สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

พิกัด: 13°45′58″N 100°34′12″E / 13.7661°N 100.5700°E / 13.7661; 100.5700
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีศูนย์วัฒนธรรม)
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
BL19

Thailand Cultural Centre
ชานชาลาสายสีน้ำเงิน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′58″N 100°34′12″E / 13.7661°N 100.5700°E / 13.7661; 100.5700
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
2 ชานชาลาด้านข้าง (ก่อสร้าง)
ราง4 (2 เปิดบริการและ 2 ก่อสร้าง)
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีสายสีน้ำเงิน: BL19
สายสีส้ม: OR13
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 19 ปีก่อน (2547-07-03)
ชื่อเดิมเทียมร่วมมิตร
ผู้โดยสาร
25644,103,960
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
พระราม 9
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน ห้วยขวาง
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Thailand Cultural Centre Station, รหัส BL19 (สายสีน้ำเงิน), OR14 (สายสีส้ม)) หรือสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร 2 สาย คือสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายสีส้ม ตั้งอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษก ในพื้นที่เขตห้วยขวางและเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ ศูนย์การค้า ที่พักอาศัย และอยู่ใกล้สถานที่สำคัญด้านศิลปวัฒนธรรม เช่นศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นชุมทางรถไฟฟ้าในทิศทางจากสถานีห้วยขวางขึ้นบนระดับพื้นดิน เข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าห้วยขวาง

ที่ตั้ง[แก้]

พื้นที่สายสีน้ำเงินตั้งอยู่ใต้ถนนรัชดาภิเษก บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก ไปจนถึงอาคารอาร์เอส ทาวเวอร์ ในพื้นที่แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง ส่วนพื้นที่สายสีส้มตั้งอยู่ใต้ถนนรัชดาภิเษกในแนวตั้งฉากกับสายสีน้ำเงิน ในพื้นที่แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

ก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สถานีแห่งนี้ได้ใช้ชื่อว่า "สถานีเทียมร่วมมิตร" ตามชื่อทางแยกและถนนที่ตัดถนนรัชดาภิเษกบริเวณที่ตั้งสถานี แต่ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ "สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย" ในภายหลัง เพราะที่ตั้งสถานีห่างจากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยเพียง 200 เมตรเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีถนนเข้าสู่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยโดยตรง ผู้โดยสารเมื่อขึ้นจากสถานีจะต้องเดินอ้อมไปยังแยกเทียมร่วมมิตรและเดินมาตามถนนวัฒนธรรม รวมระยะทางกว่า 600 เมตรจากทางเข้า-ออกสถานีหมายเลข 1 จึงไม่สะดวกเท่าที่ควร และผู้โดยสารส่วนมากจำเป็นต้องใช้บริการรถรับจ้างเข้าสู่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ต่อมาในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ได้มีการกำหนดทางขึ้นลงเพิ่มเติมอีก 2 จุด รวมเป็น 6 ทางออก เพื่อเปิดทางให้สามารถเข้าถึงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยได้ง่ายขึ้น

แผนผังสถานี[แก้]

G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
อาคารจอดแล้วจร, เอสพลานาด รัชดาภิเษก,
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B2
ชั้น Interchange Hall สายสีส้ม
(ยังไม่เปิดใช้งาน)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสีส้ม มุ่งหน้า สถานีแยกร่มเกล้า
ชานชาลา 2 สายสีส้ม มุ่งหน้า สถานีบางขุนนนท์
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
B3
ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดของสถานี[แก้]

ชั้นขายบัตรโดยสาร เสาบางต้นมีตำแหน่งเยื้องกัน เพื่อเว้นช่องว่างให้รางรถไฟฟ้าสายสีส้มในอนาคต
ทางเข้า-ออกที่ 3
พื้นที่ชั้นชานชาลาของสายสีส้ม ถูกปิดเพื่อการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

สีสัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา หมายถึงเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม [1]

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 27 เมตร ยาว 358 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 20 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ความโดดเด่นของโครงสร้างสถานี[แก้]

เป็นสถานีที่ยาวที่สุดถึง 358 เมตร เพราะเป็นสถานีชุมทางไปสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง จึงได้เพิ่มความยาวรางรถไฟฟ้าเพื่อเพิ่มรัศมีวงเลี้ยวไปยังศูนย์ซ่อมบำรุง

ทางเข้า-ออก[แก้]

  • 1 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สามแยกเทียมร่วมมิตร
  • 2 ซอยรัชดาภิเษก 8, อาคารจอดแล้วจร, อาคารทรูทาวเวอร์
  • 3 เอสพลานาด รัชดาภิเษก, สำนักงานใหญ่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, อาคารเอไอเอ แคปิตอล เซ็นเตอร์, สถานทูตเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย, ซอยรัชดาภิเษก 5
  • 4 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์, อาคารไทยประกันชีวิต, จ็อดด์แฟร์ รัชดาภิเษก, สำนักงานใหญ่พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค, บิ๊กซี รัชดาภิเษก, เดอะสตรีท รัชดา
  • 5 ถนนรัชดาภิเษก ฝั่งตรงข้ามเอสพลานาด รัชดาภิเษก (ยังไม่เปิดใช้งาน)
  • 6 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), กระทรวงวัฒนธรรม, ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ยังไม่เปิดใช้งาน)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  • พื้นที่จอดรถ 2 จุด ได้แก่อาคารจอดแล้วจร ความจุ 200 คัน และลานจอดรถ 30 คัน
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ทางเข้า-ออกหมายเลข 1 (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)

