ข้ามไปเนื้อหา

สนามกีฬาออซอดี

พิกัด: 35°43′27.99″N 51°16′31.98″E / 35.7244417°N 51.2755500°E / 35.7244417; 51.2755500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามกีฬาออซอดี
"ดินแดนที่น่ากลัวของทีมเยือน"[1]
สนามกีฬาออซอดี ปี 2018 ในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก
แผนที่
ชื่อเต็มสนามกีฬาออซอดี[2]
ชื่อเดิมสนามกีฬาออร์ยอเมฮร์ (1971–1979)
ที่ตั้งกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน
เจ้าของกระทรวงกีฬาและเยาวชน
ผู้ดำเนินการออซอดีสปอร์ตคอมเพล็กซ์
เทศบาลเตหะราน
ความจุ78,116 (2016–ปัจจุบัน)[3]
84,412 (2012–2016)[4]
95,225 (2003–2012)
100,000 (1971–2003)
สถิติผู้ชม128,000 คน
อิหร่าน อิหร่าน ปะทะ ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
ขนาดสนาม110 โดย 75 เมตร (361 โดย 246 ฟุต)
พื้นผิวเดสโซกราสมาสเตอร์
ป้ายแสดงคะแนนจัมโบทรอน 104 ตารางเมตร
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็ม1 ตุลาคม ค.ศ. 1970
ก่อสร้าง1970–1971 (1 ปี)
เปิดใช้สนาม17 ตุลาคม ค.ศ. 1971 (1971-10-17)
ปรับปรุงค.ศ. 2002–2003, 2016–2017
ต่อเติมค.ศ. 2002
งบประมาณในการก่อสร้าง2,578,183,966 เรียลอิหร่าน (€400,163,944)
สถาปนิกแอบโดล-แอซีซ แฟร์มอนแฟร์มออียอน
ผู้จัดการโครงการสกิดมอร์ โอวิงส์ และเมอร์ริล
วิศวกรโครงสร้างเจมส์ เรย์มอนด์ วิตเทิล
การใช้งาน
เว็บไซต์
www.azadisportcomplex.com

สนามกีฬาออซอดี (อังกฤษ: Azadi Stadium; เปอร์เซีย: ورزشگاه آزادی‎) เปิดตัวในชื่อ สนามกีฬาออร์ยอเมฮร์ (Aryamehr Stadium; ورزشگاه آریامهر‎) เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ และสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติอิหร่าน และเป็นสนามเหย้าของเอสเทกลอล และ ทีมเพร์สโพลีส ในลีกสูงสุดของอิหร่าน[5] โดยใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 เดิมมีชื่อว่า สนามกีฬาออร์ยอเมฮร์ (Aryamehr Stadium; ورزشگاه آریامهر‎) ตั้งอยู่ในเขตอัคบาตาน กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เป็นส่วนหนึ่งของออซอดีสปอร์ตคอมเพล็กซ์[6]

สนามกีฬาออซอดีมีความจุทั้งหมด 95,225 คน ถือเป็นสนามฟุตบอลที่เคยมีความจุเป็นอันดับ 4 ของโลก[7] และเคยมีความจุเหนือกว่าสนามกีฬาเวมบลีย์ ของสหราชอาณาจักร และถือเป็นอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย รองมาจาก รุงนาโดเมย์เดย์สเตเดียม ของเกาหลีเหนือ (ความจุ 150,000 คน) และซอลต์เลคสเตเดียม ของอินเดีย (ความจุ 120,000 คน) ถูกใช้เป็นสนามแข่งขันหลักในกีฬาเอเชียนเกมส์ 1974 (ครั้งที่ 7)

เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1970 และเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1974 ใช้เงินในการก่อสร้างสูงถึง 1,163,944 ยูโร (ประมาณ 4,888,564,800 บาท) โดยมี อับดอล-อาซิซ ฟาร์มานฟาร์เมียน สถาปนิกที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศอิหร่านเป็นผู้ออกแบบ และใช้คนงานก่อสร้างถึง 100,000 คน

สนามกีฬาออซอดี

มีสถิติยอดผู้ชมสูงสุดอยู่ที่ 128,000 คน ในเกมฟุตบอลโลก 1998 รอบเพลย์ออฟ โซนเอเชีย นัดแรกที่อิหร่าน เป็นเจ้าภาพพบกับ ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997

สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ได้จัดให้สนามกีฬาออซอดีเป็นสนามอยู่ในระดับ 5 ดาว เป็นสนามที่ทีมคู่แข่งมักพบเสียงเชียร์ของแฟนฟุตบอลเจ้าถิ่นทำให้เกิดความหวาดหวั่น จนได้รับฉายาว่าเป็น "ดินแดนที่น่ากลัวของทีมเยือน"[1] และเสียงวูวูเซลาที่ดังมากคล้ายกับเสียงผึ้ง ทำให้บางครั้งมีผู้เรียกสนามนี้เป็น "ฝูงผึ้ง"[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 อาซาดี้ สเตเดี้ยมสมรภูมิรบของอิหร่าน คอลัมน์ : คอลัมน์ลีกไทย โดย.. นนท์นี่คุง จากสยามสปอร์ต
  2. "Azadi Stadium Guide - FIFA.com". fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
  3. "22 هزار نفر از ظرفیت آزادی کم شد :: ورزش سه". www.varzesh3.com. สืบค้นเมื่อ 3 April 2018.
  4. "Azadi Stadium | TeamMelli". teammelli.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
  5. "Azadi Stadium Capacity". IRIB. สืบค้นเมื่อ August 5, 2013.
  6. Azadi Sport Complex
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ trna
  8. bugaga.ru — 25 самых пугающих стадионов в мире (25 Most intimidating stadiums in the world) In Russian

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

35°43′27.99″N 51°16′31.98″E / 35.7244417°N 51.2755500°E / 35.7244417; 51.2755500