สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่ออื่น | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี),สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน), สายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน) |
ที่ตั้ง | ถนนบรมราชชนนี, แขวงฉิมพลี, เขตตลิ่งชัน, กรุงเทพมหานคร |
พิกัด | 13°46′52″N 100°25′30″E / 13.781178°N 100.425112°E |
เจ้าของ | บริษัท สิริโปรเจกต์ คอนสทรัคชั่น จำกัด (สัมปทานจาก บริษัท ขนส่ง จำกัด)[1] |
สายรถโดยสารประจำทาง | สายใต้, สายกลาง, สายตะวันตก |
ป้ายรถโดยสารประจำทาง | 98 ชานชลา |
ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทาง | บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) |
โครงสร้าง | |
ที่จอดรถ | มีให้บริการ |
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการ | มีให้บริการ |
ประวัติ | |
เริ่มเปิดให้บริการ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550[1] |
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี[2][3] หรือ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) หรือที่เรียกกันติดปากว่า สายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน) เป็นสถานีขนส่ง สำหรับรถโดยสารทางไกล สายใต้ และสายตะวันตกเป็นบางส่วน[4] เป็นสถานีขนส่งเอกชน สร้างและบริหารโดย บริษัท สิริโปรเจกต์ คอนสทรัคชั่น จำกัด โดยได้รับสัมปทานจาก บริษัท ขนส่ง จำกัด กระทรวงคมนาคม เป็นระยะเวลา 20 ปี[5]
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนบรมราชชนนีตัดกับถนนพุทธมณฑลสาย 1 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน ห่างจากสถานีเดิมไปทางตะวันตก (ออกเมือง) บนฝั่งซ้ายของถนนบรมราชชนนี เช่นเดียวกัน ประมาณ 5 กิโลเมตร
ประวัติ
[แก้]แต่เดิมนั้น สถานีขนส่งผู้โดยสารสำหรับสายใต้นั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับแยกไฟฉาย ชื่อว่าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ไฟฉาย) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้ย้ายสถานีขนส่งสำหรับสายใต้ไปอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ก่อนที่จะย้ายไปทำการในพื้นที่ปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2537 เนื่องจากปัญหาของสภาพการจราจรที่หนาแน่น
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี มีเนื้อที่รวม 37 ไร่[6] แบ่งเป็นอาคารผู้โดยสารประมาณ 20 ไร่ และพื้นที่จอดรถประมาณ 10 ไร่ มูลค่ารวม 2,200 ล้านบาท และได้ลงทุนก่อสร้างตัวสถานีไม่รวมค่าที่ดินมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท[1] และเปิดให้บริการเดินรถสายใต้ทั้งหมด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปเปิดเดินรถในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และมีกำหนดเริ่มการเดินรถสายตะวันตกในวันที่ 15 พฤศจิกายน ของปีเดียวกัน
จากการเปิดเผยในปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ของสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี นั้นจะหมดสัมปทานจาก บขส. ลงในปี พ.ศ. 2568 ซึ่ง บขส. มีแนวคิดที่จะย้ายกับมาเดินรถยังพื้นที่เดิมคือสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) ซึ่งเป็นที่ดินของ บขส. เองและจะนำเสนอแผนพัฒนาที่ได้ว่าจ้างให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาเสนอต่อคณะอนุกรรมการได้พิจารณาและดำเนินการให้เสร็จพร้อมให้บริการก่อนหมดสัมปทานในปี พ.ศ. 2568[7] แต่มีกระแสคัดค้านจากภาคประชาชนเนื่องจากปัญหาการจราจรซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต บขส. จึงออกมาชี้แจงว่าการศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงแค่การศึกษาเท่านั้น[8]
ที่ตั้ง
[แก้]สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี ตั้งอยู่ในแขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลัก 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ รถโดยสารประจำทางท้องถิ่น (ขสมก.) และรถไฟฟ้าสายสีแดง[4]
สถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้เคียงคือ
- สถานีตลิ่งชัน ทางออกหลัก
การเดินทางจากสถานีรถไฟฟ้าไปยังสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี สามารถเดินทางได้ด้วยรถแท็กซี่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ไปยังถนนบรมราชชนนีฝั่งขาออก สำหรับรถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ประกอบไปด้วย สาย 124, 170 (ปอ.), 183 (ปอ.), 524 (ปอ.), 539 (ปอ.) และ 66 (ปอ.)[4] สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่รายชื่อด้านล่าง
แผนผังและบริการ
