สถานีเซนต์หลุยส์

พิกัด: 13°43′15″N 100°31′37″E / 13.7209576°N 100.5270246°E / 13.7209576; 100.5270246
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีศึกษาวิทยา)
เซนต์หลุยส์
S4

Saint Louis
ชานชาลาเมื่อพฤษภาคม 2564
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้ เขตบางรักและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′15″N 100°31′37″E / 13.7209576°N 100.5270246°E / 13.7209576; 100.5270246
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS4
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564; 3 ปีก่อน (2564-02-08)
ชื่อเดิมศึกษาวิทยา
ผู้โดยสาร
2564673,475
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
ช่องนนทรี สายสีลม สุรศักดิ์
มุ่งหน้า บางหว้า
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีเซนต์หลุยส์ (อังกฤษ: Saint Louis station; รหัส: S4) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม ยกระดับคร่อมเหนือถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้ในพื้นที่เขตบางรักและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นอีกหนึ่งสถานีที่อยู่บริเวณใจกลางย่านธุรกิจถนนสาทร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[1][2] ถือเป็นสถานีรถไฟฟ้าเพิ่มเติมแห่งแรกของประเทศไทย ที่สร้างขึ้นบนแนวรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน เดิมทีสถานีเซนต์หลุยส์จัดเป็นสถานีในอนาคตที่ไม่ได้มีการก่อสร้างในอดีต แต่มีการตั้งรหัสสถานีเพื่อใช้ในการการคิดค่าโดยสารมาแล้วเป็นเวลา 21 ปี

ที่ตั้ง[แก้]

อยู่เหนือคลองสาทรและถนนสาทรเหนือและสาทรใต้ บริเวณปากซอยสาทร 11 (เซนต์หลุยส์ 3) ด้านหน้าอาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาทร ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร และโรงแรมแอสคอทท์ กรุงเทพ สาทร ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ห่างจากสถานีช่องนนทรี 610 เมตร และห่างจากสถานีสุรศักดิ์ 570 เมตร

ประวัติสถานี[แก้]

สถานีเซนต์หลุยส์ขณะกำลังก่อสร้าง

ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีสถานีเซนต์หลุยส์เป็นเพียงหนึ่งในสองโครงการศึกษาการเพิ่มสถานีในอนาคต เพื่อรองรับกับประชาชนที่จะมาใช้บริการที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์และโรงพยาบาลบางรัก (ปัจจุบันคือ ศูนย์ความเป็นเลิศโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางรัก กรมควบคุมโรค) แต่เนื่องจากในช่วงก่อสร้างบีทีเอสซีไม่ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของย่าน จึงได้จัดเตรียมตอม่อแบบพิเศษที่รองรับการก่อสร้างสถานีในอนาคตแทนการก่อสร้างตัวสถานี และเก็บรหัสสถานีไว้สำหรับการเก็บค่าโดยสาร ต่อมาได้มีการประเมินโอกาสในการเติบโตเป็นระยะ ซึ่งผลจากการประเมินปรากฏว่าไม่คุ้มทุน บีทีเอสซีจึงยกเลิกโครงการก่อสร้างสถานีและเก็บรหัสสถานีไว้เพื่อคิดค่าโดยสารตามระยะทางตามเดิม[3] อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2558 บีทีเอสซี ได้ยื่นเรื่องต่อ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด ในฐานะผู้ดูแลกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท เพื่อขอเสนอฟื้นฟูโครงการขึ้นมาอีกครั้ง โดยขั้นต้นมีงบในการก่อสร้าง 450 ล้านบาท ซึ่งบีทีเอสซีจะจัดสรรงบลงทุนครึ่งหนึ่ง และให้กองทุนจัดหาเงินลงทุนอีกครึ่งหนึ่งโดยไม่มีการกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนภายนอก คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายใน 18 เดือนนับจากวันที่โครงการได้รับการอนุมัติจากกรุงเทพมหานคร[4]

