ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:ประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สถานีย่อย:สยาม)

ยินดีต้อนรับสู่สถานีย่อยประเทศไทย
Portal:Thailand

ธงชาติไทย
ธงชาติไทย
ตราแผ่นดินของไทย
ตำแหน่งในแผนที่โลก

ประเทศไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดสี่ประเทศ คือ ประเทศลาว กัมพูชา มาเลเซีย และพม่า ล้อมรอบด้วยทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการปกครอง การปกครองส่วนภูมิภาคจัดระเบียบเป็น 77 จังหวัด ประวัติศาสตร์ไทยเริ่มตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย ต่อด้วยอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรธนบุรี และอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ไทยมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ เช่น ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท การแสดงการทักท้ายด้วยการไหว้ ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่

หมวดหมู่ทั้งหมด: ประวัติศาสตร์รัฐบาลการเมืองภูมิศาสตร์เศรษฐกิจวัฒนธรรมบุคคล

หากคุณต้องการร่วมสร้างสารานุกรมวิกิพีเดียในหัวข้อเกี่ยวกับประเทศไทย เชิญแวะได้ที่โครงการวิกิประเทศไทย

แก้ไข   

บุคคลไทยประจำสัปดาห์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี (อ่านต่อ...)

แก้ไข   

รู้ไหมว่า

แก้ไข   

เที่ยวเมืองไทยประจำสัปดาห์

ท้องสนามหลวง เมื่อมีการประกอบพระราชพิธี
ท้องสนามหลวง เมื่อมีการประกอบพระราชพิธี

ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’” ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นมา ได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทำนาที่สนามหลวง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง และไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เป็นกำลังของบ้านเมืองด้วย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีพืชมงคล พิธีพิรุณศาสตร์มีกำแพงแล้วล้อมรอบบริเวณ ข้างในสร้างหอพระพุทธรูปสำคัญเป็นที่ประดิษฐานพระสำหรับพิธี สำหรับการพิธีมีพลับพลาที่ทำการพระราชพิธี มีหอดักลมลงที่พลับพลาสำหรับทอดพระเนตรการทำนา ข้างพลับพลามีโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง ด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้วสำหรับประทับทอดพระเนตรการทำนาในท้องทุ่ง นอกกำแพงแก้วยังมีฉางสำหรับใส่ข้าวที่ได้จากการปลูกข้าว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหลวงจากเดิม และรื้อพลับพลาต่าง ๆ ที่สร้างในรัชกาลก่อน ๆ เพราะหมดความจำเป็นที่จะต้องทำนา และได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การฉลองพระนครครบ 100 ปี งานฉลองเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปใน พ.ศ. 2440 ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ใช้เป็นสนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ อ่านเพิ่มเติม...


แก้ไข   

มีส่วนร่วม


นี่คือส่วนหนึ่งที่ คุณทำได้:

ดูส่วนนี้


แก้ไข   

ภาพสวย ๆ จากเว็บ

สถานีย่อยอื่น ๆ