ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาชายแดนยูเครน–รัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาชายแดนยูเครน–รัสเซีย
สนธิสัญญาระหว่างยูเครนกับสหพันธรัฐรัสเซียเกี่ยวกับเขตแดนรัฐยูเครน–รัสเซีย
วันลงนาม28 มกราคม พ.ศ. 2546
ที่ลงนามเคียฟ ยูเครน
วันมีผล23 เมษายน พ.ศ. 2547
ผู้ลงนามแลออนิด กุชมา
วลาดีมีร์ ปูติน
ภาคียูเครน
รัสเซีย
ภาษายูเครน, รัสเซีย

สนธิสัญญาระหว่างยูเครนกับสหพันธรัฐรัสเซียเกี่ยวกับเขตแดนรัฐยูเครน–รัสเซีย (ยูเครน: Договір між Україною і Російською Федерацією про українсько-російський державний кордон; รัสเซีย: Договор между Российской Федерацией и Украиной о российско-украинской государственной границе) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศทวิภาคีระหว่างยูเครนกับสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งกำหนดเส้นพรมแดนทางบกระหว่างทั้งสองประเทศ

ขอบเขตของสนธิสัญญา

[แก้]

สนธิสัญญากำหนดให้ "พรมแดนรัฐรัสเซีย–ยูเครน" เป็นเส้นและพื้นผิวแนวตั้งที่ลากผ่านเส้นนี้ โดยแบ่งเขตแดนรัฐ (แผ่นดิน น้ำ ใต้ดิน และน่านฟ้า) ของภาคีสัญญาจากจุดเชื่อมต่อของพรมแดนรัฐของสหพันธรัฐรัสเซีย ยูเครน และสาธารณรัฐเบลารุส ไปจนถึงจุดที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งอ่าวตากันร็อก

พรมแดนจะกำหนดตามเส้นทางที่ระบุไว้ในคำอธิบายเส้นทางผ่านพรมแดนรัฐระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับยูเครน คำอธิบายและแผนที่ของพรมแดนรัฐที่แนบมากับสนธิสัญญาถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ[1][2][3]

มีการพิจารณาว่าจุดเชื่อมต่อพรมแดนของยูเครน รัสเซีย และเบลารุสคือ "เนินมิตรภาพ" หรือ "เนินสามพี่น้อง" ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อชายแดนในหมู่บ้านแซญกิวกา (ยูเครน: Сеньківка) ในเขตแชร์นีฮิวของแคว้นแชร์นีฮิว ซึ่งอยู่ภายในอาณาเขตของยูเครนทั้งหมด ตามการจำแนกประเภทอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ จุดเชื่อมต่อสามรัฐนี้ได้รับการกำหนดชื่อเป็น "080 byruua" (เรียงตามลำดับตัวอักษร: by – เบลารุส, ru – รัสเซีย, ua – ยูเครน) อย่างไรก็ตาม จุดเชื่อมต่อนี้ไม่ได้รับการบรรจุไว้ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศไตรภาคี[4]

การลงนามและการให้สัตยาบัน

[แก้]

เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 ในระหว่างการเยือนเคียฟของวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ได้มีการลงนามสนธิสัญญาเรื่องพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งได้กำหนดส่วนดินแดนของทั้งสองประเทศไว้[1]

ยูเครนให้สัตยาบันสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2547 และสหพันธรัฐรัสเซียให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2547[4][5]

ในช่วงระหว่างการลงนามและการให้สัตยาบันสนธิสัญญา เกิดความขัดแย้งบนเกาะตุซลาขึ้น ซึ่งเกิดจากการก่อสร้างเขื่อนของรัสเซียในช่องแคบเคียร์ชจากคาบสมุทรตามันไปยังเกาะตุซลา นักวิเคราะห์เชื่อว่าความขัดแย้งดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อกดดันยูเครนเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตพรมแดนในช่องแคบเคียร์ชและทะเลอะซอฟ

สนธิสัญญามีผลใช้บังคับในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2547 หลังการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร (instruments of ratification)

การนำไปปฏิบัติและการละเมิด

[แก้]

การให้สัตยาบันสัญญาว่าด้วยพรมแดนยูเครน–รัสเซีย ร่วมกับสนธิสัญญาระหว่างยูเครนกับสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือในการใช้ทะเลอะซอฟและช่องแคบเคียร์ชเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ทำให้การกำหนดเส้นพรมแดนทางบกเป็นทางการตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 สนธิสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างรัฐยูเครน–รัสเซียมีผลบังคับใช้[6] สร้างฐานกฎหมายสำหรับการเริ่มกระบวนการกำหนดเส้นพรมแดนทางบกระหว่างรัฐยูเครน–รัสเซีย[7]

ปัญหาการกำหนดเส้นพรมแดนทางบกระหว่างยูเครน–รัสเซียยังคงเป็นปัญหาที่ "ชะงักงัน" ในความสัมพันธ์ทวิภาคีมาหลายปี เป็นเวลาหลายปีที่สหพันธรัฐรัสเซียขัดขวางกระบวนการนี้[8]

เนื่องจากไม่มีมาตรการในการปักปันเขตแดนจากการต่อต้านของสหพันธรัฐรัสเซีย ฝ่ายยูเครนจึงตัดสินใจดำเนินการกำหนดขอบเขตพรมแดนทางบกโดยฝ่ายเดียว การแบ่งเขตพรมแดนโดยตรงดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีของยูเครนเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เรื่อง "การกำหนดขอบเขตพรมแดนรัฐยูเครน–รัสเซียบนพื้นดิน"[9]

รัสเซียเริ่มการรุกรานยูเครนด้วยโดยกองกำลังติดอาวุธใน พ.ศ. 2557 โดยละเมิดบรรทัดฐานและหลักการพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดจนสนธิสัญญาและข้อตกลงทวิภาคีและพหุภาคีหลายฉบับ รวมถึงสนธิสัญญาเกี่ยวกับเขตแดนรัฐยูเครน–รัสเซีย[10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Подробности того, как поделили границу Кучма и Путин, не разглашаются. УП. 23 มิถุนายน 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2024.
  2. Договор между Украиной и Российской Федерацией о украинско-российской государственной границе. Верховной Рады Украины. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2021.
  3. "Treaty between Ukraine and the Russian Federation on the Ukrainian-Russian State Border". treaties.un.org.
  4. 4.0 4.1 "Myakota O. V. General overview of the international legal regulation of the state border between Ukraine and the Russian Federation" (PDF). Юридичний науковий електронний журнал (4): 297–300. 2015. ISSN 2524-0374.
  5. "On the Ratification of the Treaty between Ukraine and the Russian Federation on the Ukraine–Russia State Border: Law of Ukraine dated 20.04.2004 No. 1681-IV". Верховна Рада України. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2021.
  6. "Treaty between Ukraine and the Russian Federation on the demarcation of the Ukrainian–Russian state border". Верховна Рада України. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2021.
  7. "State and prospects of cooperation between Ukraine and Russia. — Kyiv: NISS, 2011. – 43 p." (PDF). Національний інститут стратегічних досліджень. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2021.
  8. "Horbulin V.P. Theses for the second anniversary of Russian aggression against Ukraine". Ukrainian Crisis Media Center. 18 กุมภาพันธ์ 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2024.
  9. "On marking the Ukrainian-Russian state border on the ground: Resolution of the Cabinet of Ministers of Ukraine dated 14.05.2015 No. 443-р". Верховна Рада України. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2021.
  10. "10 facts about Russia's armed aggression against Ukraine". Міністерство закордонних справ України. Ministry of Foreign Affairs of Ukraine. 9 ธันวาคม 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]