สถาบันการศึกษานานาชาติบริดจ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันการศึกษานานาชาติบริดจ์

สถาบันการศึกษานานาชาติบริดจ์ เป็นเครือข่ายโรงเรียนอนุบาลและประถม มีสาขาแรกที่ประเทศเคนยา[1] และต่อมาได้ขยายสาขาไปอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ไลบีเรีย,[2] ไนจีเรีย,[3] อูกานดา,[4] และอินเดีย[5] ปัจจุบันบริดจ์มีสาขาประมาณ 500 สาขา และมีนักเรียนกว่า 80,000 คน ก่อตั้งโดยแชนอน เมย์, จิม คิมเมลแมน, และฟิล เฟรย์ เมื่อปี 2008[6]

วิสัยทัศน์ของบริดจ์คือการแก้ไขปัญหาระบบการศึกษาของประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งหมายถึงการแก้ไขผู้สอนที่ไร้ประสิทธิภาพ ห้องเรียนที่ขาดอุปกรณ์การเรียน หรือการฉ้อฉลเป็นต้น ค่าเรียนของบริดจ์สำหรับนักเรียน 1 คนอยู่ที่ 6 ดอลลาร์ต่อเดือน[7]

ผลวิจัยรายงานว่าการขาดสอนของครูในบริดจ์อยู่ที่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ส่วนโรงเรียนรัฐบาลในเคนยามีผู้ขาดสอนอยู่ที่ร้อยละ 47[8]

ข้อวิจารณ์[แก้]

บริดจ์ถูกวิจารณ์อย่างต่อเนื่องว่าระบบการสอนนั้นเถรตรงเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ และไม่ได้มาตรฐานตามประเทศฝั่งตะวันตก[9] นอกจากนี้บริดจ์ยังถูกมองว่าเป็นองค์กรแสวงหาผลกำไรจากผู้ยากจน และทำให้โรงเรียนรัฐบาลหลายแห่งในเคนยาไม่ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากต่างประเทศ[10][11]

ราคา 6 ดอลลาร์ต่อเดือนนั้น มีนักวิจารณ์บางคนมองว่าเป็นราคาที่แพงเกินไปสำหรับประชากรในเคนยา อีกทั้งราคาจริงอาจสูงกว่านี้เนื่องจากบริดจ์มีการเก็บค่าอาหารและค่าชุดเครื่องแบบ มีผู้ประมาณว่าราคาจริงอาจอยู่ที่ประมาณ 10 ดอลลาร์ต่อเดือน[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Kenya". Bridge International Academies (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  2. "Liberia". Bridge International Academies (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  3. "Nigeria". Bridge International Academies (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-08. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  4. "Uganda". Bridge International Academies (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  5. "India". Bridge International Academies (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-08. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  6. Bridge International Academies (2017-06-26), A Proven Approach, สืบค้นเมื่อ 2017-07-11
  7. "World Bank Peddling Private, For-Profit Schools In Africa, Disguised As Aid". www.mintpressnews.com/. สืบค้นเมื่อ 2015-07-31.
  8. "Bridge International Academies gets high marks for ambition but its business model is still unproven". The Economist. สืบค้นเมื่อ 2017-07-11.
  9. "'Academies-in-a-Box' Are Thriving—But Are They the Best Way to School the World's Poor?". Cal Alumni Association (ภาษาอังกฤษ). 2014-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-17. สืบค้นเมื่อ 2017-08-17.
  10. Davidson, Marcia (2015). "Scripted Reading Lessons And Evidence For Their Efficacy" (PDF). USAID. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-05. สืบค้นเมื่อ July 11, 2017.
  11. "Do For-Profit Schools Give Poor Kenyans A Real Choice?". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-17.
  12. "World Bank Peddling Private, For-Profit Schools In Africa, Disguised As Aid". www.mintpressnews.com/. สืบค้นเมื่อ 2015-07-31.