สปริงบ็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สปริงบ็อก
ตัวผู้ (♂) ที่อุทยานแห่งชาติอีโตซา, นามิเบีย
ตัวเมีย (♀) ที่อุทยานแห่งชาติอีโตซา, นามิเบีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Antilopinae
สกุล: Antidorcas
Sundevall, 1847
สปีชีส์: A.  marsupialis
ชื่อทวินาม
Antidorcas marsupialis
(Zimmermann, 1780)
ชนิดย่อย
ดูในเนื้อหา
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

สปริงบ็อก (อังกฤษ: Springbok; ชื่อวิทยาศาสตร์: Antidorcas marsupialis) สัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง จำพวกแอนทิโลป จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Antidorcas ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันเพราะชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

คำว่า "สปริงบ็อก" มาจากภาษาแอฟริคานส์และภาษาดัตช์คำว่า "สปริง" หมายถึง "กระโดด" และ "บ็อก" หมายถึง "แอนทิโลปตัวผู้" หรือ "แพะ" ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ marsupialis มาจากภาษาละตินคำว่า "marsupium" หมายถึง "กระเป๋า" หมายถึง แผ่นผิวหนังที่เหมือนกระเป๋าที่ตั้งอยู่ตรงกลางหลังไปจนถึงโคนหาง เมื่อตัวผู้ต้องการแสดงออกเพื่อดึงดูดตัวเมียหรือข่มขู่ศัตรู จะย่ำเท้าแล้วกระโดดขึ้นไปในอากาศ และชูแผ่นหนังนั้นพับขึ้น เผยให้เห็นขนสีขาวใต้หางชูขึ้นเหมือนพัดและปล่อยกลิ่นออกมา ซึ่งพฤติกรรมนี้เรียกว่า "สต็อตติง"[2][3]

ลักษณะและพฤติกรรม[แก้]

สปริงบ็อกจัดเป็นแอนทิโลปขนาดกลางจำพวกกาเซลล์ พบกระจายพันธุ์เฉพาะแอฟริกาตอนใต้แถบลุ่มแม่น้ำแซมเบซีเท่านั้น ตัวผู้มีเขาโค้งเป็นรูปตัววี ตัวเมียมีเขาเช่นกัน แต่มีขนาดเล็กและสั้นกว่าตัวผู้ มีขนาดความสูงจากหัวไหล่ถึงปลายเท้าประมาณ 78–84 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 31–36 กิโลกรัม อายุขัยโดยเฉลี่ย 10 ปี

สปริงบ็อกรวมตัวกันหากินเป็นฝูงในทุ่งหญ้าและกินหญ้าเป็นอาหาร การที่ได้เชื่อว่าเป็นสปริงบ็อก มาจากพฤติกรรมที่สามารถกระโดดลอยตัวได้สูงและไกลมากยามตกใจหรือหลบหนีศัตรู โดยกระโดดได้สูงกว่า 8–10 ฟุต[4] หรือ 4 เมตร และกระโดดได้ไกลถึง 15 เมตร สามารถวิ่งได้เร็วถึง 97 กิโลเมตร/ชั่วโมง สปริงบ็อกมีหลากหลายสีตามลักษณะทางพันธุกรรม[5]

จากพฤติกรรมเช่นนี้ ทำให้สปริงบ็อกได้รับการยกย่องให้เป็นสัตว์ประจำชาติและสัญลักษณ์ทางการกีฬาของแอฟริกาใต้[6]

ตราแผ่นดินของแอฟริกาใต้ (ค.ศ. 1932–ค.ศ. 2000) ซึ่งมีรูปสปริงบ็อกอยู่ด้านซ้าย

การจำแนก[แก้]

จำแนกออกเป็นชนิดย่อยได้ 3 ชนิด คือ

  • Antidorcas marsupialis marsupialis – แอฟริกาใต้
  • Antidorcas marsupialis angolensis – ตอนเหนือของนามิเบีย, พื้นที่ชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของแองโกลา
  • Antidorcas marsupialis hofmeyri – ตอนใต้และตอนกลางของนามิเบีย, บอตสวานา[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. IUCN SSC Antelope Specialist Group (2008). Antidorcas marsupialis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 29 March 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern
  2. Geoffrey Haresnape (1974). The Great Hunters. Purnell. ISBN 0-360-00232-3.
  3. "Largest Herds (Mammals)". 4to40.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2013-12-27.
  4. หน้า 54, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (พิมพ์ครั้งที่ 2; สิงหาคม, 2518)
  5. The Springbok. J. D. Skinner & G. N. Louw (1996)
  6. ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. หน้า 46-47. ISBN 978-616-90508-0-3
  7. "Zoo Hannover – Springbok". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2013-12-27.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Antidorcas marsupialis ที่วิกิสปีชีส์