สนุ่น
หน้าตา
สนุ่น | |
---|---|
ต้นสนุ่นตัวผู้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Salicaceae |
สกุล: | Salix |
สปีชีส์: | S. tetrasperma |
ชื่อทวินาม | |
Salix tetrasperma |
สนุ่นหรือตะไคร้บก ชื่อวิทยาศาสตร์: Salix tetrasperma เป็นพืชวงศ์สนุ่นเพียงชนิดเดียวที่เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศไทย เป็นไม้ผลัดใบระยะสั้น ลำต้นอ้วน สั้น บิดงอ กิ่งชูขึ้น ปลายลู่ลงเล็กน้อย ยอดอ่อนมีขนสีเงิน ขอบใบเป็นซี่ ดอกเป็นช่อห้อยลง สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ดอกตัวเมียมีต่อมน้ำหวาน 1 ต่อม ผลขนาดเล็ก แตกได้ ปลายข้างหนึ่งมีขนสีขาว ช่วยให้ปลิวตามลมได้ดี
พบทั่วไปตามบริเวณธารน้ำ พบในอินเดีย คาบสมุทรอินโดจีน ฟิลิปปินส์ เนื้อไม้เบาใช้ทำฟืน เปลือกมีแทนนินมาก ใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจ แก้ไข้ ใบสดใช้รักษางูสวัด นิยมปลูกริมน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ตลิ่งพัง ในรัฐมณีปุระ ดอกอ่อนของสนุ่นเรียก ঊযুম (Ooyum) นำมารับประทานได้ เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแดง[1]
อ้างอิง
[แก้]- ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. ต้นไม้เมืองเหนือ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2543
- ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน