กรีซยุคคลาสสิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สมัยคลาสสิกกรีก)
ประวัติศาสตร์กรีซ
Coat of Arms of Greece
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับ
ประเทศกรีซ

กรีซยุคสำริด
อารยธรรมเฮลลาดิค
อารยธรรมซิคละดีส
อารยธรรมไมนอส
อารยธรรมไมซีนี
กรีซโบราณ
กรีซยุคมืด
กรีซยุคอาร์เคอิก
กรีซยุคคลาสสิก
กรีซยุคเฮลเลนิสติก
กรีซยุคโรมัน
กรีซยุคกลาง
กรีซยุคไบแซนไทน์
กรีซยุคฟรังโคคราเชีย
กรีซยุคออตโตมัน
กรีซยุคใหม่
สงครามประกาศเอกราชกรีซ
ราชอาณาจักรกรีซ
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
คณะการปกครอง 4 สิงหาคม
กรีซยุคยึดครองโดยอักษะ
สงครามกลางเมืองกรีซ
กรีซยุคปกครองโดยทหาร ค.ศ. 1967-1974
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ

สถานีย่อยกรีซ
เพลโตเดินถกปรัชญาอยู่กับอริสโตเติล (จากภาพ school of Athens โดยราฟาเอล)

กรีซยุคคลาสสิก หรือ กรีซสมัยคลาสสิก เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของกรีซโบราณที่อยู่ระหว่าง กรีซสมัยอาร์เคอิก และสมัยเฮลเลนิสติก โดยมีระยะเวลายาวนานประมาณ 200 ปี (ศตวรรษที่ 5 และ 4 ก่อนค.ศ.)[1] ตั้งแต่ชัยชนะของเอเธนส์ที่ซาลามิส ต่ออาณาจักรเปอร์เซีย ในปีที่ 480 ก่อนค.ศ. (บางครั้งก็เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ 510 ก่อนค.ศ. อันเป็นปีที่ชาวเอเธนส์กำจัดทรราชคนสุดท้ายลงได้) จนถึงเหตุการณ์สวรรคตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปีที่ 323 ก่อน ค.ศ. ยุคคลาสสิคของกรีซเป็นยุคสมัยที่อารยธรรมกรีกเบ่งบานถึงขีดสุด และเป็นช่วงที่วัฒนธรรมเชิงคุณค่า และสถาบันต่าง ๆ ของชนชาติกรีกได้พัฒนาไปจนถึงขีดสมบูรณ์

กรีซในยุคคลาสสิก มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อจักรวรรดิโรมัน และต่อรากฐานของอารยธรรมตะวันตก ระบบความคิดส่วนใหญ่ของโลกตะวันตกสมัยใหม่ ไม่ว่าทางการเมืองการปกครอง, ทางศิลปะ ทางสถาปัตยกรรม, ทางวิทยาศาสตร์, ทางการละคร, ทางวรรณกรรม, และทางปรัชญา ล้วนแต่เป็นสิ่งที่อนุพัทธ์ (derived) หยิบยืม หรือต่อยอดมาจากมรดกทางความคิดของกรีซในช่วงเวลาประวัติศาสตร์นี้ทั้งสิ้น

ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล[แก้]

ในศตวรรษนี้นครรัฐเอเธนส์มีความโดดเด่นที่สุด เพราะเอเธนส์ทิ้งงานเขียนทั้งทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย และวรรณคดีไว้มากกว่านครรัฐกรีกโบราณอื่นทั้งหมด จึงอาจกล่าวได้ว่าเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในปีที่ 508 ก่อนค.ศ. เมื่อไคลส์ธีนีส (Cleisthenes) ร่วมมือกับสปาร์ตาโค่น ฮิปปิอัส ทรราชคนสุดท้ายของเอเธนส์ลงจากอำนาจ และสามารถร่วมมือกับสภาห้าร้อยคน (กรีกโบราณ: βουλή); สภาบูแล) ชิงอำนาจมาจากไอซากอรัส (Isagoras) ได้ และเริ่มปฏิรูปเอเธนส์ แต่ถ้ามองให้กว้างออกไปทั่วทั้งแผ่นดินกรีซ ก็อาจพูดได้ว่าการก่อกบฏไอโอเนีย เมื่อปีที่ 500 ก่อนค.ศ. มีความสำคัญในฐานะเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้จักรวรรดิเปอร์เซียเปิดฉากรุกรานกรีซในปีที่ 492 ก่อนค.ศ. ทัพของเปอร์เซียถูกพิชิตในปีที่ 492 ก่อนค.ศ. แต่อีกทศวรรษต่อมาเปอร์เซียก็ยกทัพกลับมาอีกเป็นครั้งที่สอง (ในปีที่ 481-479 ก่อนค.ศ.) ทว่าก็ล้มเหลวอีกแม้ว่าจะสามารถเดินทัพเข้าครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรีซได้ และได้ชัยชนะทั้งในยุทธการที่เทอร์โมพิลี และยุทธนาวีที่อาร์เตมิเซียม[2] หลังจากเสร็จศึกกับเปอร์เซียแล้ว สันนิบาตดีเลียนก็ถูกสถาปนาขึ้นภายใต้อิทธิพลครอบงำ (hegemon) ของเอเธนส์ และถูกเอเธนส์ใช้เป็นเครื่องมือสร้างอำนาจและความมั่งคั่ง ความไม่รู้จักพอของเอเธนส์ทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นในบรรดานครรัฐพันธมิตร ซึ่งล้วนถูกเอเธนส์ใช้กำลังทหารเข้ากำหราบ แต่พลวัตทางอำนาจของเอเธนส์ทำให้สปาร์ตาตื่นขึ้นมา และนำมาซึ่งสงครามเพโลพอนนีเซียน ในปีที่ 431 ก่อนค.ศ. สงครามดำเนินไปในสมรภูมิทั่วทั้งโลกอารยธรรมของกรีซเป็นเวลาเกือบ 30 ปี โดยมีการสงบศึกเพียงช่วงสั้นๆ จนในที่สุดเอเธนส์ก็ถูกพิชิตลงอย่างเด็ดขาด ในปีที่ 404 ก่อนค.ศ. เรื่องราวในศตวรรษที่ 5 ก่อนค.ศ. ของกรีซในยุคคลาสสิกก็ปิดฉากลง ด้วยความวุ่นวายทางการเมืองของเอเธนส์หลังจากนั้น

การเมืองเอเธนส์สมัยไคลส์ธีนีส[แก้]

สงครามกับเปอร์เซีย หรือสงครามมาราธอน[แก้]

มหาสงครามเพโลพอนนีส[แก้]

ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล[แก้]

วัฒนธรรมของกรีซยุคคลาสสิค[แก้]

ศิลปะกรีกยุคคลาสสิค[แก้]

ปรัชญากรีกยุคคลาสสิค[แก้]

การละครกรีกยุคคลาสสิค[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Thomas R. Martin, Ancient Greece, Yale University Press, 1996, p. 94).
  2. Aeschylus,; Peter Burian; Alan Shapiro (17 February 2009). The Complete Aeschylus: Volume II: Persians and Other Plays. Oxford University Press. p. 18. ISBN 978-0-19-045183-7.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]