สนามกีฬานานาชาติเคาะลีฟะฮ์
ชื่อเต็ม | สนามกีฬานานาชาติเคาะลีฟะฮ์ |
---|---|
ที่ตั้ง | ถนนอัลวาอับ แอสไปร์โซน เขตบาเอยา อัรร็อยยาน ประเทศกาตาร์ |
พิกัด | 25°15′49″N 51°26′53″E / 25.26361°N 51.44806°E |
เจ้าของ | สมาคมฟุตบอลกาตาร์ |
ความจุ | 45,857[2] |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
เปิดใช้สนาม | ค.ศ. 1976 |
ปรับปรุง | ค.ศ. 2005, 2014–2017 |
สถาปนิก | ดาร์ อเล อันดาซาฮ์[1] |
ผู้รับเหมาหลัก | มิดมักคอนสตรัคทิง, ซิกคอนสตรัคเจวี, โปรจักส์ (บริษัท วิเคราะห์และควบคุมโครงการนานาชาติ), พีโออาร์อาร์ |
การใช้งาน | |
ฟุตบอลทีมชาติกาตาร์ (1976–ปัจจุบัน) |
สนามกีฬานานาชาติเคาะลีฟะฮ์ (อาหรับ: إستاد خليفة الدولي แม่แบบ:ALA-LC) เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ซึ่งประกอบด้วยลู่วิ่งและสนามหญ้า ตั้งอยู่ในอัรร็อยยาน ชานเมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแอสไปร์โซน โดฮาสปอร์ตซิตีคอมเพล็กซ์ ซึ่งรวมถึงแอสไปร์อะคาเดมี ศูนย์กีฬาทางน้ำอาหมัด และแอสไปร์ทาวเวอร์[3][4] สนามแห่งนี้ตั้งชื่อตามเคาะลีฟะฮ์ บิน อาหมัด อัลธานิ เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ ภายใต้การเป็นเจ้าของโดยสมาคมฟุตบอลกาตาร์ และทำหน้าที่เป็นสนามเหย้าหลักของฟุตบอลทีมชาติกาตาร์ ปัจจุบันมีความจุ 45,857 ที่นั่ง เป็นสนามที่ได้รับการจัดอันดับสี่ดาว จากระบบการประเมินความยั่งยืนระดับโลก (GSAS) โดยเป็นรายแรกของโลกที่ได้รับการจัดอันดับนี้[5]
สนามแห่งนี้เคยใช้จัดพิธีเปิด และปิดเอเชียนเกมส์ 2006 ที่โดฮาเป็นเจ้าภาพ รวมถึงใช้ในการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2011 ทั้งนัดเปิดสนาม และนัดชิงชนะเลิศ เป็นหนึ่งในแปดสนามที่ใช้จัดการแข่งขันในฟุตบอลโลก 2022
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Expansion of East Stand at Khalifa Stadium". dar.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2016. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.
- ↑ "Khalifa International Stadium". fifa.com. สืบค้นเมื่อ 21 November 2022.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อqatar2020
- ↑ "Qatar celebrates legacy of sports, Olympics with 3-2-1 museum launch". gdnonline.com. 20 April 2022. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
- ↑ Khalifa International Stadium receives four-star GSAS Sustainability rating fifa.com 23 มิถุนายน ค.ศ. 2016 สืบค้นเมื่อ5 ธัยวาคม ค.ศ. 2022