สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

พิกัด: 13°43′23″N 100°33′36″E / 13.7231°N 100.5600°E / 13.7231; 100.5600
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีศูนย์ฯ สิริกิติ์)
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
BL23

Queen Sirikit National Convention Centre
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′23″N 100°33′36″E / 13.7231°N 100.5600°E / 13.7231; 100.5600
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL23
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 19 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25642,615,726
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
คลองเตย
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน สุขุมวิท
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (อังกฤษ: Queen Sirikit National Convention Centre Station, รหัส BL23) หรือสถานีศูนย์ฯ สิริกิติ์ (อังกฤษ: Queen Sirikit Centre Station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนรัชดาภิเษก-พระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีทำเลอยู่ใจกลางย่านธุรกิจ ใกล้กับ สวนเบญจกิติ และตลาดคลองเตย

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ ด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณทิศเหนือของสี่แยกพระรามที่ 4 จุดบรรจบของถนนรัชดาภิเษก ถนนพระรามที่ 4 และถนนพระรามที่ 3 ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

สถานีศูนย์ฯ สิริกิติ์แห่งนี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นสถานีที่สามารถใช้เดินทางเข้าสู่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานประชุมและกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับประเทศและระดับนานาชาติได้โดยตรง จึงมีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมากเมื่อมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ โดยเฉพาะ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และ มหกรรมหนังสือระดับชาติ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังเป็นสถานีที่ผู้โดยสารสามารถใช้เดินทางมายังตลาดคลองเตยซึ่งเป็นย่านตลาดสดขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้สะดวกที่สุด ด้วยระยะทางประมาณ 300 เมตรจากทางเข้า-ออกที่ 1 และ 2 ของสถานี ข้ามสะพานลอยบริเวณสี่แยกพระรามที่ 4 มายังบริเวณตลาด ในขณะที่สถานีคลองเตยซึ่งอยู่ถัดออกไปนั้นอยู่ห่างจากย่านตลาดคลองเตยไม่ต่ำกว่า 600 เมตร และได้ตั้งชื่อสถานีคลองเตยโดยคำนึงถึงที่ตั้งในเขตคลองเตย และอยู่ใต้แนวคลองเตยเดิม แต่กลับไม่ได้หมายความถึงย่านตลาดคลองเตยอย่างเฉพาะเจาะจง

แผนผังสถานี[แก้]

G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารเอฟวายไอเซ็นเตอร์, สวนเบญจกิติ, สวนป่าเบญจกิติ
B1
ทางเดินลอดถนน
ทางเดินลอดถนน ทางออก 1-4, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

"สามเหลี่ยมของอาคาร" สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมของอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์หลังเดิมก่อนการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2562 โดยใช้สีเหลืองซึ่งเป็นสีที่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์[1]

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 196 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 20 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]

ทางเข้า-ออกที่ 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  • 1 ชุมชนไผ่สิงโต, อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์, ตลาดคลองเตย, ป้ายรถประจำทางไปตลาดคลองเตย
  • 2 ไทยเบฟ ควอเตอร์, เดอะ พาร์ค เวิร์กเพลส, โรงพยาบาลเมดพาร์ค, ตลาดคลองเตย, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกอโศกมนตรี
  • 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ทางเชื่อม), สวนเบญจกิติ, สวนป่าเบญจกิติ
  • 4 ชุมชนไผ่สิงโต, ป้ายรถประจำทางไปตลาดคลองเตย

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 3 ชั้นชานชาลา

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 1 และ 2
  • พื้นที่จอดรถบริเวณทางเข้า-ออกที่ 2 หัวมุมสี่แยกพระรามที่ 4

ศูนย์การค้าภายในสถานี[แก้]

ภายในสถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือเมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี กำหนดเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2566[2]

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[3]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:58 23:39
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:02 23:56
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:59 23:42
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:58 23:42
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:56

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ถนนรัชดาภิเษก[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่เมกาบางนา ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
185 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย
136 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
  • ถนนรัชดาภิเษก-พระรามที่ 4 สาย 136 185 71(1-39)(TSB) 3-54 3-55
  • ถนนสุนทรโกษา ข้างตลาดคลองเตย, พระหฤทัยคอนแวนต์ สาย 4(ขสมก.) 13 14(3-39)(TSB) 47 74 102 136 141 180(มุ่งหน้า เมกา บางนา) 185 519 195(มุ่งหน้า เดอะมอลล์ ท่าพระ) 205(มุ่งหน้า เดอะมอลล์ ท่าพระ) 4(3-36)(TSB)
  • ถนนสุนทรโกษา หลังตลาดคลองเตย, สนามกีฬาการท่าเรือฯ สาย 4(ขสมก.) 13 47 74 136 195 141 205 180(มุ่งหน้าสาธุประดิษฐ์) 185 519 107(มุ่งหน้า อู่บางเขน) 71(1-39)(TSB)(มุ่งหน้าไป คลองเตย) 4(3-36)(TSB) สองแถว 1268 102(มุ่งหน้า เซ็นทรัล พลาซ่า พระาม 3) 26A(1-77)(TSB)
  • ถนนพระรามที่ 4 หน้าตลาดคลองเตย สาย 22 45 46(3-10) 115(1-45) 507(3-13) 519 107(มุ่งหน้า อู่บางเขน) 185(มุ่งหน้าไป คลองเตย) 136(มุ่งหน้าไป คลองเตย) 71(1-39)(TSB)(มุ่งหน้าไป คลองเตย) 3-54(มุ่งหน้า ตลาดพลู) 149(4-53)
  • ถนนอาจณรงค์ สองแถวสาย 1268 สำนักงาน ปตท.พระโขนง-สนามกีฬาการท่าเรือคลองเตย

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

แผนผังบริเวณสถานี

อาคารสำนักงานและโรงแรม[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

  • 16–19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ปิดให้บริการชั่วคราว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจและผู้เข้าร่วมประชุมเอเปค 2022[4][5] ทั้งนี้ ขบวนรถไฟฟ้ายังวิ่งให้บริการตามปกติ แต่ไม่จอดที่สถานีดังกล่าว[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "ดีเดย์ ปี 66 ผุด "เมโทร มอลล์" แห่งใหม่ "สถานีลาดพร้าว-ศูนย์สิริกิติ์"". thansettakij. 2022-07-29.
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  4. "ผบ.ตร.ติวเข้มความพร้อมเอเปค". สำนักข่าวไทย อสมท (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-10-31.
  5. "ประกาศปิด MRT สถานีศูนย์สิริกิติ์รับประชุมเอเปค 16-19 พ.ย.นี้". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-11-09.
  6. "งดใช้สวนเบญจกิติช่วงประชุมเอเปค ปิดเส้นทางน้ำหน้ากองทัพเรือ 18 พ.ย." ประชาชาติธุรกิจ. 2022-11-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]