สถาบันวัฒนธรรมประชาชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบันวัฒนธรรมประชาชน (Institute of People's Culture) หรือเลิมบากา เกอบูดายาอัน รักยัต (Lembaga Kebudajaan Rakjat) หรือเรียกในชื่อว่าเลอกรา (Lekra) เป็นขบวนการเรียนรู้เชิงสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2493 เลอกราได้ชักนำให้ศิลปินและนักเขียนดำเนินรอบตามหลักการสัจจสังคมนิยม กลุ่มนี้ถูกคว่ำบาตรไปพร้อมกับพรรคคอมมิวนิสต์หลังการเกิดขึ้นของขบวนการ 30 กันยายน

ประวัติ[แก้]

เลอกราก่อตั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2493 โดย เอ. เอส. ดารมาซึ่งเป็นเลขาธิการทั่วไปคนแรก การตั้งองค์กรนี้เป็นการตอบสนองต่อขบวนการเกอลังฆังซึ่งขบวนการเชิงสัจจนิยมและชาตินิยม กลุ่มนี้ได้ตีพิมพ์หนังสือมูกามิดะห์ (Mukamidah) ซึ่งหมายถึงการำเข้ามา และเป็นการเรียกร้องให้คนหนุ่มสาวโดยเฉพาะศิลปินและนักเขียน ให้เข้ามาร่วมก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ต่อมาใน พ.ศ. 2499 เลอกราได้ออกมาเชิญชวนอีกครั้งที่มีพื้นฐานบนสัจจสังคมนิยม ซึ่งเรียกร้องให้ศิลปินสนับสนุนความก้าวหน้าของสังคมและสะท้อนความเป็นจริงของสังคม แทนที่จะแสดงถึงจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์ เลอกราจัดการประชุมระดับนานาชาติครั้งแรกที่สุรการ์ตาใน พ.ศ. 2502 ซึ่งได้เชิญประธานาธิบดีซูการ์โนเข้าร่วมด้วย

ใน พ.ศ. 2505 เลอกราได้เริ่มแสดงเสียงเรียกร้องให้ต่อต้านขบวนการของบุคคลต่างๆรวมทั้งผู้นำทางศาสนา ฮัขญี อัลดุล มาลิก การิม อัมรุลเลาะห์ และเอกสารของ เฮชบี ญาสซีน ตั้งแต่ พ.ศ. 2506 เป็นต้นมา เลอกราประกาศว่ามีสมาชิกราว 100,000 คนและมีสาขา 200 แห่ง และเริ่มถูกจับตาโดยกองกำลังรักษาความมั่นคงของกองทัพโดยใกล้ชิด หลังจากรัฐประหารที่ล้มเหลวในวันที่ 30 กันยายน มีการสังหารผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวาง เลอกราถูกมองว่าเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ในที่สุดองค์กรนี้ถูกคว่ำบาตรไป

อ้างอิง[แก้]

  • Bodden, Michael (2010). "Modern Drama, Politics, and the Postcolonial Aesthetics of Left-Nationalism in Sumatra: The Forgotten Theater of Indonesia's Lekra, 1955-1965". ใน Day, Tony (บ.ก.). Cultures at War: The Cold War and Cultural Expression in Southeast Asia. Studies on Southeast Asia. Ithaca, New York: Southeast Asia Program Publications. ISBN 978-0-8108-4935-8.
  • Cribb, Robert; Kahin, Audrey (2004). Historical Dictionary of Indonesia. Historical dictionaries of Asia, Oceania, and the Middle East. Lanham, Maryland: Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-4935-8.
  • Rampan, Korrie Layun (2000). Leksikon Susastra Indonesia [A Lexicon of Indonesian Literature] (ภาษาอินโดนีเซีย). Jakarta: Balai Pustaka. ISBN 978-979-666-358-3.[ลิงก์เสีย]