ศูนย์การค้าภายในสถานี[แก้]

ภายในสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี เปิดให้บริการ 19 เมษายน 2560

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:54 23:50
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:03 23:50
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:53 23:48
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:57 23:48
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:01

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ถนนรัชดาภิเษก[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
73 (2-45) (3) รถโดยสารประจำทาง อู่สวนสยาม สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) ขสมก.
สนามกีฬาห้วยขวาง
136 (1) อู่คลองเตย สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
137 (3-48) (2) วงกลม : รามคำแหง อู่พระราม 9 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

179 (3-49) (3) อู่พระราม 9 สะพานพระราม 7 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
185 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต อู่คลองเตย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
206 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่เมกาบางนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

มีรถให้บริการทางด่วน (ให้บริการเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน)
514 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี รถโดยสารประจำทาง สีลม 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
517 (1-56) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส

MRT ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด เส้นทาง เวลาเดินรถเที่ยวแรก (วนซ้าย) เวลาเดินรถเที่ยวแรก (วนขวา) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (วนซ้าย) เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (วนขวา) ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
137 (3-48) (2) วงกลม : รามคำแหง อู่พระราม 9

137
(วงกลม)
อู่พระราม 9
เดอะมอลล์บางกะปิ
ม.รามคำแหง
พระราม 9
รัชดาฯ
ลาดพร้าว 71

05:00 น. 22:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
ถนนรัชดาภิเษก
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
73 สวนสยาม สะพานพุทธ
73 ห้วยขวาง สะพานพุทธ หมดระยะห้วยขวาง
136 คลองเตย หมอชิต 2
137 วงกลม รัชดาภิเษก รามคำแหง
179 อู่พระราม 9 สะพานพระราม 7
185 รังสิต คลองเตย
206 เมกาบางนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีรถบริการตลอดคืน
206 ปอ. เมกาบางนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
514 มีนบุรี สีลม
517 (1-56) หมอชิต 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
  • ถนนรัชดาภิเษก สาย 73 136 137 179 185 206 514 517 (1-56) (รถไปหมอชิต2)

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

แผนผังบริเวณสถานี

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน[แก้]

เหตุการณ์สำคัญในอดีต[แก้]

เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เวลา 09.30 น. ได้เกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าเปล่าจากศูนย์ซ่อมบำรุงถอยมาชนขบวนรถไฟฟ้าอีกขบวนซึ่งมีผู้โดยสารกว่า 700 คนและกำลังจอดรับส่งผู้โดยสารภายในสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ปลายทางสถานีหัวลำโพง ทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 100 คน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต

สาเหตุเกิดจากรถไฟฟ้าขบวนหนึ่งเสียบริเวณทางโค้ง (เป็นบริเวณที่สับราง) ก่อนถึงทางลาดขึ้นสู่ระดับพื้นดินเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง ทางศูนย์ซ่อมบำรุงได้ส่งรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งมาช่วยลากรถขึ้นจากอุโมงค์ แต่เนื่องจากรถเสียอยู่บริเวณที่สับรางจึงไม่สามารถลากรถได้ ทางศูนย์ฯ จึงสั่งให้พนักงานขับรถไฟฟ้าปล่อยเบรกลมออกเพื่อให้รถเคลื่อนที่พ้นออกไปจากบริเวณที่สับราง แต่ปรากฏว่าตัวรถได้ไหลกลับลงไปในอุโมงค์มุ่งหน้าสู่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในขณะเดียวกันกับที่มีรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งมุ่งหน้าสถานีพระราม 9 ได้จอดรับผู้โดยสารอยู่ในสถานี ทำให้รถไฟฟ้าที่มีผู้โดยสารถูกรถไฟฟ้าที่เสียดังกล่าวไหลมาชนและมีผู้บาดเจ็บหลายราย หลังจากเหตุการณ์นั้นทางบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) ได้ออกคำสั่งให้หยุดบริการเดินรถไฟฟ้าเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อซ่อมแซมขบวนรถไฟฟ้าและชานชาลาที่เกิดเหตุ[3]

การเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าในอนาคต[แก้]

ในอนาคตสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยจะเป็นสถานีที่เชื่อมต่อโดยตรงกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ซึ่งขณะนี้ได้สร้างชั้นชานชาลารองรับไว้แล้ว

อ้างอิง[แก้]

  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  3. ข่าวดังข้ามเวลา : บทเรียนใต้พิภพ (21 มี.ค.59)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]