[แก้]สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี มีอาคารหลักสองส่วน คือ อาคารผู้โดยสาร และอาคารชานชาลา โดยมีทางเชื่อม (flyover) เชื่อมต่อกัน โดยอาคารผู้โดยสารแบ่งออกเป็น 4 ชั้น คือ G, M, 1 และ 2 ประกอบไปด้ย[9]
- ชั้น G ส่วนพื้นที่ส่วนหน้าเป็นส่วนของเอสซีพลาซ่า ประกอบไปด้วยร้านค้า ธนาคาร ชานชลาที่ 1-24 เคาท์เตอร์จำหน่ายตั๋วของรถโดยสารขนาดเล็กและรถตู้[9]
- ชั้น M เป็นลานจอดรถในอาคาร และบริการรับฝากกระเป๋าโดยคิดราคาตามขนาดกระเป๋าและระยะเวลาในการฝาก เหมาะสำหรับนักเดินทางแบบแบคแพคเกอร์[9]
- ชั้นที่ 1 เป็นช่องจำหน่ายตั๋วตรงกลาง จากผู้ให้บริการเดินรถที่ได้รับสัมปทานจาก บขส. เช่น สมบัติทัวร์ บางกอกบัสไลน์ เพื่อเดินทางไปยังภาคใต้ของประเทศไทย ล้อมรอบด้วยโซนพลาซ่า สามารถเดินทาางไปยังชานชาลที่ 25-98 ได้จากชั้นเดียวกันนี้[9]
- ชั้นที่ 2 เป็นโซนพลาซ่า และศูนย์อาหารทั้งชั้น[4][9]
สำหรับฝั่งอาคารชานชาลา ชั้นบนเป็นที่ทำการส่วนบริการต่าง ๆ ของฝ่ายเดินรถ และห้องละหมาด ส่วนชั้นล่างเป็นชานชาลาผู้โดยสารขาออก
นอกจากนี้สถานีขนส่งแห่งนี้ ยังเป็นสถานีขนส่งที่มีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูง มีระบบการจัดการคล้ายท่าอากาศยาน กล่าวคือ ผู้ที่ไม่มีตั๋วโดยสาร จะไม่สามารถเข้าสู่เขตชานชาลาได้[9] และไม่มีข้อกังวลด้านผู้มีอิทธิพลมาเรียกรับผลประโยชน์อย่างสถานีขนส่งหมอชิต เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิดของเอกชน รวมถึงได้ประสานงานการดูแลความปลอดภัยและการจราจรกับตำรวจไว้แล้ว[1]
เอสซีพลาซ่า
[แก้]เอสซีพลาซ่า เป็นศูนย์การค้าขนาดเล็กอยู่ในพื้นที่โซนพลาซ่าทั้ง 4 ชั้นของสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) มีเนื้อที่ประมาณ 35,000 ตารางเมตร[10] ประกอบด้วยศูนย์อาหาร, ร้านค้าย่อย, ธนาคาร, ร้านสะดวกซื้อ, บริการไปรษณีย์ โดยให้เป็นที่เดินจับจ่ายใช้สอยขณะรอเวลารถโดยสารเทียบท่า[10] นอกจากนี้บริเวณศูนย์อาหาร และที่พักผู้โดยสารในชั้นจำหน่ายตั๋ว มีการติดตั้งโทรทัศน์แขวนเพดานทั่วบริเวณ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้รอการโดยสาร
นอกจากนี้ในช่วงเย็นยังมีตลาดนัดให้บริการในช่วงเย็น ชื่อว่าสายใต้เซ็นเตอร์ เปิดให้บริการในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป[4]
เส้นทางเดินรถ
[แก้]สามารถตรวจสอบเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และบริษัทที่ได้สัมปทานเดินรถร่วมบริการในแต่ละภูมิภาค
จากกรุงเทพ | ||
---|---|---|
ปลายทาง | เวลา | ราคา |
หาดใหญ่ | 16.10 – 17.00 น. | 785 บาท |
ภูเก็ต | 06.45 – 18.00 น. | 715 บาท |
กระบี่ | 17.30 – 18.40 น. | 644 บาท |
ระนอง | 08.15 – 19.50 น. | 491 บาท |
สุราษฎร์ธานี | 16.00 – 19.50 น. | 558 บาท |
ระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อกับสถานี
[แก้]ระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับสถานีโดยตรงมีเพียงรถโดยสารประจำทางที่ให้บริการรับส่งและเชื่อมต่อสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ถนนบรมราชชนนี กับขนส่งมวลชนอื่นและพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
สีแดง : เขตการเดินรถที่ 3
สีเหลือง : เขตการเดินรถที่ 6
สีนํ้าเงิน : เขตการเดินรถที่ 7
รถเอกชน
สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)
ท่ารถประจำทางเข้าเมือง ภายในสถานีขนส่ง
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | เส้นทาง | เวลาเดินรถเที่ยวแรก (ต้นทาง) | เวลาเดินรถเที่ยวแรก (สายใต้ใหม่) | เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (ต้นทาง) | เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (สายใต้ใหม่) | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
66 (3) | ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) | 66 |
04:20 น. | 05:00 น. | 22:00 น. | 22:50 น. | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
ขสมก. | |
511 (2) | อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ | 511 |
04:20 น. | 05:00 น. | 22:00 น. | 22:50 น. | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
มีรถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขุมวิท 62 ลงทางด่วนด่านประตูน้ำ) มีให้บริการตั้งแต่ 04.00 น. - 21.00 น. |
รถเอกชน
[แก้]หน้าสถานีขนส่ง (ฝั่งถนนบรมราชชนนี)
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
79 (2) | อู่บรมราชชนนี | ราชประสงค์ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ขสมก. | |
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) | 1.เส้นทางเสริมพิเศษ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง ระหว่างสถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน 2.วิ่งเฉพาะฝั่งไปปิ่นเกล้าฝั่งเดียว | ||||
