สมัยอีโอซีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Basilosaurus
Prorastomus, an early sirenian

สมัยอีโอซีน (อังกฤษ: Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน

สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน

ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้[1]

ลักษณะ

สมัยนี้กินเวลาประมาณ 15 ล้านปี มีอากาศเย็น ภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้น ผสมป่าดิบแล้งและมีทุ่งหญ้าแพร่กระจายไปทั่วโลก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสมัยนี้มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว โดยที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเริ่มมีวิวัฒนาการจากขนาดเล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และเป็นสมัยแรกที่ช้างเริ่มปรากฏขึ้น สัตว์กีบก็เริ่มมีวิวัฒนาการขึ้นมากหลายชนิดเช่น สมเสร็จ,แรด,อูฐ,แอนทราโคแทร์,ชาลิโคแทร์ (รูปร่างคล้ายม้า),ไททันโนแทร์ (รูปร่างคล้ายแรด),แอนดูซาร์ส และ ฮาพาโกเลสเทส นอกจากนี้ยังมีสัตว์ฟันแทะ เช่น ไพรเมต ค้างคาว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลได้แก่ ปลาวาฬ โลมา พะยูน พบปะการัง หอยกาบคู่ชนิดต่าง ๆ ปลาเทเลออสท์ (Teleost) ซึ่ง เป็นปลากระดูกแข็ง นกในสมัยนี้ได้วิวัฒนาการมากขึ้นโดยมีนกบินไม่ได้ขนาดใหญ่เป็นนักล่าบนสุดในห่วงโซ่อาหารอยู่

อ้างอิง

  1. "Eocene". Online Etymology Dictionary.