สถานีย่อย:ภูมิศาสตร์/บทความแนะนำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พืดน้ำแข็ง (อังกฤษ: Ice sheet) หรือเรียกอีกอย่างว่าธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป (อังกฤษ: continental glacier) เป็นมวลของธารน้ำแข็งที่ปกคลุมภูมิประเทศโดยรอบและมีขนาดมากกว่า 50,000 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันพืดน้ำแข็งสามารถพบได้เพียงในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา ช่วงยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายในยุคน้ำแข็งใหญ่สุดครั้งสุดท้าย พืดน้ำแข็งลอเรนไทด์ได้ปกคลุมพื้นที่จำนวนมากของทวีปอเมริกาเหนือ พืดน้ำแข็งไวช์เซเลียนปกคลุมทางเหนือของทวีปยุโรป และ พืดน้ำแข็งปาตาโกเนียปกคลุมทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้ พืดน้ำแข็งนั้นมีขนาดใหญ่กว่าหิ้งน้ำแข็งและธารน้ำแข็งแบบแอลป์ มวลของน้ำแข็งที่ปกคลุมพื้นที่น้อยกว่า 50,000 ตารางกิโลเมตรเรียกว่าครอบน้ำแข็ง

ถึงแม้ว่าผิวหน้าของพืดน้ำแข็งจะหนาวและเย็นแต่บริเวณฐานจะอุ่นเนื่องจากความร้อนใต้พิภพ ในสถานที่ ๆ ทำให้น้ำแข็งด้านล่างละลายจากนั้นก็จะค่อย ๆ พาน้ำแข็งไหลไปเร็วกว่าบริเวณอื่นจะเรียกว่าภูมิภาคน้ำแข็งไหล (Ice stream)

ปัจจุบันพืดน้ำแข็งบริเวณขั่วโลกนั้นยังถือว่ามีอายุน้อยมาก พืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกก่อตัวขึ้นครั้งแรกจากทุ่งน้ำแข็งขนาดเล็กในช่วงต้นสมันโอลิโกซีนจากนั้นก็เพิ่มขนาดและลดลงหลายครั้งจนถึงสมัยพลิโอซีนพืดน้ำแข็งก็คลอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของแอนตาร์กติกา พืดน้ำแข็งกรีนแลนด์นั้นไม่ได้ขยายตัวเลยจนถึงปลายสมัยพลิโอซีนแต่หลังจากนั้นก็พัฒนาตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ธารน้ำแข็งปกคลุมทวีป ทำให้พืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่เกิดแบบรวดเร็วและเฉียบผลันสามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ของพืชที่งอกบนเกาะได้ดีกว่าพืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกที่ค่อย ๆ ก่อตัวอย่างช้า ๆ อ่านต่อ...

บทความแนะนำทั้งหมด