ต่อมา กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท ได้อนุมัติให้บีทีเอสซีดำเนินการก่อสร้างสถานีดังกล่าว ภายใต้งบประมาณในการก่อสร้างรวมงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคทั้งหมด 900 ล้านบาท แหล่งเงินทุนในการพัฒนาสถานีแบ่งเป็นเงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท จำนวนครึ่งหนึ่ง และเงินจากกลุ่มบริษัทเอไอเออีกครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้กลุ่มเอไอเอ จะได้สิทธิ์ในการเชื่อมต่ออาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาทร เข้ากับตัวสถานีด้วย การก่อสร้างสถานีเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยมี บริษัท จอมธกล จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างงานโยธาทั้งหมด การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี 9 เดือน

ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้าง บีทีเอสซีได้ประกาศใช้ชื่อสถานีแห่งนี้อย่างเป็นทางการว่า สถานีเซนต์หลุยส์ ตามชื่อของซอยฝั่งถนนสาทรใต้ และชื่อย่านที่รู้จักโดยทั่วไปว่า ย่านเซนต์หลุยส์[5] แทนชื่อเดิมคือ สถานีศึกษาวิทยา อันเป็นชื่อของโรงเรียนศึกษาวิทยาเก่าที่ได้เลิกกิจการแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้ศึกษาวิทยา ยังเป็นชื่อของซอยฝั่งถนนสาทรเหนืออีกด้วย

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (สุรศักดิ์)
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (ช่องนนทรี)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-5, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
อาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาทร
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ซอยสาทร 11, ซอยสาทร 12,
ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร, อาคารแอทสาทร, โรงเรียนอนุบาลชวนชื่น, สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

รูปแบบสถานี[แก้]

โครงสร้างสถานีเซนต์หลุยส์มีรูปแบบสถานีคล้ายสถานีส่วนต่อขยาย โดยมีลิฟต์รับรองผู้พิการทั้งหมด 3 ตัว บันไดเลื่อน 3 ตัว จากทางออก 4 หนึ่งตัว และจากชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารไปชั้นชานชาลาฝั่งละ 1 ตัว ชานชาลาเป็นแบบ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ตัวสถานีประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด ไม่มีประตูกั้นชานชาลา ปลายชานชาลาที่ 4 ปลายสถานีด้านทิศตะวันออก และทางออกที่ 3 มีการติดตั้งแผงกั้นระดับสายตา ด้วยเหตุผลด้านความเป็นส่วนตัวเนื่องมาจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่โรงเรียนอนุบาลชวนชื่น

ทางเข้า-ออก[แก้]

  • 1 ซอยสาทร 12 (ศึกษาวิทยา 2), เฮลท์แลนด์ สปา แอนด์ มาซซาจ
  • 2 อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ (สะพานเชื่อมพร้อมบันไดเลื่อนและลิฟต์), ซอยสาทร 11 (เซนต์หลุยส์ 3)
  • 3 ซอยสาทร 10 (ศึกษาวิทยา 1), โรงเรียนอนุบาลชวนชื่น
  • 4 ซอยสาทร 9 (พิกุล), ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร, ศูนย์ความเป็นเลิศโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางรัก กรมควบคุมโรค, โรงแรมแอสคอทท์ สาทร กรุงเทพ (ลิฟต์และบันไดเลื่อน)
  • 5 อาคารแอทสาทร (อาคารพรูเดนเชียล), โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์, วิทยาลัยเซนต์หลุยส์, สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ทางเดินเชื่อมสะพานลอย)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 1 หน้าเฮลท์แลนด์ สปา แอนด์ มาซซาจ และ ทางออก 3 หน้าโรงเรียนอนุบาลชวนชื่น

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[6]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.41 00.25
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.45 00.03
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.50

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ใช้สีม่วงตกแต่งเสาและรั้วบนชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว และป้ายทางเข้าสถานี เพื่อบ่งบอกว่า เป็นสถานีด้านใต้

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  • ลิฟต์ สำหรับผู้พิการ จากทางออก 2 และ 4 ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและจากชั้นขายบัตรโดยสารไปชั้นชานชาลาทั้ง 2 ฝั่ง
  • ร้าน เทอร์เทิล ซึ่งให้บริการสินค้าภายในพื้นที่ตรวจบัตรโดยสารแล้ว และให้บริการตู้ขายสินค้าบริเวณชั้นชานชาลา นับเป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแห่งแรกที่อนุญาตให้รับประทานอาหารได้ภายในพื้นที่ชำระเงินแล้ว

