สนธิสัญญาราปัลโล (ค.ศ. 1922)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
พิกัดภูมิศาสตร์: 44°20′10″N 9°13′10″E / 44.33611°N 9.21944°E
![]() นายกรัฐมนตรีเยอรมนี โยเซ็ฟ เวียร์ท (ที่สองจากซ้าย) และคณะผู้แทนจากรัสเซีย เลโอนิด คราซิน, เกโอร์กี ชิเชริน และอะดอล์ฟ โยฟเฟ | |
ประเภท | สนธิสัญญาทวิภาคี |
---|---|
วันลงนาม | 16 เมษายน ค.ศ. 1922 |
ที่ลงนาม | ราปัลโล อิตาลี |
ผู้ลงนามแรกเริ่ม | ![]() ![]() |
ผู้ให้สัตยาบัน | เยอรมนี สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย |
สนธิสัญญาราปัลโล (อังกฤษ: Treaty of Rapallo) เป็นข้อตกลงที่ลงนามเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1922 ระหว่างสาธารณรัฐไวมาร์และสหภาพโซเวียต ที่ซึ่งทั้งสองประเทศได้ยุติการอ้างสิทธิในดินแดนและข้อเรียกร้องทางการเงินจากสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์และสงครามโลกครั้งที่หนึ่งต่อกันและกัน
รัฐบาลของทั้งสองประเทศยังได้ตกลงที่จะปรับความสัมพันธ์ทางการทูตให้เข้าสู่ระดับปกติและ "ให้ร่วมมือด้วยจิตวิญญาณแห่งความปรารถนาดีเพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจของกันและกัน"
สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากการประชุมเจนัวที่ทั้งเยอรมนีและสหภาพโซเวียตต่างก็เข้าร่วม ซึ่งฝรั่งเศสเรียกร้องให้สหภาพโซเวียตรับภาระหนี้สินที่ก่อไว้ในช่วงก่อนสงครามโดยจักรวรรดิรัสเซีย และได้เรียกร้องให้เยอรมนีชำระค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่สหภาพโซเวียตโดยทันที ส่งผลให้คณะผู้แทนจากเยอรมนีและสหภาพโซเวียตถอนตัวออกมาจากการประชุมและพบปะกันอย่างเงียบ ๆ ที่เมืองราปัลโลในอิตาลี ทั้งนี้สนธิสัญญาดังกล่าวประกอบด้วยคณะผู้เจรจาจากสองฝ่ายนำโดยรัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย เกโอร์กี ชิเช-ริน และรัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมนี วัลเทอร์ ราทเนา และได้มีการแลกสัตยาบันแก่กันในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1923 ณ กรุงเบอร์ลิน ต่อมาสนธิสัญญาดังกล่าวถูกลงนามจากทั้งสองฝ่ายในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1923 ณ โรงแรมอิมเปรีอาเล เมืองซันตามาร์เกอรีตาลีกูเร (ในราปัลโล) และถูกบันทึกในชุดสนธิสัญญาของสันนิบาตชาติ (League of Nations Treaty Series) ในวันเดียวกัน[1] และแม้ว่าสนธิสัญญาดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมถึงประเด็นความร่วมมือด้านทางทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายก็ได้ริเริ่มความร่วมมือทางการทหารอย่างลับ ๆ ในเวลาต่อมา[2]
ต่อมาทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงเพิ่มเติมระหว่างกันและลงนาม ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ณ กรุงเบอร์ลิน เพื่อขยายขอบเขตของสนธิสัญญาให้ครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีกับประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตอันได้แก่ ยูเครน เบลารุส อาร์เมเนีย จอร์เจีย อาร์เซอร์ไบจาน และสาธารณรัฐตะวันออกไกล ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันกันในกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1923 และถูกบันทึกในชุดสนธิสัญญาของสันนิบาติชาติเมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม ค.ศ. 1924
อนึ่ง ข้อตกลงในสนธิสัญญานี้ยังถูกเน้นย้ำอีกครั้งในสนธิสัญญาเบอร์ลินปี ค.ศ. 1926 อีกด้วย
อ้างอิง[แก้]
ข้อมูล[แก้]
- League of Nations Treaty Series, Volume 19 327L 1923 [1]
- League of Nations Treaty Series, Volume 26 327L 1924 [2]
- Supplementary Agreement to the German-Russian Agreement (Treaty of Rapallo, 16 April 1922); 5 November 1922
- German-Russian Agreement; 16 April 1922 (Treaty of Rapallo)
อ่านเพิ่ม[แก้]

- Dyck, Harvey Leonard. Weimar Germany & Soviet Russia 1926–1933 (1966)
- Fink, Carol, Axel Frohn, and Jurgen Heideking, eds. Genoa, Rapallo, and European Reconstruction in 1922 Cambridge University Press. 1991.
- Fink, Carol. The Genoa Conference: European Diplomacy, 1921–1922 (U of North Carolina Press, 1984)
- Fischer, Louis. Russia's Road from Peace to War: Soviet Foreign Relations, 1917-1941 (1969). online
- Himmer, Robert. "Rathenau, Russia, and Rapallo." Central European History (1976) 9#2 pp 146–183.
- Kennan, George F. Russia and the West under Lenin and Stalin (1961) pp 208–223. online
- Kochan, Lionel. "The Russian Road to Rapallo". Soviet Studies, Vol. 2, No. 2 (October 1950), pp. 109–122.
- Lee, Marshall and Wolfgang Michalka. German Foreign Policy 1917–1933: Continuity or Break?. (Berg, St.Martin's Press 1987)
- Mueller, Gordon H. "Rapallo Reexamined: a new look at Germany's secret military collaboration with Russia in 1922." Military Affairs 40#3 (1976): 109–117. in JSTOR
- Rosenbaum, Kurt. Community of Fate: German-Soviet Diplomatic Relations 1922–1928 (Syracuse UP, 1965). online, with full bibliography
- Salzmann, Stephanie. Great Britain, Germany, and the Soviet Union: Rapallo and After, 1922–1934 (Boydell & Brewer, 2003).