515 (3) | เซ็นทรัล ศาลายา | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
516 (1) | บัวทองเคหะ | เทเวศร์ | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน | ||
556 (1) | วัดไร่ขิง | ARL มักกะสัน | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ส่วนใหญ่ หมดระยะตลาดโบ๊เบ๊ | |
4-70E (3) | เซ็นทรัล ศาลายา | BTS หมอชิต | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านตลิ่งชัน ลงด่านกำแพงเพชร 2) |
รถเอกชน
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
123 (4-50) | อ้อมใหญ่ | สนามหลวง | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | บจก.สมาร์ทบัส (เครือไทยสมายล์บัส) |
|
124 (4-51) | ศาลายา | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | |||
124 (4-51) | รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | ||||
146 (4-52) | บางแค | ตลิ่งชัน | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | บจก.ไทยสมายล์บัส | เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม |
149 (4-53) | พุทธมณฑลสาย 2 | BTS เอกมัย | |||
157 (4-54E) | อ้อมใหญ่ | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | รถบริการทางด่วน (ขาไป ขึ้นด่านฉิมพลี ลงด่านพระราม 6 (คลองประปา) ขากลับ ขึ้นด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ลงด่านฉิมพลี) | ||
170 (4-49) | บรมราชชชนี (สน.คู่ขนานลอยฟ้า) | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | |||
515 (4-61) | เซ็นทรัล ศาลายา | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | |||
539 (4-62) | อ้อมน้อย | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) |
หจก.บุญมงคลกาญจน์ | ||
4-67 | ศาลายา | กระทรวงพาณิชย์ | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | บจก.ไทยสมายล์บัส |
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้) ชั่วคราว
[แก้]เนื่องจากอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ขยายขอบเขตมาถึงต่างระดับฉิมพลี ทำให้บริษัท ขนส่ง จำกัด แจ้งปิดสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) ถนนบรมราชชนนี โดยได้ย้ายการให้บริการไปยังโรงเบียร์ฮอลแลนด์ สาขาพระราม 2 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 2 ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ ติดกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 เป็นสถานีขนส่งชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ต่อมา ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สถานีขนส่งสายใต้เริ่มกลับมาทำการใหม่อีกครั้ง หลังจากสถานการณ์เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "สถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่พร้อมเปิดให้บริการแล้ว". mgronline.com. 2007-05-22.
- ↑ รายงานประจำปี 2565 บริษัท ขนส่ง จำกัด (PDF). บริษัท ขนส่ง จำกัด. 2565. p. 165.
- ↑ "คมนาคมลงพื้นที่สถานีขนส่งฯ สายใต้ เช็คความพร้อมอำนวยความสะดวกประชาชนเดินทางกลับสงกรานต์". สยามรัฐ. 2023-04-12.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "สายใต้ใหม่ หรือ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ อยู่ที่ไหน เดินทางอย่างไร". www.thairath.co.th. 2023-03-08.
- ↑ "สถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่พร้อมเปิดให้บริการแล้ว". mgronline.com. 2007-05-22.
- ↑ "สิริโปรเจกต์ คอนสตรัคชั่น เชิญชมโครงการ สถานีขนส่งสายใต้แห่งใหม่ “ ทันสมัยสุดในเอเชีย". ryt9.com.
- ↑ "เตรียมย้าย 'สายใต้' กลับที่เก่า บขส.เปิดประมูล เล็งพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส 4.6 พันล้าน". www.matichon.co.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บขส.โต้ข่าวย้าย "สายใต้ใหม่" กลับปิ่นเกล้า ยันแค่ผลศึกษาเท่านั้น". สยามรัฐ. 2020-09-21.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 newbotadmin (2018-02-21). "คู่มือแนะนำ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่) l BusOnlineticket.co.th". BusOnlineTicket Thailand.
- ↑ 10.0 10.1 "SC Plaza ช่วยชาติ รุกหนุนธุรกิจ SMEs ทางเลือกใหม่สำหรับคนไทย". ryt9.com.
- ↑ น้ำท่วมพ่นพิษ ปิดขนส่งสายใต้ใหม่ ย้ายไปโรงเบียร์พระราม 2 ชั่วคราว
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°46′52″N 100°25′30″E / 13.781178°N 100.425112°E
- ตารางเดินรถ บขส. ออกจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ ถนนบรมราชชนนี