สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา)
ชุมทางฉะเชิงเทรา
อาคารสถานี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนมหาจักรพรรดิ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
  สายตะวันออกบ้านพลูตาหลวง
ชานชาลา2
ราง9
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี3023 (ฉท.)
ประเภทชั้น 1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ27 มกราคม พ.ศ. 2450; 117 ปีก่อน (2450-01-27)
สร้างใหม่พ.ศ. 2496
ชื่อเดิมแปดริ้ว
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
บางเตย สายตะวันออก โพรงอากาศ
แปดริ้ว
มุ่งหน้า จุกเสม็ด
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 บนทางรถไฟสายตะวันออกของการรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา เป็นจุดรับส่งผู้โดยสาร ถึง สถานีรถไฟอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และสถานีรถไฟจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมทั้งยังเป็น 1 ใน 10 ของสถานีรถไฟขนาดใหญ่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นสถานีที่ขบวนรถไฟสินค้าที่มาจากสายชายฝั่งทะเลตะวันออกต้องแวะ เพื่อเปลี่ยนเส้นทางไปยังอีกช่วง

ประวัติ[แก้]

สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราสร้างราวปี พ.ศ. 2470 แต่เดิมชื่อว่าสถานีเมืองแปดริ้ว ต่อมา พ.ศ. 2496 ได้ย้ายมายังที่ตั้งในปัจจุบัน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา ประมาณปี พ.ศ. 2528 หลังจากโครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงฉะเชิงเทรา-สัตหีบ ของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้แล้วเสร็จ

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราถูกใช้เป็นจุดเชื่อมต่อในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แนะนำการเดินทางด้วยรถไฟจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดฉะเชิงเทรา ในรูปแบบของวันเดย์ทริป[1] เนื่องจากตลอดสองข้างทางมีทิวทัศน์และธรรมชาติจากพื้นที่เกษตรกรรมตลอดสองฝั่งทางรถไฟ รวมถึงในตัวสถานียังมีการจัดแสดงหัวขบวนรถจักรไอน้ำ หมายเลข 182 อยู่บริเวณหน้าสถานี และสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับขนส่งมวลชนต่าง ๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทราโดยใช้การเดินทางด้วยรถสองแถวประจำทางเป็นหลัก[1] มีสถานที่แนะนำดังนี้

ทางคู่เลี่ยงเมือง[แก้]

แผนผังโครงการก่อสร้างทางเลี่ยงย่านสถานีฉะเชิงเทรา

โครงการทางคู่เลี่ยงเมือง[แก้]

โครงการทางคู่เลี่ยงเมือง (อังกฤษ: Chord Line) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างทางคู่ เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย โดยจะมีการก่อสร้างทางเลี่ยงย่านสถานีฉะเชิงเทรา เพื่อให้รถที่มาจากชุมทางคลองสิบเก้าสามารถวิ่งลัดไปท่าเรือแหลมฉบังได้ทันที โดยไม่ต้องเข้ามาในย่านสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา เพื่อลดเวลาในการขนส่งสินค้า

ปัจจุบันการก่อสร้างดังกล่าวได้เสร็จสิ้นแล้ว และเปิดให้บริการในการเชื่อมต่อเส้นทาง ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา - ชุมทางคลอง สิบเก้า - ชุมทางแก่งคอย เมื่อช่วงเดือนกันยายนของปี พ.ศ. 2562[2] ระยะทางรวมกว่า 106 กิโลเมตร[3]

ตารางเวลาการเดินรถ[แก้]

เที่ยวขึ้น[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางฉะเชิงเทรา ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ275 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 05.55 07.36 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 11.17
ร997 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.45 08.00 บ้านพลูตาหลวง 09.50 เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
ธ285 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.55 08.56 ชุมทางฉะเชิงเทรา 08.56 บชส.76-เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
ธ283 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.55 08.56 จุกเสม็ด 11.20
ธ281 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.00 09.30 กบินทร์บุรี 11.35
ช367 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.10 11.45 ชุมทางฉะเชิงเทรา 11.30 บชส.76-มีเดินทุกวัน
ช389 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.10 13.30 ชุมทางฉะเชิงเทรา 13.30
ธ279 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 13.05 14.20 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 17.27
ธ277 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 15.25 16.43 กบินทร์บุรี 18.20
ช391 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.35 18.30 ชุมทางฉะเชิงเทรา 17.55
ช371 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.40 19.20 ปราจีนบุรี 20.55 บชส.76-มีเดินทุกวัน
ธ383 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.25 20.00 ชุมทางฉะเชิงเทรา 20.00
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวล่อง[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางฉะเชิงเทรา ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช384 ชุมทางฉะเชิงเทรา 05.45 05.45 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 07.45
ช372 ปราจีนบุรี 05.00 06.19 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.15 บชส.76-มีเดินทุกวัน
ช388 ชุมทางฉะเชิงเทรา 07.05 07.05 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.35
ธ278 กบินทร์บุรี 06.30 08.31 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.15
ธ280 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 06.58 10.22 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.05
ช368 ชุมทางฉะเชิงเทรา 12.35 12.35 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.10 บชส.76-มีเดินทุกวัน
ช390 ชุมทางฉะเชิงเทรา 14.05 14.05 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 15.25
ธ282 กบินทร์บุรี 13.25 15.34 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.15
ธ286 ชุมทางฉะเชิงเทรา 16.20 16.20 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.25 เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
ธ284 จุกเสม็ด 13.35 16.20 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.15
ร998 บ้านพลูตาหลวง 15.50 17.30 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.55 เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
ธ276 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 13.53 18.00 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 19.40
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. 1.0 1.1 เพื่อนร่วมทาง (2020-11-26). "1 วัน นั่งรถไฟไปเที่ยวฉะเชิงเทรา". TAT Contact Center.
  2. admin (2019-09-11). "การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมเปิดโครงการรถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เดือนกันยายนนี้". Logistics Manager.
  3. "STATUS ล่าสุด รถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน (มีนาคม 2565) - การรถไฟแห่งประเทศไทย". www.railway.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]