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
21E (4-7E) Handicapped/disabled access 5 (กปด.15) วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) ขสมก. รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขสวัสดิ์ ลงด่านสาทร)
77 4 (กปด.24) เซ็นทรัลพระราม 3 รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
77 รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
17 (4-3) Handicapped/disabled access บิ๊กซีพระประแดง รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
77 (3-45) Handicapped/disabled access เซ็นทรัลพระราม 3 รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
149 (4-53) Handicapped/disabled access บรมราชชนนี รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
167 (4-26) Handicapped/disabled access เคหะธนบุรี สวนลุมพินี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
167 (4-26) รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)

ถนนสาทรเหนือ-สาทรใต้

  • สาย 17 พระประแดง - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3 - หมอชิต
  • สาย 149 ตลิ่งชัน - เอกมัย
  • สาย 167 เคหะธนบุรี - สวนลุมพินี

เฉพาะถนนสาทรใต้

  • สาย 1-32E บางเขน - ตลาดพลู
  • สองแถว 1256 วัดช่องลม - สะพานตากสิน

อุบัติเหตุ[แก้]

  • วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 00:20 น. เกิดเหตุรถไฟฟ้าเฉี่ยวชน นายเน เรียว สัญชาติเมียนมา ซึ่งเป็นพนักงานของ บริษัท จอมธกล จำกัด ผู้รับจ้างงานก่อสร้างงานโยธาสถานีเซนต์หลุยส์ เนื่องจากพนักงานคนดังกล่าวฝ่าฝืนเข้าพื้นที่ระบบรางเพื่อเตรียมก่อสร้างสถานีก่อนเวลาที่บีทีเอสซีกำหนด มีผลทำให้ขบวนรถที่กำลังมุ่งหน้าไปสถานีบางหว้าขบวนสุดท้ายเกิดความล่าช้าทั้งหมด ทันทีที่เกิดอุบัติเหตุเจ้าหน้าที่ได้สั่งหยุดรถไฟฟ้าและสั่งตัดกระแสไฟฟ้าทั้งระบบเพื่อลงไปช่วยเหลือโดยนำกำลังเจ้าหน้าที่ปอเต็กตึ๊ง 6 นาย ขึ้นไปยกร่างผู้บาดเจ็บลำเลียงลงมาทางสถานีช่องนนทรี ใช้เวลาปฏิบัติการทั้งหมด 1 ชั่วโมง 30 นาที ก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้าและส่งผู้โดยสารตกค้างทั้งหมดลงที่สถานีสุรศักดิ์ต่อไป หลังเหตุการณ์นี้บีทีเอสซีได้สั่งระงับการก่อสร้างสถานีเซนต์หลุยส์เป็นระยะเวลา 1 อาทิตย์ เพื่อวางแผนการรักษาความปลอดภัย และกวดขันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก[7][8]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ มองจากสถานีเซนต์หลุยส์

อ้างอิง[แก้]

  1. "รถไฟฟ้าบีทีเอสเตรียมเปิดใช้ "สถานีเซนต์หลุยส์" 8 ก.พ.นี้". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  2. "Saint Louis BTS station to open from Monday". The Nation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 7 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ผู้ตรวจฯ เร่งแก้ไขปัญหาการคิดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสเกินจริง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-02. สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.
  4. "สร้างจริงหรอ…? สถานีศึกษาวิทยา". REALIST. สืบค้นเมื่อ 27 October 2015.
  5. "บีทีเอส เปลี่ยนชื่อสถานีศึกษาวิทยาเป็น เซนต์หลุยส์ พร้อมให้บริการ ก.พ." สปริงนิวส์. สืบค้นเมื่อ 23 January 2021.
  6. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  7. รถไฟฟ้าบีทีเอส ชนคนงานเจ็บ ฝ่าฝืน-เข้าพื้นที่
  8. BTS แจงเหตุรถไฟฟ้าเฉี่ยวชนคนงานก่อสร้าง เข้าพื้นที่ก่อนเวลาอนุญาต