ข้ามไปเนื้อหา

สมาร์ตการ์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างบริเวณสัมผัสของบัตรสมาร์ตการ์ดแบบต่างๆ

สมาร์ตการ์ด เป็นบัตรพลาสติกชนิดหนึ่ง มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม แตกต่างกันตรงที่มีการฝังชิปไว้ที่บนบัตรด้วย ซึ่งในตัวชิปนี้สามารถบันทึกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และมีวิธีการรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี

ประเภทของสมาร์ตการ์ด

[แก้]

สมาร์ตการ์ด แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

สมาร์ตการ์ดแบบสัมผัส

[แก้]

สมาร์ตการ์ดแบบสัมผัส (contact smart card) ตัวบัตรมีการฝังชิปใต้หน้าสัมผัสที่เป็นแผ่นโลหะสีทองขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้วไว้ที่ด้านหน้าของบัตร ตอนใช้งานต้องสอดบัตรเข้าในเครื่องอ่านให้หน้าสัมผัสของบัตรได้แตะกับหน้าสัมผัสภายในเครื่องอ่านบัตร ส่วนใหญ่จะเป็นกับบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็ม ปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้สมาร์ตการ์ดชนิดนี้ทำบัตรประจำตัวประชาชนหรือซิมการ์ดของโทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันมีการทำบัตรเครดิตที่เป็นสมาร์ตการ์ดแบบสัมผัสด้วยเป็นบัตรวีซ่า pay wave เช่น บัตรบลูการ์ด

สมาร์ตการ์ดแบบไร้สัมผัส

[แก้]

สมาร์ตการ์ดแบบไร้สัมผัส (contactless smart card) ตัวบัตรจะมีการฝังชิปและขดลวดสายอากาศเอาไว้ภายในซึ่งอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น สามารถติดต่อกับเครื่องอ่านบัตรที่รับส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุได้ในระยะที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นระยะที่ใกล้ชิด (proximity card) หรือระยะที่ใกล้เคียง (vicinity card) แล้วแต่มาตรฐานของบัตร โดยไม่จำเป็นต้องให้บัตรสัมผัสกับเครื่องอ่านดังกล่าว ส่วนใหญ่จะใช้กับบัตรเก็บเงินทางด่วน บัตรโดยสารของรถไฟฟ้า บีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน และบัตรชำระเงินย่อยเช่นบัตร Smart Purse เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  • Rankl, W. (1997). Smart Card Handbook. John Wiley & Sons. ISBN 0-471-96720-3. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Guthery, Scott B. (1998). SmartCard Developer's Kit. Macmillan Technical Publishing. ISBN 1-57870-027-2. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]