษาโหราศาสตร์จนแตกฉาน[3]

ลำดับสมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2489 ตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระเมธาธรรมรส[4]
  • พ.ศ. 249? เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2501 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธากร สุนทรธรรมวรยุต พุทธบริษัทปสาทการี ตรีปิฎกธรรมวิภูษิต ศาสนกิจธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2509 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์ ยุตโยคญาณดิลก ไตรปิฎกธารี ธรรมวาที ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 สถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระธรรมปัญญาจารย์ ปริยัติญาณโสภณ วิมลศีลาจารวัตร พุทธปริษัทปสาทกร สุนทรธรรมวินยวาที ตรีปิฎกวิภูสิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2536 สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต พุทธกิจโจปการวัฒนานุการี คัมภีรญาโณภาสราชโหราธิบดี ศรีธรรมวิสุทธอุปกาสวรางกูร ไพบูลปาพจนวราลงกรณ์ ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[8]

มรณภาพ[แก้]

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เวลา 14.30 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโกศไม้สิบสองเป็นเกียรติยศประกอบศพ มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 7 คืน

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2544

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, หน้า 18
  2. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, หน้า 19
  3. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 2, หน้า 175
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 63, ตอนที่ 15 ง, 19 มีนาคม 2489, หน้า 358
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 75, ตอนที่ 109 ง, 23 ธันวาคม 2501, หน้า 3133
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 83, ตอนที่ 114 ง ฉบับพิเศษ, 19 ธันวาคม 2509, หน้า 1
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 95, ตอนที่ 34 ก ฉบับพิเศษ, 27 มีนาคม 2521, หน้า 8-11
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 111, ตอนพิเศษ 1 ง, 7 มกราคม 2537, หน้า 1-4
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 174-177. ISBN 974-417-530-3
  • วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์. กรุงเทพฯ : พิมพ์อักษร, 2544. 17-34 หน้า. [งานพระราชทานเพิงศพ สมเด็จพระมหาวีวงศ์ (ทิม อุฑาฒิมมหาเถร) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2544]