สถาปัตยกรรมฮกเกี้ยน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดลู่กังหลงซาน สาางด้วยสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยน

สถาปัตยกรรมฮกเกี้ยน, สถาปัตยกรรมฮกโล้ หรือ สถาปัตยกรรมหมินนัน หมายถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาวฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นกลุ่มชาวจีนย่อยฮั่นซึ่งมีประชากรอยู่เป็นหลักในจีนตอนใต้ แถบมณฑลฝูเจี้ยน มาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ รูปแบบสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยนคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมจีนฮั่นที่อยู่รอบฝูเจี้ยน แต่ก็มีลักษณะพิเศษบางประการที่พบได้เฉพาะในสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยนอยู่ที่ทำให้เมื่อมองแล้วจะเห็นความแตกต่างชัดเจนในสิ่งก่อสร้างแบบฮกเกี้ยนและไต้หวัน เทียบกับสถาปัตยกรรมแบบอื่น ๆ [1]

หลังคาหางแฉก[แก้]

หลังคาหางแฉก หรือ หลังคาหางนกนางแอ่น (จีน: 燕尾脊, ìnn-bé-tsiah) เป็นลักษณะที่พบได้เป็นหลักในสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยนและจะพบได้ยากมากในสถาปัตยกรรมฮั่นที่ไม่ใช่แบบฮกเกี้ยน หลังคาหางแฉกมีลักษณะเป็นหลังคาที่มีสันโค้งขึ้น คล้ายกับหางของนกนางแอ่น โดยมีองศาการโค้งที่แตกต่างกันไปในแต่แห่ง ด้านบนของสันมีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตร[2][3] ลักษณะนี้มีจุดเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งชาวฮกเกี้ยนร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วจากการค้าขายกับพ่อค้ายุโรป จึงนิยมสร้างบ้านและอาคารเพื่อสแดงออกถึงความมั่งคั่งของตน ทำให้เกิดลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่หรูหรานี้ขึ้น[4] ลักษณะที่มีสีสันสดใสและเด่นชัดนี้พบในวัดสำคัญ, คฤหาสน์ และหอบรรพบุรุษ

งานแกะสลักเครื่องเคลือบตัด[แก้]

งานแกะสลักเครื่องเคลือบตัด (จีน: 剪瓷雕, Tsián-huî-tiau) เป็นงานที่พบได้ทั่วไปในสถาปัตยกรรมฮกเกี้ยนและสถาปัตยกรรมเวียดนาม[5][6] ศิลปินเครื่องเคลือบดั้งเดิมจะนำเครื่องเคลือบต่าง ๆ เช่นถ้วยและชาม มาตัดหรือป่นเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ และนำชิ้นส่วนเหล่านี้ไปติดกับอาคารหรืองานแกะสลักเพื่อตกแต่ง ลักษณะศิลปะที่พบได้ตามองค์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร เช่น สันหลังคา, ขอบหน้าต่าง หรือประตู งานศิลปะพวกนี้มักแสดงถึงพืช, สัตว์ และสิ่งมีชีวิตในตำนานจีน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Yifang, L. I. U. (2008). Debate on the Characteristics of Traditional Architectures in South Fujian and It's Inheritance [J]. Journal of Wuyi University, 2, 017.
  2. 曹春平. 《闽南传统建筑》. 中國: 厦门大学出版社. 2006-06.
  3. 福建省炎黄文化研究会、中国人民政治协商会议、泉州市委会. 《闽南文化研究》第2卷. 中國: 海峽文艺出版社.
  4. "永不停息的振翅飛翔 燕尾與有官品的家族無關". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
  5. 許東生. 《潮汕嵌瓷工藝研究:以存心善堂為例》. 美術學報. 2011年4月.
  6. 陳磊. 《閩南民間藝術奇葩-剪瓷雕》. 南京藝術學院學報. 2009年6月.